มาดู ! สารกัมมันตรังสี กับคนท้อง อันตรายที่ควรระวัง คนท้องเสี่ยงแค่ไหน ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อพูดถึงอันตรายของ สารกัมมันตรังสี กับคนท้อง อาจจะเป็นเรื่องที่ไกลตัว เพราะน้อยครั้งที่จะมีการเข้าถึงเรื่องนี้ เมื่อโดยปกติแล้ว ชีวิตประจำวันของแม่ท้อง ไม่ได้มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องสักเท่าไร แต่ก็มีข้อมูลที่ชัดเจนแน่นอนว่า "การที่คนท้องสัมผัสกับรังสี ถือเป็นความเสี่ยงต่อเด็กเล็ก และพัฒนาการของทารกในครรภ์" แม้กระทั่งการเอกซเรย์ (X-Ray) แม่ท้องบางคนอาจจะกังวลถึงอันตราย ที่อาจเกิดกับลูกน้อยได้เช่นกัน เชื่อว่าแม่หลายคนกำลังสงสัยข้อนี้อยู่แน่นอนค่ะ วันนี้ theAsianparent จะพาไปหาคำตอบข้อนี้กันค่ะ !

 

วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 วัตถุอันตรายที่หลายคนตามหา

เมื่อช่วงที่ผ่านมามีการพูดถึงข่าว วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 เป็นเวลาต่อเนื่อง เนื่องจากมีการนำเสนอข่าวว่า วัตถุอันตรายนี้สูญหายไปจากโรงไฟฟ้าไอน้ำ และวัตถุดังกล่าวหากถูกแปรสภาพแล้ว อาจจะทำให้เกิดความอันตราย หรือสร้างความเสียหายให้กับประชาชนโดยรอบ ซึ่งเป็นข่าวที่ทำให้ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงโรงไฟฟ้าไอน้ำ ที่ต้องอยู่ในพื้นที่ อ. ศรีมหาโพธิ จ. ปราจีนบุรี เป็นกังวลจนนอนไม่หลับ และคอยติดตามข่าวอยู่อย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดได้มีการเปิดเผยว่า อาจถูกแปรสภาพด้วยการหลอมถลุงเป็นฝุ่นแดงแล้ว จึงทำให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบโรงงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่กระทำดังกล่าว

 

 

อันตรายจากสารกัมมันตรังสี

ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ได้มีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน และการพัฒนาในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับชีวิต จึงอาจเป็นสิ่งที่อาจสร้างอันตรายได้ เช่นเดียวกับการใช้งานสารกัมมันตรังสี หากใช้งานผิดวิธี ไม่ถูกกับชนิดนั้น ๆ ก็อาจทำให้เกิดโทษได้ เช่น หากได้รับสารรังสีแบบเฉียบพลัน ในปริมาณมากเกินพอดี ก็อาจทำให้ถึงอันตรายแก่ชีวิตได้ หรืออาจมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อลูกหลาน ที่อาจเกิดมาผิดปกติได้ค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดังนั้นการใช้งานหรือเข้าใกล้ สารกัมมันตรังสีต่าง ๆ ควรมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และความเข้าใจในด้านนั้น ๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากนั้นได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังเพื่อใช้งานรังสี ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด อีกทั้งรังสีเป็นได้ทั้งอนุภาคหรือคลื่น ที่ปล่อยออกมาพร้อมกับอะตอม จึงไม่มีสี กลิ่น หรือสิ่งที่ทำให้สังเกตเห็นได้ ทำให้ผู้ที่ได้รับไม่ทราบว่าตนเองได้รับรังสี และในการตรวจวินิจฉัย ผู้ป่วยจะได้รับรังสีดังนี้

  • จากลำแสงเอกซเรย์ จากหลอดเอกซเรย์โดยตรง
  • จากรังสีที่รั่วจากหลอด
  • จากรังสีกระเจิงที่ไปกระทบผู้ป่วย

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีเพิ่มขึ้นเกินความจำเป็น ประกอบด้วย

  • การส่งตรวจทางรังสีโดยไม่จำเป็น
  • การถ่ายภาพรังสีซ้ำ
  • ใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่ไม่เหมาะสม
  • เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจถึงหลักการป้องกันอันตราย จากรังสีและองค์ประกอบต่าง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เอกซเรย์อันตรายต่อลูกในท้องไหม คนท้องเข้าเครื่องสแกนได้หรือเปล่า??

 

ปัจจัยที่จะทำให้เกิดอันตรายจากรังสี

สารกัมมันตรังสี กับคนท้อง เมื่อพูดถึงการที่คนท้องจะได้รับการเอกซเรย์ ระหว่างการตรวจครรภ์หรือตรวจสุขภาพอื่น อาจทำให้เกิดอันตรายกับทารกในครรภ์ได้เช่นกัน แต่ว่าอันตรายนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ 2 ปัจจัยดังนี้

 

1. ปริมาณรังสี

สำหรับรังสีเอกซเรย์ เป็นรังสีที่ได้รับจากการวินิจฉัยโรค เกิดจากการที่รังสีเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในวัตถุ แล้วทำให้เกิดประจุไฟฟ้าหรือไอออนในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ปริมาณรังสีที่ได้รับอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตได้ ก็ต่อเมื่อมีค่ารวมมากกว่า 5 Rad

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. อายุครรภ์ของแม่ท้อง

การเอกซเรย์ของแม่ท้อง เป็นการได้รับรังสีปริมาณน้อย เพื่อเป็นการตรวจวินิจฉัยโรคหรืออื่นใด ไม่สร้างความเสียหายให้กับทารก อีกทั้งหากการเอกซเรย์นั้น ไม่ใช่ตำแหน่งที่ใกล้อุ้งเชิงกราน แต่ถ้าหากแม่ท้องเกิดอันตราย ด้วยการได้รับรังสีมาก ๆ (High dose) ในช่วงแรก อาจมีผลให้เกิดการแท้ง หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้ แต่ถ้าเป็นช่วง 17 สัปดาห์แรก จะมีผลให้เกิดความพิการแต่กำเนิด ทารกโตช้าในครรภ์ หรือความบกพร่องทางสติปัญญาได้

 

 

นอกจากการแท้ง หรือพัฒนาการในครรภ์เติบโตได้ช้า อีกหนึ่งสิ่งที่แม่ท้องอาจเกิดได้กับตัวเอง นั่นก็คือโรคมะเร็งค่ะ เพราะเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ หากได้รับสารกัมมันตรังสีใดเป็นเวลานาน ซึ่งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ พบความสัมพันธ์ระหว่างรังสี ที่พบได้ในชีวิตประจำวันกับมะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม, มะเร็งระบบเลือด, และมะเร็งสมอง

 

อีกทั้งการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก และมะเร็งของระบบเลือดอื่น ๆ พบว่า มีความสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ เช่น จากสายไฟ เนื่องจากการที่พบว่า อัตราการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก เพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่า ในผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของสายไฟแรงสูงอยู่

 

การได้รับสารกัมมันตภาพรังสี ระหว่างการให้นมบุตร

โดยปกติ ขณะตั้งครรภ์และให้นมลูก แม่ท้องควรเลี่ยงการได้รับสารกัมมันตภาพรังสี แต่ในบางกรณีอาจมีความจำเป็น ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย ที่ต้องใช้การฉีดสารกัมมันตภาพรังสี โดยการสะสมของสารที่คงค้างในร่างกาย หลังได้รับการฉีดรังสีเพื่อรักษามีค่าถึง 6 ชั่วโมง ก่อนที่การแผ่กัมมันตภาพรังสีจะหมดใน 24 ชั่วโมง ดังนั้นแม่ที่ได้รับสารกัมมันตรังสี เพื่อการตรวจวินิจฉัย อาจใช้วิธีการบีบน้ำนมเก็บแช่ตู้เย็น เพื่อให้ลูกกินระหว่างนั้น หลังจากสารนี้สลายไป น้ำนมที่เก็บไว้สามารถใช้ได้ตามปกติ

แต่ในแม่ที่ได้รับสารกัมมันตภาพรังสีเพื่อการรักษา เช่น การรักษามะเร็งปากมดลูก โดยการฝังแร่ หรือสารไอโอดีนไอโซโทป เพื่อการรักษามะเร็งไทรอยด์ แม่จำเป็นต้องงดการให้นม อีกทั้งหลังจากจบการรักษา จำเป็นต้องเว้นระยะการให้นมนานกว่า 60 วัน แต่ต้องพิจารณาอีกครั้ง เพราะปริมาณหรือกรณีที่ได้รับสารกัมมันตภาพรังสีแต่ละตัวแตกต่างกันไป ซึ่งหากลูกมีปัญหา ไม่สามารถกินนมผงได้ อาจจะต้องพิจารณาทางเลือกของอาหาร ด้วยนมที่ได้รับการบริจาคจากธนาคารนมแม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การป้องกันอันตรายจากรังสี

  1. ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณที่มีสารกัมมันตรังสี หรือในบริเวณที่มีการปฏิบัติงานทางรังสี
  2. แม่ท้องควรหลีกเลี่ยงการตรวจหรือการรักษาที่ต้องใช้รังสี หากมีความจำเป็น ควรปรึกษาแพทย์อย่างเคร่งครัด
  3. เลี่ยงการถ่ายเอกซเรย์หลายครั้ง หรือถ่ายซ้ำโดยไม่จำเป็น
  4. ผู้ป่วยเด็กที่จำเป็นต้องเอกซเรย์ ควรมีเครื่องกำบังรังสี โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ
  5. ห้ามสตรีมีครรภ์และเด็ก เข้าเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการฝัง หรือสอดใส่สารกัมมันตรังสี
  6. ผู้ป่วยที่ได้รับการฝัง หรือสอดใส่สารกัมมันตรังสี ไม่ควรกลับบ้าน ก่อนได้รับความยินยอมจากแพทย์

 

อย่างไรก็ตาม การที่แม่ท้องได้รับรังสีถือเป็นความเสี่ยงต่อเด็ก ที่สำคัญรังสีต่าง ๆ อาจจะมีผลต่อพัฒนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ช่วงวัยที่สมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และร่างกายเด็กสามารถดูดซับรังสีได้ ในปริมาณมากกว่าผู้ใหญ่ หากบริเวณใดที่มีการติดป้ายเตือน หรือมีการระบุพิกัดวัตถุอันตราย ไม่ควรเข้าใกล้ และรักษาระยะห่างให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายทั้งต่อตัวเอง และครอบครัวค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

หายสงสัย! คนท้องดื่มเบียร์ ได้มั้ย? เขาว่ากันว่า เบียร์ช่วยล้างไขให้ลูก จริงเหรอ?

รู้ไหม ? คนท้องห้ามดูบอล เลือกคู่ไม่ถูกเสี่ยงครรภ์ไม่แข็งแรง

คนท้องหายใจติดขัดจะเป็นอะไรไหม ส่งผลอะไรต่อลูกในท้องหรือเปล่า

ที่มา :

https://www.vibhavadi.com/

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn