อัณฑะค้าง อัณฑะคาช่องท้อง ภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิด ควรรักษาก่อน 1 ขวบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่รู้ไหม อัณฑะค้าง เป็นภาวะความผิดปกติที่สามารถพบได้ในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะทารกที่คลอดกำหนดจะยิ่งมีความเสี่ยง แม้ว่าจะไม่ได้ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยใด ๆ แต่ก็เป็นภาวะที่ควรปรึกษากับแพทย์ เพื่อให้กลับมาเป็นปกติภายในระยะเวลา 1 ขวบแรก เพื่อเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

 

อัณฑะค้าง คืออะไร

ภาวะอัณฑะค้าง (Undescended Testis) คือ ภาวะความผิดปกติที่พบได้มากในทารกแรกเกิด โดยลูกอัณฑะจะไม่เคลื่อนตัวลงไปที่ถุงอัณฑะตามปกติ แต่จะไปติดค้างอยู่ที่ช่องท้อง หรือเชิงกรานแทน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง 1 ข้าง และ 2 ข้าง อาการของภาวะนี้ไม่ได้ส่งผลให้ทารกเจ็บ หรือปัสสาวะไม่ได้ โดยปกติจะรอให้ลูกอัณฑะกลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าหากไม่มีการเคลื่อนกลับมา หรือพบอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะเพศ แพทย์จะทำการพิจารณาในการรักษาให้ต่อไปตามขั้นตอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปลายอวัยวะเพศชายอักเสบ อาการที่เด็กเล็กอายุ 6-8 ปีก็เสี่ยงได้

 

วิดีโอจาก : นมแม่ดีที่หนึ่ง ศูนย์การแพทย์ฯ มศว

 

สาเหตุของอัณฑะค้าง

ลักษณะของภาวะนี้ยังมีแบบที่ใกล้เคียงคล้ายกันอีกหลายแบบ ที่สามารถพบเจอในวัยก่อนวัยรุ่น หรือวัยเด็ก นอกจากทารกแรกเกิด แม้จะมีอาการหลายแบบแต่สาเหตุของการเกิดภาวะอัณฑะค้างก็ไม่ชัดเจน ยังไม่มีการระบุออกมาอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม แพทย์ได้เจาะจงไปที่พฤติกรรม หรือภาวะต่าง ๆ ที่สามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ ตัวอย่างเช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • คุณแม่ตั้งครรภ์มีพฤติกรรมที่เกิดผลกระทบต่อครรภ์ เช่น สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์
  • ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ป่วยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ทารกในครรภ์มีภาวะความผิดปกติที่ส่งผลต่อพัฒนาการ เช่น ภาวะผนังหน้าท้องโหว่ (Abdominal Wall Defects) เป็นต้น
  • ทารกมีน้ำหนักน้อยเกินไป หรือเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทำให้มีพัฒนาการไม่สมบูรณ์พอ
  • พัฒนาการของครรภ์เกิดความผิดปกติไปจากเดิม
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากพ่อแม่ไปสู่ลูก หรือมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน
  • ผู้ปกครองเคยการสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนแปลกปลอม หรือสารเคมีอันตรายต่าง ๆ

 

ลักษณะอาการของภาวะอัณฑะค้าง

อาการนี้มักพบได้ในทารกแรกเกิด และพบได้บ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนด โดยทารกจะไม่มีอัณฑะอยู่ในถุงอัณฑะ ซึ่งอาจไม่มีทั้ง 1 ข้าง หรือ 2 ข้างเลย เบื้องต้นจะไม่ได้ทำให้เกิดความเจ็บปวด และไม่ได้ทำให้ทารกปัสสาวะไม่ได้ อาการจะไม่ได้น่าเป็นห่วงมาก ยกเว้นในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา โดยทั่วไปแพทย์จะในช่วงอายุไม่เกิน 6 เดือน หากอัณฑะยังไม่ลงมาอยู่ที่ถุงอัณฑะ แพทย์จะทำการรักษาตามขั้นตอน เพื่อลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายต่าง ๆ เช่น ภาวะอัณฑะบิดขั้ว (Testicular Torsion) หรือภาวะไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia) เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อัณฑะค้างในทารกรักษาอย่างไร

