โรคมะเร็งปอด สาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต อาการป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้ !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคมะเร็งปอด กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง หลังจาก นพ.กฤตไท ธนสมบัติกุล อายุ 28 ปี อาจารย์แพทย์ประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกและสถิติศาสตร์คลินิก เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก สู้ดิวะ ได้ออกมาเปิดเผยเรื่องราวชีวิตของตัวเองกับการเป็นมะเร็งปอดเพื่อเป็นกำลังใจให้กับทุกคน

 

เรื่องราวชีวิตของเขาดูเหมือนจะเรียบง่าย เป็นเพียงชายหนุ่มที่มีสุขภาพดี ชอบออกกำลังกาย และให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง รวมทั้งอาหารการกิน และการนอนเป็นอย่างมาก แต่ขณะที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์ เพิ่งได้บรรจุเป็นอาจารย์แพทย์ กำลังจะซื้อบ้าน และแต่งงาน ชีวิตกลับพลิกผันด้วยโรคมะเร็งปอดที่ไร้สัญญาณเตือน มาตรวจพบอีกทีก็เป็นระยะสุดท้ายแล้ว

 

แต่เคสของอาจารย์แพทย์กฤตไท ไม่ใช่เคสเดียวที่มาตรวจเจอมะเร็งปอดในระยะสุดท้าย ล่าสุด พ.ต.ต.รุ่งคุณ จันทโชติ สารวัตร กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ก็ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กเล่าเรื่องราวการป่วยเป็นมะเร็งของตัวเองเพื่อเป็นประสบการณ์ให้กับผู้อื่น นอกจากนี้ยังมีพยาบาลอ้อน ที่ได้ออกมาโพสต์ถึงเรื่องราวที่ตนเองเจอเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไม่รู้ว่าท้อง สาววัย 31 คลอดลูกในห้องน้ำ คิดว่ากินจุจนอ้วน เชื่อลูกให้โชค!

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มะเร็งปอดไร้สัญญาณเตือน

จากเรื่องราวทั้งหมดเห็นได้ว่า มะเร็งปอด มักไม่มีสัญญาณเตือนในระยะแรก กว่าผู้ป่วยจะมาตรวจพบ มารู้อีกทีก็เป็นระยะที่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแล้ว ทำให้รักษาได้ยาก แต่หากตรวจพบมะเร็งปอดได้ตั้งแต่ในระยะแรก จะมีโอกาสรักษาให้หายได้สูงถึง 90%

 

สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นมะเร็งปอด ส่วนใหญ่แล้วมาจากการสูบบุหรี่ กลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง แต่เป็นที่น่าสนใจว่า ในปัจจุบันเริ่มมีผู้คนจำนวนมากที่ไม่เคยสูบบุหรี่และไม่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ไม่มีคนใกล้ชิดสูบบุหรี่ แต่ก็เป็นมะเร็งปอด ดังนั้นการตรวจคัดกรองเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้นอาจไม่เพียงพอ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โรคมะเร็งปอด คืออะไร ?

มะเร็งปอด (Lung Cancer) เป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของทั้งเพศชายและเพศหญิง เป็นอาการผิดปกติของเซลล์เยื่อปอด ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนจนเกิดเป็นเซลล์มะเร็งภายในปอดหรือหลอดลม ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดจะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้รวดเร็วแค่ไหน ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง

 

เซลล์มะเร็งอาจเกิดการลุกลามจนทำให้พื้นที่ในปอด ที่ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนออกซิเจนน้อยลงเรื่อย ๆ จนทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนและเสียชีวิตในเวลาต่อมา แต่อย่างไรก็ตาม สามารถรักษาให้หายได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : พ่อลืมลูกไว้ที่ปั๊ม จอดรถแวะเข้าห้องน้ำ ไม่รู้ลูกลงรถตามไปด้วย เด็กตอบพ่อรีบไปนอน !

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชนิดของมะเร็งปอด

มะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามขนาดของเซลล์ ซึ่งความแตกต่างของขนาดเซลล์นี้มีความสำคัญ เนื่องจากวิธีการรักษาจะแตกต่างกัน

  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) : พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากรักษาด้วยการใช้ยาหรือฉายรังสี
  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) : พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (พบได้ประมาณ 85-90%) แต่แพร่กระจายได้ช้ากว่าและสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่น ๆ

 

อาการของโรคมะเร็งปอด

โดยทั่วไปแล้วมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น มักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้ว อาจพบอาการดังต่อไปนี้

  • ไอเรื้อรัง ไอแห้ง ไอมีเลือดปน หรือไอมีเสมหะ
  • มีปัญหาการหายใจ หายใจสั้น
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
  • เสียงแหบ
  • ติดเชื้อในปอดบ่อย ๆ ปอดบวม
  • เหนื่อยง่าย เหนื่อยตลอดเวลา
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

อาการเหล่านี้อาจไม่เกี่ยวเนื่องกับมะเร็ง เนื่องจากมีหลายโรคที่อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด

 

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปอด

ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจน ที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ แต่มีปัจจัยบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด เช่น

  1. บุหรี่ : อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุด ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10-30 เท่า เนื่องจากสารในบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอด ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนมวนและจำนวนปีที่สูบบุหรี่
  2. ได้รับสารพิษและมลภาวะแวดล้อม : เช่น ควันบุหรี่ แอสเบสตอส (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon) สารหนู รังสี และสารเคมีอื่น ๆ รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่น
  3. อายุ : ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยทั่วไปความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปี แต่สามารถพบได้ในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี
  4. คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งปอด : ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอดมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้ไม่ได้สูบบุหรี่

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด ควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการลดปัจจัยเสี่ยง และวางแผนการตรวจสุขภาพ ส่วนผู้ที่เคยได้รับการรักษามะเร็งปอดมาแล้ว ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังการรักษา เนื่องจากอาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดได้อีก

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งปอด

การตรวจคัดกรองช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบ และรักษามะเร็งได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจสอบมะเร็งปอดแบบง่าย หรือด้วยตนเองดังเช่นมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามมีการตรวจสอบใหม่ที่เป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยได้

 

การตรวจเบื้องต้น และการวินิจฉัยมะเร็งปอด

หากมีอาการที่เข้าข่ายของโรคมะเร็งปอด แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจเสมหะ x-ray ปอด หากพบความผิดปกติ อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

 

1. การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ (biopsy)

  • การใช้เข็มขนาดเล็กตัดชิ้นเนื้อ : แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะที่ช่องอกไปยังปอด และดูดตัวอย่างของเหลวเนื้อเยื่อที่สงสัยเพื่อนำมาวิเคราะห์ มักทำพร้อมกับการทำ CT scan เพื่อหาตำแหน่งที่ถูกต้อง
  • การส่องกล้องตรวจภายในหลอดลม : แพทย์จะทำการสอดท่อขนาดเล็กที่มีไฟ ผ่านทางจมูกหรือปากเข้าไปสู่ปอด โดยท่อนี้สามารถดูดของเหลวหรือตัดชิ้นเนื้อเยื่อที่สงสัยออกมาตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด
  • การใช้เข็มเจาะช่องเยื่อหุ้มปอดแทงผ่านผนังทรวงอก : แพทย์จะใช้เข็มเจาะที่ช่องอกบริเวณระหว่างปอดและผนังของช่องอก เพื่อทำการเก็บของเหลวบริเวณดังกล่าวมาตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  • การตรวจช่องทรวงอกโดยการส่องกล้อง : แพทย์จะใช้กล้องใส่เข้าทางผนังทรวงอกเพื่อตัดก้อนเนื้อจากปอดไปตรวจ

 

2. การตรวจวินิจฉัยด้วยรังสี

  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์หาตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติในบริเวณปอดได้
  • การตรวจด้วยเครื่อง PET scan เป็นการฉีดโมเลกุลของสารกัมมันตภาพรังสีที่รวมกับน้ำตาลเข้าทางเส้นเลือด เซลล์มะเร็งปอดจะดูดซึมเอาน้ำตาลชนิดนี้ไว้อย่างรวดเร็วและมากกว่าเซลล์ปกติ ทำให้เกิดความแตกต่างของการเรืองแสงเฉพาะเซลล์มะเร็ง

 

 

3. การตรวจยีนกลายพันธุ์ของมะเร็งจากชิ้นเนื้อ/เลือด

หากมียีนกลายพันธุ์ที่สามารถรักษาด้วยการใช้ยารักษาแบบเฉพาะเจาะจงยีนจะทำให้กำจัดเซลล์มะเร็งได้ตรงจุด

 

มะเร็งปอดถือเป็นโรคเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที ไม่ว่าใครแม้แต่คนที่มีสุขภาพดีก็สามารถเป็นได้ ด้วยความน่ากลัวที่ระยะแรกมักไร้สัญญาณเตือน ดังนั้นการตรวจสุขภาพปอดประจำปี นับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ในเรื่องร้ายก็ยังมีเรื่องดี ๆ อยู่ นั่นคือถ้าหากตรวจพบได้ไว มีโอกาสหายขาดได้สูงถึง 90%

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกเด็ก ม.1 อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ กสทช. ขู่เรียกเงินแสน!

อาบน้ำเด็กทารก เทคนิคอาบน้ำเด็กให้สะอาดและปลอดภัย อาบอย่างไรไม่ให้ลูกป่วย

เช็กอาการไวรัส RSV โรคติดต่อที่ต้องระวังในช่วงปลายฝนต้นหนาว

ที่มา : bumrungrad

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn