แม่เจอดราม่าแรง! ชาวเน็ตตั้งคำถาม ลูกแฝดเป็นดาวน์ซินโดรม ทำไมไม่เอาออก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากกรณีมีหญิงสาวผู้ใช้ติ๊กต็อกรายหนึ่ง โพสต์คลิปเชิงตัดพ้อว่า ลูกแฝดเป็นดาวน์ซินโดรม ต้องมาเจอดราม่าแรง คนคอมเมนต์ถามว่าทำไมตอนท้องไม่เอาออก ทำให้ลูกเกิดมาลำบาก โดยหลังจากนั้นมีชาวเน็ตแห่กันมาให้กำลังใจล้นหลาม

 

เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2566 ที่ผ่านมา นักข่าวได้พูดคุยกับ น.ส.เอ (นามสมมติ) อายุ 34 ปี แม่ของ ลูกแฝดเป็นดาวน์ซินโดรม ได้เปิดเผยกับนักข่าวว่า ตนเองคบกับสามีมานานแล้ว 8-9 ปี จนกระทั่งเมื่อปี 2563 ได้ตั้งท้องลูกแฝดหญิง ตนเองรู้สึกดีใจมาก ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล หมอจะแจ้งว่าลูกร่างกายแข็งแรงทุกอย่าง แต่หมอไม่ได้แจ้งว่าลูกเป็นดาวน์ซินโดรม พอตนเองตั้งท้องได้ 6 เดือน สามีก็ทิ้งไปมีผู้หญิงคนใหม่ ทำให้ตนต้องสู้คนเดียวทำงานหาเงินจนถึงตอนคลอดน้องออกมา

 

 

น.ส.เอ เผยต่ออีกว่า จนถึงวันที่คลอดลูกออกมา หมอได้แจ้งว่าหน้าตาของน้องออกไปทางดาวน์ซินโดรม จึงขอตรวจให้ละเอียดอีกครั้ง โดยส่งเลือดไปตรวจที่ กทม. เมื่อพอผ่านไป 1 เดือน หมอได้ยืนยันว่า ลูกแฝดเป็นดาวน์ซินโดรม ตนรู้สึกเสียใจมากไม่คิดว่าลูกจะเป็นแบบนี้ แต่ยังไงก็ต้องสู้และเข้มแข็งเพื่อลูกน้อยทั้งสอง

 

น.ส.เอ ยังบอกอีกว่า ที่โพสต์คลิปลูก ๆ ลงในติ๊กต็อก เพราะต้องการกำลังใจ แต่กลับมีบางคนมาต่อว่า ว่าตนเองทำให้ลูกเกิดมาแล้วต้องลำบาก ทำไมตอนท้องไม่เอาออก ตนเองอ่านแล้วรู้สึกเสียใจกับคอมเมนต์ และเลือกที่จะไม่อ่านอีก ถ้าตอนท้องหมอแจ้งว่า ลูกเป็นดาวน์ซินโดรมแนะนำให้เอาออก ยังไงตนเองก็ตัดสินใจเอาออก เพราะไม่อยากให้ลูกออกมาเป็นแบบนี้ แต่ในเมื่อเขาเกิดมาแล้วจะเลี้ยงให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง การตรวจคัดกรองคนท้อง หาอาการดาวน์ซินโดรม 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 14

 

ดาวน์ซินโดรมมีอาการเป็นอย่างไร สาเหตุดาวน์ซินโดรมเกิดจากอะไร?

 

ดาวน์ซินโดรม คืออะไร?

ดาวน์ซินโดรมเป็นกลุ่มที่มีอาการ ที่เกิดขึ้นจากมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเชาวน์ปัญญาต่ำ พูดช้า มีปัญหาในการใช้กล้ามเนื้อ และมีลักษณะภายนอก ที่สังเกตได้ค่อนข้างที่จะชัดเจน อย่างเช่น หน้าแบน หัวแบน จมูกแบน ตาเล็กเป็นวงรี คอสั้น ตัวเตี้ยกว่าคนในวัยเดียวกันเมื่อโตขึ้น และรวมถึงมีปัญหาด้านสุขภาพต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมนั้นมีอายุสั้นกว่าคนปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง ดาวน์ซินโดรมมีอาการเป็นอย่างไร อาการดาวน์ซินโดรมสามารถติดต่อทางพันธุกรรม ได้หรือไม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