การรักษาที่ประสิทธิภาพที่สุด คือ การรักษาให้เร็วที่สุดเมื่อพบอาการ หากปล่อยให้ทารกมีอาการนี้ต่อเนื่องเกินอายุ 1 ปี จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก หรือมะเร็งอัณฑะ (Testicular Cancer) ในอนาคตได้ โดยสามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น วิธีการผ่าตัดเพื่อเคลื่อนอัณฑะไปที่ถุงอัณฑะ วิธีนี้มักใช้กับทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไปเท่านั้น ประกอบกับสภาพร่างกาย และความเหมาะสมของทารกในเวลานั้น จะเป็นตัวกำหนดวิธีที่จะใช้ในการผ่าตัดด้วย

นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin) ที่จะช่วยเคลื่อนอัณฑะได้ แต่ประสิทธิภาพไม่มากเท่ากับการผ่าตัด และมักใช้ร่วมกับวิธีการผ่าตัดด้วย หากลูกอัณฑะเกิดความเสียหายไป แพทย์จะพิจารณาในการใช้อัณฑะเทียม เพื่อทำให้มีลักษณะเหมือนกับอัณฑะทั่วไปมากขึ้น วิธีการรักษาเหล่านี้ ผู้ปกครองจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดกับทารก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดูแลทารกที่เป็นอัณฑะค้างอย่างไร

การอยู่กับลูกที่มีอาการนี้ สิ่งที่ต้องคำนึงอยู่ตลอดเวลา คือ ความมั่นใจของตนเอง และความรู้สึกด้านลบของตนเองที่ลูกคิดว่าตนเองไม่เหมือนคนอื่น ผู้ปกครองยังต้องให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

 

  • คอยสังเกตอาการอัณฑะทารก หากมีความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ และหากพบว่าเป็นอัณฑะค้าง ควรรีบรักษาให้เร็วที่สุดไว้ก่อน
  • หากอยู่ระหว่างการรักษา หรือมารักษาในภายหลัง ผู้ปกครองจะต้องระมัดระวังการใช้คำพูดเมื่อพูดถึงอาการของลูก เพราะจะส่งผลต่อความมั่นใจของลูกได้
  • หาโอกาสในการพูดคุยกับลูกกรณีที่ต้องการใช้อัณฑะเทียม เพื่อเสริมความมั่นใจให้กับลูกได้ และควรพูดคุยเกี่ยวกับอาการว่าไม่ได้ทำให้เจ็บ หรือมีอันตรายรุนแรง ยกเว้นกรณีภาวะแทรกซ้อน
  • แม้จะไม่ใช่จุดที่สังเกตได้โดยง่าย แต่ความมั่นใจ และความกังวลของลูกสามารถเกิดขึ้นได้ตลอด ผู้ปกครองควรสังเกตและเข้าไปพูดคุยให้ลูกคลายความกังวลได้

 

 

การป้องกันภาวะอัณฑะค้าง

ในเบื้องต้นเนื่องจากไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ทำให้การป้องกันภาวะนี้ไม่สามารถระบุได้ตามไปด้วย อย่างไรก็ตามการดูแลครรภ์ตลอด 3 ไตรมาสอย่างเหมาะสม เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่ถูกต้องเป็นทางเลือกที่ดี ดังนี้

 

  • ทำการฝากครรภ์ และไปตรวจตามที่แพทย์นัดเสมอ หากแม่ท้องรู้สึกว่าตนเองมีอาการความผิดปกติใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • เลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงอันตราย หรือพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อพัฒนาการทารก เช่น การกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่, การดื่มแอลกอฮอล์, สูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด เป็นต้น
  • แพทย์สามารถช่วยตรวจได้หลังคลอด ว่าทารกมีความผิดปกติไหม อย่างไรก็ตามผู้ปกครองสามารถสังเกตความผิดปกติของอัณฑะลูกน้อยได้เช่นกัน หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • ดูแลครรภ์ตลอด 3 ไตรมาสให้ดี ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลี่ยงการกินของหวานมากเสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์, พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายตามความเหมาะสม

 

หากผู้ปกครองพบความผิดปกติในทารกแรกเกิด อย่ารอช้า ไม่ใช่แค่อัณฑะค้างเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความผิดปกติอื่น ๆ ยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่ ทารกก็ยิ่งปลอดภัยจากภาวะอื่น ๆ ที่อาจตามมามากขึ้นเท่านั้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สีผิวผิดปกติของลูก สีผิวไม่สม่ำเสมอ สัญญาณสำคัญของโรคด่างขาว

6 อาการทารกเท้าคด เท้าบิดด้านใน เท้าผิดรูป มีอะไรบ้าง รักษาอย่างไร

ทารกแรกเกิดตาแดง สังเกตอาการอย่างไร อันตรายมาก รับมืออย่างไร ?

ที่มา : pobpad, bumrungrad, MED CMU

บทความโดย

Sutthilak Keawon