จากกรณีในโลกโซเชียลเผยแพร่คลิปวิดีโอ เหตุการณ์ชายคนหนึ่ง ได้จับเด็กหญิงวัย 7 ขวบ ซึ่งเป็นลูกสาว ใช้เป็นตัวประกันเพื่อ จะกระโดดสะพานพระราม 9 ได้มีตำรวจจราจรทางด่วนและเจ้าหน้าที่กู้ภัยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเข้ามาเจรจา ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะอาศัยจังหวะ ดึงตัวเด็กหญิงวัย 7 ขวบออกมาอยู่ในที่ปลอดภัยได้สำเร็จ ก่อนจะควบคุมตัวชายคนดังกล่าวไว้ได้
เหตุการณ์ดังกล่าว ได้เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 16.05 น. ของวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมานี้ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรทางด่วน ได้รับแจ้งว่ามีชายคนหนึ่ง จะกระโดดสะพานพระราม 9 จึงได้นำกำลังเข้าไปตรวจสอบ โดยมี พ.ต.ท.ชัชชัย ดีมงคล ซึ่งเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ พร้อมกับ ด.ต.ทรงกิต ศิริวรรณ และ เจ้าหน้าที่กู้ภัยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เข้าช่วยเจรจาเกลี้ยกล่อม โดยใช้เวลาไม่นาน จนชายผู้ก่อเหตุ เริ่มผ่อนคลาย พ.ต.ท.ชัชชัย จึงอาศัยจังหวะเหมาะ เข้าประชิดตัวตามหลักยุทธวิธี อุ้มเด็กหญิงออกมา คว้ามีดและควบคุมตัวชายผู้ก่อเหตุไว้ได้
@chiichuz โชคดีที่ปลอดภัย #คิดสั้น #กระโดดสะพาน #สะพานพระราม9 #สะพานแขวน #ราษฎร์บูรณะ ♬ เสียงต้นฉบับ – CHiCHU🎈
โดยจากการสอบถาม มีการเผยว่า ชายคนที่ก่อเหตุดังกล่าวทะเลาะกับภรรยา จนเกิดความเครียด จึงได้นั่งแท็กซี่มาถึงใต้สะพานพระราม 9 ก่อนที่จะบอกคนขับแท็กซี่ว่ามีอาการจะอาเจียน ขอให้จอดรถทันที เมื่อลงจากรถแล้ว ได้พาลูกสาวเดินขึ้นมาบนสะพานพระราม 9 และใช้มีดจี้คอตัวเอง เจ้าหน้าที่กู้ภัยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผ่านมาเห็นเข้า จึงแจ้งตำรวจทางด่วน 1 มาระงับเหตุได้ทัน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่พาสองพ่อลูกไปพักที่ศูนย์ควบคุมการจราจร ด่วน 1 ติดต่อเพื่อนสนิทของผู้ก่อเหตุ และประสาน สน.ราษฎร์บูรณะ รับตัวไปดำเนินการต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้อง : บุกจับ พ่อคลุ้มคลั่ง ใช้ปืนจี้ลูกสาวชั้น ป.1 คาโรงเรียน
วิธีเอาตัวรอดจากสถานการณ์ถูกจับเป็นตัวประกัน
1. ทำตามคำแนะนำของผู้จับกุม
หากเห็นได้ชัดว่าคนร้ายได้เปรียบ ให้หยุดต่อต้านทันทีและปฏิบัติตามคำสั่ง หากคุณต่อสู้หรือพยายามเอาชนะ มีแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ เช่น หากคุณถูกคนหลายคนจับตัว จับมัด หรือถูกขังไว้ในยานพาหนะหรือพื้นที่จำกัดอื่น ๆ
- เมื่อคุณถูกลักพาตัวหรือถูกจับเป็นตัวประกัน วิธีที่ดีที่สุดคือใช้วิธีหลบหนี แทนที่จะใช้กำลังในการหลบหนี ให้เริ่มประเมินสภาพแวดล้อมเพื่อหลบหนี
- หากอยู่ในรถขณะที่คุณยังมีสติ ให้พยายามให้ความสนใจกับการเดินทางให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น ระยะเวลาที่รถแล่นไปโดยไม่หยุด ทิศทางของการเลี้ยว หรือเสียงที่ได้ยินบนรถ
2. ตั้งสติและจดจ่ออยู่กับการเอาชีวิตรอด
อาจทำได้ยาก แต่เมื่อคุณถูกจับได้แล้ว ให้พยายามตั้งสติเพื่อหาความสงบ แทนที่จะร้องไห้อย่างบ้าคลั่งหรือขอร้องให้ปล่อยคุณไป นั่นจะทำให้คุณดูเป็นมนุษย์มากขึ้นในสายตาของผู้ลักพาตัว ซึ่งอาจทำให้พวกเขามีโอกาสฆ่าคุณน้อยลง
- หากทำได้ ไม่ควรที่จะร้องไห้
- เมื่อคุณพูดคุยกับคนที่ลักพาตัวคุณหรือจับคุณเป็นตัวประกัน ให้พูดอย่างนุ่มนวลและชัดเจน อย่าขัดขืนหรือไม่ให้ความร่วมมือ หากทำให้คนที่จับตัวเป็นศัตรูกัน อาจมีแนวโน้มที่จะโจมตีหรือฆ่าคุณ
3. พยายามสื่อสารกับผู้ลักพาตัวของคุณ
ควรพูดคุยกับผู้ลักพาตัวเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นสากล เช่น ครอบครัว งานอดิเรก หรือกีฬา อย่างไรก็ตาม อย่าไปถึงขนาดพยายามผูกมิตรกับผู้จับกุมหรือปกป้องคดีของพวกเขา พวกเขามักจะมองว่านี่เป็นเล่ห์เหลี่ยมซึ่งอาจทำให้พวกเขาโกรธได้
- หากมีสิ่งที่คุณต้องการหรือจำเป็น เช่น ยาหรือหนังสือ ให้ถามอย่างใจเย็น มันอาจจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีได้
- ในระหว่างการสนทนากับผู้จับกุม ให้หลีกเลี่ยงหัวข้อการเมืองหรือศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณถูกควบคุมตัวโดยผู้ก่อการร้าย
- หากคุณมีรูปครอบครัวของคุณอยู่กับพวกเขา คุณยังสามารถแสดงให้ผู้จับกุมเห็น เพื่อช่วยให้พวกเขาเห็นว่าคุณเป็นคนคนหนึ่งมากกว่าเป็นแค่เหยื่อ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ไนจีเรียเกิดเหตุสะเทือนขวัญ กลุ่มมือปืนโหด ลักพาตัวเด็กนักเรียนกว่าร้อยชีวิต
4. สังเกตสภาพแวดล้อม
ในขณะที่คุณถูกจับตัว ให้มั่นสังเกตรายละเอียด ซึ่งอาจรวมถึงจำนวนคนที่อุ้มคุณ ลักษณะทางกายภาพของพวกเขา และทางออกของสถานที่ที่คุณถูกจับ อาจเจอบางสิ่งที่ช่วยให้คุณหลบหนีได้ หรือคุณอาจให้ข้อมูลสำคัญแก่เจ้าหน้าที่ หลังจากที่คุณได้รับการช่วยเหลือ
- หากโดนปิดตาหรืออยู่ในที่มืด แต่คุณยังสามารถรับรู้ถึงเสียงหรือกลิ่น ที่สามารถบอกใบ้ถึงตำแหน่งของคุณได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณได้ยินเสียงการจราจรดังมาก คุณจะรู้ว่าคุณอาจจะสามารถขอความช่วยเหลือได้หากคุณสามารถหนีออกจากอาคารได้
- รายละเอียดอื่น ๆ ที่ควรทราบเกี่ยวกับผู้จับกุมของคุณอาจรวมถึงสำเนียง ชื่อหรือนามแฝง และผู้ที่ดูเหมือนจะเป็นผู้รับผิดชอบ ถ้าคนกลุ่มนี้เหมือนจะทำกิจวัตรเดิม ๆ ในแต่ละวัน ให้จดบันทึกสิ่งนั้นไว้ด้วย
5. อย่ายอมรับข้อกล่าวหา
ในบางกรณี คุณอาจถูกจับเป็นตัวประกันหรือลักพาตัว เพราะผู้จับกุมเชื่อว่าคุณมีข้อมูลที่พวกเขาสามารถนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองหรือส่วนตัวได้ ไม่ว่าพวกเขาจะทำอะไร อย่าเปิดเผยข้อมูลใด ๆ
- พยายามทำตัวเหมือนให้ความร่วมมือ ตัวอย่างเช่น คุณอาจตอบคำถามเกี่ยวกับสายงานของคุณโดยไม่เปิดเผยหมายเลขบัญชีธนาคารของบริษัท
6. เตรียมความพร้อมอยู่เสมอ
คุณอาจถูกควบคุมตัวเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่คุณอาจจะถูกคุมขังเป็นเวลาหลายวัน เป็นเดือน หรือแม้แต่เป็นปี เมื่อคุณเริ่มปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ ให้พยายามพัฒนากิจวัตรประจำวัน ติดตามเวลาตามสัญญาณภายนอก เช่น เสียงนกร้อง การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในห้อง หรือแม้แต่กิจกรรมของยาม
- ให้รับประทานอาหารเพื่อให้คุณมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง
- พยายามใช้ท่ายืดกล้ามเนื้ออย่างแพลงก์และสควอทเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
- การทำสมาธิหรือสวดมนต์เป็นวิธีที่ดีในการรักษาจิตใจให้เข้มแข็งในขณะที่คุณถูกควบคุมตัว
- โชคดีที่ยิ่งผู้จับกุมจับตัวคุณไว้นานเท่าไหร่ โอกาสรอดชีวิตของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
7. หาวิธีสื่อสารหากมีเชลยคนอื่น ๆ
หากคุณถูกจับเป็นตัวประกัน หรือหากพบว่ามีคนอื่น ๆ ถูกลักพาตัวมาด้วย ให้ลองหาวิธีสื่อสาร แต่ควรหลีกเลี่ยงการพูดต่อหน้าผู้ที่จับตัวคุณ เพราะพวกเขาอาจแยกตัว ยับยั้ง หรือแม้แต่ฆ่าเพื่อข่มขู่ทุกคน
- คุยกันเงียบ ๆ กันเองเมื่อผู้ลักพาตัวออกไปจากห้อง หรืออาจแตะข้อความหากคุณรู้รหัสมอร์ส
- การตั้งรหัสลับอาจช่วยได้ในกรณีที่มีโอกาสหลบหนี
8. รอรับการช่วยเหลือ ยกเว้นว่าสามารถหลบหนีได้อย่างปลอดภัย
หากคุณตกเป็นเชลย คุณจะถูกฆ่าหากผู้จับกุมพบว่าคุณพยายามหลบหนี ให้คุณหลบหนี หากเห็นโอกาสที่จะหลบหนี และคุณมั่นใจว่าได้ผล แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น ให้รอรับการช่วยเหลือ
- การติดตามเหยื่อที่ถูกลักพาตัว หรือการเจรจากับผู้จับตัวประกันอาจต้องใช้ความพยายามมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องอดทนและปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตามหาตัวคุณ
- หากคุณสามารถเข้าถึงโทรศัพท์ได้ ให้ลองโทรหาบริการฉุกเฉิน เฉพาะเมื่อคุณแน่ใจว่าสามารถโทรออกได้โดยไม่มีใครสังเกตเห็น
- ข้อยกเว้นสำหรับการรอการช่วยเหลือคือหากคุณเชื่อว่าผู้จับกุมของคุณกำลังวางแผนที่จะฆ่าคุณ ตัวอย่างเช่น ถ้าพวกมันหยุดให้อาหารคุณกะทันหันหรือพวกมันดูประหม่าหรือกลัวมาก ชีวิตของคุณอาจตกอยู่ในอันตราย และคุณควรหาทางออกเท่าที่ทำได้
- หากคุณหลบหนี ให้ไปที่ที่ปลอดภัยทันที เช่น สถานีตำรวจหรืออาคารที่มีผู้คนพลุกพล่าน
9. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เมื่อได้รับการช่วยเหลือ
หากเจ้าหน้าที่พบคุณ อาจมีช่วงเวลาที่วุ่นวายหลายครั้งที่พวกเขาต้องตัดสินว่าใครคือผู้ลักพาตัวและใครคือเหยื่อ เพื่อความปลอดภัย ให้หมอบราบกับพื้นโดยเอามือไพล่หลังศีรษะหรือไขว้หน้าหน้าอก อย่าวิ่งและอย่าเคลื่อนไหวกะทันหัน
- ขณะที่เจ้าหน้าที่เข้าที่เกิดเหตุ พวกเขาอาจใส่กุญแจมือและตรวจค้นตัวคุณ ปล่อยให้พวกเขาทำหน้าที่ แล้วบอกให้เจ้าหน้าที่รู้ว่าคุณถูกลักพาตัว
10. เข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด
เมื่อคุณหลบหนีหรือได้รับการช่วยเหลือ คุณต้องได้รับการประเมินจากแพทย์เกี่ยวกับการบาดเจ็บทางร่างกายที่อาจเกิดขึ้นจากการลักพาตัว ควรรีบเข้าพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อรักษาโดยด่วน
ดังนั้นหากคุณตกอยู่ในสถานการณ์ถูกจับเป็นตัวประกัน หากคนร้ายได้เปรียบ ให้คุณหยุดต่อต้านและควรทำตามคำสั่ง เนื่องจากหลีกเลี่ยงการถูกทำร้าย สงบสติอารมณ์และควรตั้งสติคอยสังเกตสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หากมีการสอบสวนไม่ควรยอมรับข้อกล่าวหา ควรจะหาวิธีที่จะสื่อสารกับคนอื่นที่ถูกจับมาแต่ไม่ควรพูดต่อหน้าผู้ร้าย พยายามเตรียมความพร้อมของร่างกายอยู่เสมอ รอรับความช่วยเหลือที่ปลอดภัย หลังจากที่ได้รับความช่วยเหลือเรียบร้อยแล้วควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุดค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เด็ก 10 ขวบ สภาพโดนมัดมือมัดเท้า กุเรื่องถูกลักพาตัว เหตุเพราะกลัวถูกตี!
การข่มขืน ปัญหาทางอารมณ์ที่มาพร้อมการข่มขู่ และวิธีเอาตัวรอด
ตกน้ำ ตกเรือต้องทำยังไง วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ
ที่มา :