อาการดาวน์ซินโดรม

เด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นดาวน์ซินโดรม จะมีลักษณะใบหน้าที่แตกต่างกัน แม้ว่าในกลุ่มดาวน์ซินโดรมจะไม่ใช่ทุกคนที่มีลักษณะเหมือนกัน แต่มีลักษณะทั่วไปบางอย่างที่คล้ายกัน ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หน้าแบน
  • หัวเล็ก
  • คอสั้น
  • ลิ้นยื่นออกมา
  • เปลือกตาเอียงขึ้น
  • หูที่มีรูปร่างผิดปกติ หรือมีหูที่เล็กผิดปกติ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • มือกว้าง หรือสั้นมีรอยย่นเดียวที่ฝ่ามือ
  • นิ้วค่อนข้างสั้น มือและเท้าเล็ก
  • มีความยืดหยุ่นสูง
  • จุดสีขาวเล็ก ๆ บนส่วนที่เป็นสี (ม่านตา) ของดวงตาที่เรียกว่าจุดของ Brushfield
  • ตัวเตี้ยกว่าคนในวัยเดียวกันเมื่อโตขึ้น

 

สาเหตุของดาวน์ซินโดรม

ดาวน์ซินโดรมเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมโดยปกติคนเราจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง ซึ่งมีสารพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะของแต่ละบุคคล เช่น สีของตา เพศ หรือการพัฒนา รูปร่างหน้าตาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก พ่อ 23 แท่ง และจากแม่ 23 แท่ง รวมเป็น 46 แท่ง แต่ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะมีโครโมโซมทั้งสิ้น 47 แท่ง โดยมีเกินมา 1 แท่ง ในโครโมโซมคู่ที่ 21 โดยดาวน์ซินโดรมสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดตามลักษณะการเกิด แต่มีอาการแสดงที่ออกมาคล้ายกัน ได้แก่

  • Trisomy 21 มีโครโมโซมในคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง
  • Translocation มีภาวะการสับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายโครโมโซมในคู่ที่ 21 ย้ายไปอยู่ติดกับโครโมโซมคู่อื่น
  • Mosaicism มีเพียงบางเซลล์ที่มีโครโมโซมผิดปกติจึงมีอาการผิดปกติหรือลักษณะภายนอกที่แสดงออกมาน้อยกว่าแบบอื่น

 

 

การรักษาดาวน์ซินโดรม

ดาวน์ซินโดรมเป็นอาการที่ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแล และรักษาในด้านร่างกายควบคุมกับการฝึกทักษะรับมือข้อบกพร่องทางด้านสติปัญญาตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถที่จะพัฒนา และปรับปรุงทางด้านทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และสามารถที่จะเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น ๆ ในสังคมได้ พ่อแม่ควรใส่ใจสุขภาพของร่างกายของเด็กอยู่เสมอ ให้เด็กได้ตรวจเช็กสุขภาพร่างกายเป็นประจำ และคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะปรึกษาทางแพทย์เพื่อที่จะรับคำแนะนำในการดูแลเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมอย่างเหมาะสม ให้เด็กได้รับการบำบัดเพื่อที่จะให้สามารถที่จะเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ให้เด็กหัดช่วยเหลือตนเอง หัดเดิน หัดแต่งตัว หัดพูด หัดรับประทานอาหาร หรือหัดทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง หรือผู้อื่น ตามพัฒนาการตามวัยของเด็ก

 

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็คงจะทราบแล้วว่าดาวน์ซินโดรมนั้นก็คือ ผู้ป่วยมีอาการเชาวน์ปัญญาต่ำ พูดช้า และมีปัญหาในการใช้กล้ามเนื้อ แม้ว่าดาวน์ซินโดรม จะไม่ใช่ทุกคนที่มีลักษณะเหมือนกัน แต่จะมีลักษณะทั่วไปบางอย่างที่คล้ายกันเช่น หน้าแบน หัวเล็ก คอสั้น เป็นต้น ส่วนสาเหตุของดาวน์ซินโดรมนั้นคือ โดยปกติคนเราจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง แต่ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมมีโครโมโซม 47 แท่ง โดยมีเกินมา 1 แท่ง และไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแล และรักษา ต้องฝึกทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น ๆ ในสังคมได้ และคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจสุขภาพของร่างกายของเด็กอยู่เสมอด้วยนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

21 มีนาคม วันดาวน์ซินโดรมโลก World Down Syndrome Day

โรคดาวน์ซินโดรม โรคทางพันธุกรรมที่มักพบได้ในเด็ก ป้องกันและรักษาอย่างไร

ที่มา :

khaosod.co.th

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Kanjana Thammachai