อาการมือเท้าเย็น ช่วยเตือน! อาจเสี่ยงโลหิตจาง-เส้นเลือดตีบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรียกได้ว่า เป็นอาการที่หลายคนอาจพบเจอ เมื่อถึงช่วงที่อากาศหนาวเย็นเพิ่มขึ้นกับ อาการมือเท้าเย็น ซึ่งอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนบอกโรค ว่าเราอาจจะกำลังป่วย ที่ต้องเร่งรักษา อาทิ โลหิตจาง,โรคเบาหวาน หรือ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ เป็นต้น

 

เมื่อหลายวันที่ผ่านมา อากาศมีการเปลี่ยนแปลงที่เย็นขึ้น โดยล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศว่า กรุงเทพและปริมณฑล มีอากาศเย็น ลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาฯ ส่วนพื้นที่อื่นจะมีอากาศเย็นลง 2-4 องศาฯ นั่นจึงเป็นส่วนหนึ่งที่เราควรหันมาสนใจร่างกายตัวเอง ในช่วงที่อากาศกำลังเย็นขึ้นนั่นเองค่ะ

 

อาการมือเท้าเย็น คืออะไร ?

เดิมทีร่างกายของคนเรา จะมีอุณหภูมิภายในร่างกายที่ ประมาณ 36.1 – 37.2 องศาฯ ตามแต่ช่วงอายุ ซึ่งเมื่อเจอกับอากาศหนาวเย็น จะทำให้ร่างกายทำการรักษาอุณหภูมิภายใน ด้วยการสูบฉีดเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : วัคซีนไข้หวัดใหญ่กับแม่ตั้งครรภ์ วัคซีนสำคัญกับเหตุผลที่ว่าทำไมจึงควรฉีด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ซึ่งจากการสวมใส่เสื้อผ้าแล้ว มือและเท้า มักเป็นส่วนที่สัมผัสอากาศเย็นจากภายนอกได้บ่อย โดยการสัมผัสดังกล่าว ก็อาจทำให้หลอดเลือดบริเวณมือและเท้าหดตัว ทำให้หลอดเลือดและเซลล์บริเวณนั้น ไม่สามารถรักษาอุณหภูมิปกติไว้ได้ จนเป็นต้นเหตุให้มือเท้าเย็นนั่นเองค่ะ

 

อาการร่วมของอาการมือเท้าเย็น

  • นิ้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง หรือดูซีดลง
  • มือเท้าชา มือและเท้าแข็งขยับได้ยากขึ้น
  • ในกลุ่มเด็ก ผู้หญิงผอม ผู้ชายตัวหนา และผู้สูงอายุ อาจรู้สึกต่ออากาศเย็นได้ไวกว่า

 

อาการมือเท้าเย็น ที่มาจากสุขภาพ

  • โลหิตจาง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
  • ภาวะขาดไทรอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • โรคหนังแข็ง
  • โรคเรเนาด์
  • โรคเบอร์เกอร์

หากมีอาการมือเท้าเย็น หนาว ไวต่ออากาศเย็นบ่อย หรือเกิดอาการอื่นร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม แต่สภาพอากาศของประเทศไทย อาจส่งผลให้เกิดอาการมือเท้าเย็น ได้น้อยกว่าประเทศเมืองหนาว แต่ก็อาจมีผลอยู่บ้างในช่วงหน้าหนาว หรือในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ปัญหาสุขภาพที่อาจทำให้เกิดอาการมือเท้าเย็น

1. ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์

ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ จะเกิดกับผู้ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง จนทำให้สร้างฮอร์โมนออกมาไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งการขาดฮอร์โมนนี้ จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย รวมไปถึงการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน หนึ่งในอาการของผู้มีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ คือ ขี้หนาว ดังนั้นใครที่รู้สึกเย็นทุกส่วนของร่างกาย รวมทั้งเท้าอยู่เสมอ อาจมีสาเหตุมาจากภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. โรคเรเนาด์

