วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 มีข่าวรายงานว่า ที่แผงพระตลาดเทศบาลกบินทร์บุรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี โดยในแต่ละวันจะพบกับนักสะสมพระเครื่องรวมทั้งเซียนพระที่กำลังส่องพระเครื่อง บางรายเช่าไปเพื่อบูชาเพื่อความสิริมงคล บางรายเช่าเพื่อไปปล่อยต่อเพื่อเพิ่มมูลค่า และหลายคนจะนำพระเครื่องเกจิชื่อดังออกมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันชม แต่ที่น่าเอ็นดูที่สุดคือ เซียนพระตัวน้อย กำลังส่องพระอย่างตั้งอกตั้งใจอยู่ในตลาดเซียนพระ
จากการสอบถามได้ทราบว่า เซียนพระตัวน้อย ชื่อว่า ด.ช.จีรวัฒน์ ต่อแต้ม หรือน้องอุ้ม อายุ 4 ขวบ เรียนอยู่ชั้นอนุบาล 2 ได้เดินทางตามคุณพ่อมาส่องพระ ที่แผงพระเครื่องได้สร้างความน่าเอ็นดูให้กับเซียนพระ และผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก รวมทั้งรู้สึกว่าน่ารัก และแปลกดีส่วนมากจะพบเห็นแต่ผู้ใหญ่ และผู้สูงวัยที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องพระเครื่อง แต่นี่เด็กแค่ 4 ขวบ มีความชอบในพระเครื่อง และชอบไปทำบุญกับพ่อแม่ตลอดด้วย
นายพัทยา ต่อแต้ม อายุ 33 ปี ผู้เป็นพ่อเผยว่า น้องอุ้มจะขอตนเองตามมาส่องพระอยู่บ่อยครั้ง ในวันที่ไม่ได้ไปโรงเรียน น้องอุ้มจะชอบส่องพระมาก โดยน้องอุ้มจะเริ่มขอส่องพระตั้งแต่อายุได้ประมาณ 2 ขวบ วันไหนถ้าไม่ได้ออกไปส่องพระกับพ่อที่ตลาดพระเครื่อง ก็จะนำพระที่พ่อได้สะสมไว้มาส่องอยู่ที่บ้านในช่วงเวลาหลังเลิกเรียนแทบทุกวัน ซึ่งแตกต่างจากเด็กหลาย ๆ คนที่ส่วนใหญ่จะชอบใช้เวลาในการดูโทรศัพท์ เล่นเกม แต่น้องอุ้มชอบเอาพระออกมาส่องดูเล่น แล้วก็สอบถามพ่อว่านี่คือพระอะไร และหลวงพ่ออะไร ด้วยความสนใจอีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : อัจฉริยะ เด็ก 9 ขวบคว้าใบปริญญาตรี วิศวะไฟฟ้า !
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำให้ลูกดู เพื่อสอนลูก
1. การให้เกียรติผู้อื่น
ควรสอนให้เด็ก ๆ เคารพพ่อแม่และคนอื่น ๆ โดยให้ลูกใช้คำพูดที่สุภาพหรือน้ำเสียงที่น่าฟัง การเด็ก ๆ ให้เกียรติผู้อื่นคือเราต้องให้เด็ก ๆ ได้รับสิ่งนั้นด้วยตัวเอง อาจจะยากสักหน่อยกับลูกตัวน้อยที่ช่างพูด หรือเด็ก ๆ ก่อนวัยเรียนที่มักเอาแต่ใจ ไม่ว่าลูก ๆ จะอยู่ในวัยไหน ลูกก็สมควรจะได้รับทั้งความรัก การดูแลเอาใจใส่ และการให้เกียรติจากพ่อแม่ และถึงแม้ว่าพัฒนาการตามวัยบางช่วงอาจจะทำให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ชอบเอาเสียเลย แต่คนเป็นพ่อแม่ก็ต้องใจเย็น ๆ และตอบสนองเขาด้วยความรักและการให้เกียรติ
2.การเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน
ปัจจุบันเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากค่ะ พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้วิธีการว่าเมื่อไรที่ตนเองทำผิด และควรยอมรับผิดอย่างไร เมื่อเด็กยังเล็ก เขาอาจได้รับการยกเว้นโทษให้เสมอเมื่อทำผิด และในช่วงยังเด็กนี่เองที่เป็นช่วงแห่งการพัฒนาความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ซึ่งช่วงเวลานี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับพ่อแม่ในการทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่างเรื่องการรู้จักยอมรับผิดและขอโทษ เด็ก ๆ ควรจะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลยหากเราทำผิด คนทุกคนมีสิทธิ์ที่จะทำผิดได้ ผิดเป็นครู เมื่อผิดแล้วก็ต้องรู้จักยืดอกยอมรับมัน หากแก้ไขได้ก็พยายามแก้ไข และเดินหน้าต่อไป ฉะนั้นเมื่อพ่อแม่ทำอะไรผิด แม้แต่กับลูกก็ไม่ใช่เรื่องน่าอายที่จะขอโทษและแก้ไข เมื่อเด็ก ๆ เห็นบ่อย ๆ เมื่อโตขึ้นเขาก็จะเรียนรู้เรื่องนี้ได้ด้วยตนเอง
3. รูปแบบการแสดงออกทางอารมณ์
เด็ก ๆ อาจจะยังไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกไว้เหมือนผู้ใหญ่ แต่พวกเขาควรเรียนรู้ที่จะได้รู้สึก และ แสดงความรู้สึกที่หลากหลายนั้นออกมา ไม่ว่าจะเป็น ความกลัว ความเศร้า ความอาลัย ความโกรธ ความดีใจ ความตื่นเต้นลิงโลดใจ เพราะอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้คือเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทุกคน ความรู้สึกเป็นสิ่งที่ส่งมาจากภายใน เพื่อที่พ่อแม่จะได้สามารถเข้าไปสัมผัสความรู้สึกลึก ๆ ของลูกได้ และยิ่งไปกว่านั้นพ่อแม่ก็ควรจะสอนวิธีการตระหนักรู้ถึงอารมณ์นั้น ๆ ให้แก่ลูกเมื่อเริ่มโตขึ้น รวมไปถึงการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างมีสติด้วย โดยสิ่งที่พ่อแม่ทำได้ก็คือการไม่ปกปิดอารมณ์ความรู้สึกของตน แต่ก็ไม่จำเป็นต้องแสดงอารมณ์ให้ลูกเห็นมาเกินสมควรค่ะ
4.สร้างระบบระเบียบ ให้ลูกรู้จักความรับผิดชอบ
ลองลิสต์สิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันเพื่อสร้างกฎระเบียบของบ้าน จะช่วยให้ลูกเติบโตเป็นคนที่มีความรับผิดชอบ มีระเบียบในการใช้ชีวิต ถ้าต้องการสอนลูกเรื่องระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ พ่อแม่ก็ต้องทำให้เห็นเป็นต้นแบบเสียก่อน จากนั้นลองให้ลูกช่วยทำงานบ้าน ด้วยการมอบหมายความรับผิดชอบ ให้ลูกรับทำหน้าที่นั้น เช่น ลูกต้องเป็นคนล้างจานทุก ๆ วัน หรือลูกจะต้องทำความสะอาดบ้านทุกเสาร์-อาทิตย์
พฤติกรรมแบบไหนบ้างที่ผู้ปกครองควรระวัง
1. ความก้าวร้าวทั้งคำพูด และการกระทำ
เมื่อเกิดปัญหา หรือไม่มีปัญหาก็ตาม ภายในครอบครัวที่ใช้คำพูดดุด่า หรือเถียงด่าทอกัน ทะเลาะกันแล้วทำลายข้าวของ ถึงแม้เรื่องจะจบไป แล้วกลับมาดีกันได้เหมือนเดิมแต่สำหรับเด็ก พวกเขาจะจดจำเอาไว้ และนำไปทำตามได้ ด้วยเหตุนี้ผู้ปกครองจึงต้องระวังทั้งการพูด และการกระทำของตนเองแม้ว่าจะโมโหอยู่ ก็ควรคำนึงถึงลูกน้อยที่อยู่ข้าง ๆ ด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมลูกก้าวร้าว ต้นตอของปัญหาความก้าวร้าวในตัวเด็ก มีแบบไหนบ้าง
2. การใช้สื่อที่ไม่เหมาะสม
ถึงผู้ปกครองจะมั่นใจว่าตนเองไม่ได้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อหน้าลูกน้อยแล้ว แต่ยังมีสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่หนูน้อยสามารถเลียนแบบได้ ด้วยการวนดูซ้ำ ๆ จนซึมซับและเข้าใจว่าสามารถทำได้ โดยเฉพาะเด็กสมัยใหม่ที่อาจติดหน้าจอมากขึ้นกว่าเดิมตั้งแต่ยังเล็ก ผู้ปกครองควรให้ลูกดูสื่อที่เหมาะสม และจำกัดการเข้าถึงสื่อที่ปลอดภัยเท่านั้น
3. การพูดโกหก
ใคร ๆ ก็รู้ว่าการโกหกเป็นสิ่งไม่ดี แต่สำหรับผู้ปกครองบางคน อาจเลือกโกหกในบางสถานการณ์ เพื่อลดโอกาสเกิดการขัดแย้ง หรือการทะเลาะ โดยไตร่ตรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่สำหรับเด็กเขาจะมองว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ ไม่ผิดอะไร แถมยังช่วยแก้สถานการณ์ได้ดี ในเรื่องนี้ผู้ปกครองต้องหาจังหวะอธิบายให้ลูกเข้าใจด้วยว่า ทำไปทำไม ทำแล้วส่งผลอย่างไร เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากขึ้น
4. การลักขโมยสิ่งของ
อย่างที่บอกไปหลายครั้งว่าเด็กไม่ได้เข้าใจแบบผู้ใหญ่ การหยิบใช้ของบางอย่างของคนในครอบครัว แล้วไม่ได้นำกลับคืน หรือไม่ได้ขอก่อน ผู้ปกครองจะมีความเข้าใจกันเองว่าไม่เป็นไร แต่เด็กจะจดจำว่าเขาสามารถหยิบของใครก็ได้เช่นกัน ผู้ปกครองควรแก้ไขด้วยการขออนุญาตกันเองก่อน ถึงแม้จะเป็นของเพียงเล็กน้อยก็ตาม เพื่อให้ลูกเข้าใจว่าเขาต้องขออนุญาตทุกครั้งเวลาหยิบสิ่งของใด ๆ ของผู้อื่น
เพราะฉะนั้นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูก นั้นก็คือการให้ลูกรู้จักการเกียรติผู้อื่น เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน คุณพ่อคุณแม่ควรจะสอนลูกในเรื่องวิธีการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างมีสติ อย่าลืมที่จะสอนในเรื่องระเบียบวินัยให้มีความรับผิดชอบ และพฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรระวังเพื่อไม่ให้ลูก ๆ เลียนแบบนั้นก็คือ ใช้คำพูดดุด่า หรือเถียงด่าทอกันและทำลายข้าวของ ควบคุมให้ลูกดูสื่อที่เหมาะสม และการเข้าถึงสื่อที่ปลอดภัยเท่านั้น ไม่พูดโกหกหรือมีนิสัยลักขโมยสิ่งของอีกด้วยค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พฤติกรรมเลียนแบบของลูก ตัวอย่างที่ดีที่สุดของลูกคือพ่อแม่
อย่าเลี้ยงลูกตามคนอื่น การเลี้ยงลูกเลียนแบบกันไม่ได้
มวยปล้ำ WWE กับเด็กที่ต้องระวังการลอกเลียนแบบอยู่หน้าทีวี
ที่มา :