โรคเรเนาด์คือโรคที่เกิดความผิดปกติกับหลอดเลือด ที่มีการตอบสนองต่อความเย็นมากกว่าปกติ จะเกิดอาการเร็วขึ้นและหลอดเลือดหดตัวมากกว่าปกติเมื่อสัมผัสกับความเย็น ดังนั้นเมื่อสภาพอากาศเย็นลง จึงทำให้ผู้ป่วยความรู้สึกชา ไร้ความรู้สึก และเย็นทั้งมือและเท้า ถึงขั้นเปลี่ยนสีได้

 

3. โรคเบาหวาน

อาการของผู้เป็นโรคเบาหวาน มีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ สามารถแสดงออกมาได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการปัสสาวะมากหรือการติดเชื้อ รวมทั้งยังอาจส่งผลให้เกิดการเย็นที่เท้า ซึ่งมาจากอาการแทรกซ้อนก็ได้ นอกจากนั้นโรคเบาหวาน จะทำให้เส้นประสาทที่เท้า มีความเสียหายและทำให้รู้สึกเย็นได้ แม้จะอยู่ในสภาพอากาศปกติ

 

4. โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน

โรคนี้จะทำให้เกิดปัญหากับการไหลเวียนของเลือด ซึ่งเมื่อการไหลเวียนของเลือดไม่ดี ก็ทำให้เกิดอาการเย็นที่เท้าได้ นอกจากเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นผู้เป็นโรคเบาหวาน ยังเกิดขึ้นได้กับผู้ที่สูบบุหรี่ มีน้ำหนักตัวมาก ความดันโลหิตสูง รวมทั้งมีคอเลสเตอรอลสูงด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และโควิดในเด็ก ที่พ่อแม่ควรแยกให้ออก

 

5. คอเลสเตอรอลสูง

การมีคอเลสเตอรอลสูง จะส่งผลให้เกิดการไหลเวียนของเลือดไม่ดี เป็นสาเหตุทำให้เกิดมือเท้าเย็นได้ ซ้ำยังอาจส่งผลให้เกิดปัญหา ด้านสุขภาพอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือหัวใจวาย ก็อาจเป็นได้เช่นกันค่ะ

 

6. ความเครียด

เมื่อเกิดความเครียด ก็อาจทำให้เกิดอาการเย็นที่มือและเท้าได้ โดยเลือดจะถูกสูบฉีดไปยังแกนกลางของร่างกาย ซึ่งอยู่ห่างจากส่วนที่อยู่ปลายสุดของร่างกาย จึงทำให้รู้สึกเย็นที่นิ้วมือและนิ้วเท้า หากเป็นคนที่มีปัญหาความเครียด หรือเกิดความเครียดบ่อย มักพบกับอาการเย็นที่นิ้วมือและนิ้วเท้าเสมอ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีป้องกันตัวเองเบื้องต้น

  • สวมเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
  • ดื่มน้ำอุ่น ใช้มือประคองแก้วบรรเทาอาการมือเย็น
  • นวดหรือถูอย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มความอบอุ่น
  • ออกกำลังกาย เดิน หรือลุกยืดเส้นยืดสาย
  • งดดื่มกาแฟและสูบบุหรี่
  • หมั่นทาครีมทาผิวเสมอ เพื่อป้องกันมือแห้งแตก

สำหรับครอบครัวที่มีทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ควรใส่ใจเรื่องมือเท้าเย็นมากเป็นพิเศษเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และควรไปพบแพทย์ทันทีหากพบอาการผิดปกติ ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย อย่าลืมดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แพทย์เตือน ! ไข้หวัดใหญ่กำลังมา เร่งฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ลดความเสี่ยง

ผิวลูกแห้ง เพราะอากาศหนาว ปัญหาใหญ่ของเบบี๋ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องผิว ๆ

ป้ายยา 10 เบบี้ออยล์ทาตัว บำรุงผิวนุ่ม ชุ่มชื้น ในราคาหลักร้อย

ที่มา : pobpad, tmd

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn