theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

Top 5 อาการป่วยของทารก ที่แม่มือใหม่ต้องรู้

บทความ 3 นาที
•••
Top 5 อาการป่วยของทารก ที่แม่มือใหม่ต้องรู้Top 5 อาการป่วยของทารก ที่แม่มือใหม่ต้องรู้

อาการป่วยของทารก ความเจ็บป่วยที่แม่มือใหม่ต้องรู้ว่ามีอะไรบ้าง พ่อแม่จะได้เตรียมตัวได้ทัน

1.ร้องร้อยวัน หรือโคลิค

เด็กทารกจะร้องไห้งอแงจนน่าตกใจ ซึ่งแม่มือใหม่ยากที่จะรับมือ เพราะไม่ว่าจะงัดมาทุกกระบวนท่า ลูกน้อยก็ไม่ยอมหยุดร้องเสียที ซึ่งการร้องร้อยวันนั้น คนโบราณเชื่อว่าเป็นเพราะเด็กเห็นผี แต่ในทางการแพทย์ระบุไว้ว่า อาการโคลิค เด็กมักจะร้องเป็นเวลา เหมือนเดิมแทบทุกวัน ประกอบกับอาการหน้าแดง งอแข้งงอขาทั้ง 2 ข้าง มีอาการหดเกร็ง ส่วนเสียงที่กรีดร้องก็จะแหลมๆ ทารกสามารถร้องได้นานถึง 3 ชั่วโมง แต่มักจะร้องเป็นระยะๆ

ส่วนสาเหตุนั้นเป็นไปได้ว่า เกิดจากการพยายามปรับตัวของทารกน้อยที่เพิ่งออกมาดูโลก ประกอบกับปัจจัยอื่นๆ อาทิ แก๊สในกระเพาะอาหาร หรือแม้แต่การถูกกระตุ้นอื่นๆ ทั้งจากแสงที่จ้าเกินไป เสียงที่ดัง หรือกลิ่นแปลกปลอม

วิธีแก้โคลิค

1.อุ้มลูก ทั้งการอุ้มในท่าคว่ำเพื่อให้ลูกรู้สึกสบายตัว ซึ่งคุณแม่จะอุ้มแล้วนั่งบนเก้าอี้ แล้วโยกตัวเบาๆ หรืออุ้มแล้วเดินไปด้วยก็ได้ ถ้ายังไม่หาย ลองเปลี่ยนเป็นท่าอุ้มพาดบ่า แล้วพยายามทำให้ลูกเรอออกมา

2.พาลูกออกเดินไปจากสถานที่ที่มีสิ่งเร้า ทั้งเสียงดัง แสงรบกวน หรือมีกลิ่นแปลกๆ

3.นวดตัวลูก เขย่าอย่างเบามือ หรือจะใช้ผ้าห่อหุ้มตัวเด็ก ให้ลูกรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย

4.เปิดเพลงเบาๆ หรือใช้เสียง White Noise ช่วยกล่อมลูก

 

2.ลูกน้อยเป็นผื่นผ้าอ้อม

ทารกน้อยบอบบางทั้งภายนอกและภายในร่างกาย สำหรับผิวพรรณนุ่มๆ ของลูกรัก ไม่แปลกถ้าจะมีอาการผื่นผ้าอ้อม เพราะผิวหนังบริเวณก้นจะสัมผัสกับอุจจาระและปัสสาวะ การปล่อยให้สิ่งเหล่านี้หมักหมมโดยไม่รีบทำความสะอาด ก็ยิ่งทำให้ลูกเป็นผื่นผ้าอ้อม

วิธีป้องกันผื่นผ้าอ้อม พ่อแม่ต้องหมั่นตรวจเช็คว่าลูกฉี่หรืออึไปแล้วหรือยัง พอเริ่มได้กลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็ให้รีบทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง

 

3.ฟันขึ้น ลูกเจ็บเหงือก

ฟันที่งอกขึ้นมา ทำให้ลูกรู้สึกเจ็บๆ คันๆ ทำให้ต้องหยิบของเข้าปากอยู่เสมอ บางรายมีไข้ มีอาการท้องเสีย และมีผื่นขึ้นรอบๆ ปากร่วมด้วย

ลูกฟันงอกต้องทำอย่างไร

1.เคี้ยวของเย็น จะช่วยลดการบวมของเหงือก ช่วยให้รู้สึกชาๆ หรือพ่อแม่จะใช้ผ้าแช่เย็นแล้วมาเช็ดเหงือกก็ช่วยได้เหมือนกัน

2.นวดเหงือกเบาๆ ลองใช้นิ้วเข้าไปนวดเหงือกอย่างเบามือ วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดเหงือกของลูกได้

3.ให้ลูกเคี้ยวยางกัด ของเล่าสำหรับเคี้ยว หรือจุกนมหลอก ลดอาการคันเหงือก

4.ลูกปวดหู

คิดดูว่าขนาดผู้ใหญ่ปวดหูยังหงุดหงิดและทรมานแค่ไหน แล้วใบหูเล็กๆ ของลูกล่ะ เป็นอวัยวะที่บอบบางเช่นกัน ถ้าเกิดมีอาการผิดปกติบริเวณใบหู ทางที่ดีต้องรีบพาไปพบแพทย์ แต่ก่อนหน้านั้น คุณแม่สามารถบรรเทาอาการปวดหูของลูกได้ด้วยการโปะแผ่นประคบอุ่น หรือถุงน้ำอุ่นไว้บนหู

สิ่งที่ห้ามทำเมื่อทารกปวดหู

ห้ามทำความสะอาดหูด้วยสำลีเช็ดหูหรือหยอดอะไรเข้าไปโดยพลการ ซึ่งคุณหมอได้ย้ำบ่อยๆ ว่า อย่าใช้ไม้ปั่นหูแคะขี้หู เพราะการใช้คอตตอนบัดปั่นหูทารก เสี่ยงต่อการหูหนวกและแก้วหูทะลุ

 

5.ทารกปวดท้อง

ทารกมักจะมีอาการท้องอืดและท้องผูกอยู่บ่อยๆ

หากลูกน้อยมีอาการท้องอืด จะสังเกตได้ว่าท้องลูกจะป่องอย่างผิดปกติ มักจะงอแง อารมณ์ไม่ดี เนื่องจากมีลมในท้องเยอะ ส่วนวิธีบรรเทาอาการท้องอืดของลูกรัก มีดังนี้

- ให้แม่ๆ นวดท้องลูกอย่างเบามือ ใช้ฝ่ามือกดหน้าอกไล่มาใต้สะดือ แล้วใช้มือทั้งสองข้างช้อนบริเวณสันหลัง ใช้หัวแม่มือนวดวนเป็นวงกลมที่ท้องเพื่อไล่ลม

- อีกวิธีคือการจับลูกน้อยนอนหงาย งอหัวเข่าและขา ค่อยๆ กดขาลงไปชิดหน้าท้องเบาๆ หรือให้ลูกปั่นจักรยานอากาศ ขยับขาช่วยขับลมออกจากท้อง

- พาดไหล่ทำให้ลูกเรอ หรือจับลูกนอนคว่ำ นวดหลังเบาๆ จากก้นกบไล่ขึ้นไปถึงกระดูกสะบัก

 

อย่างไรก็ตาม หากทารกมีอาการรุนแรงจนคุณแม่หนักใจ อย่ารีรอที่จะพาลูกรักไปพบกุมารแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด หากมีข้อสงสัยต้องรีบสอบถามคุณหมอ ที่สำคัญ ห้ามซื้อยามาป้อนลูกเองนะคะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

3 วิธีทำให้ทารกนอนหลับปุ๋ยขึ้นภายใน 1 สัปดาห์

4 อย่าง ที่ห้ามทำเด็ดขาดกับเด็กแรกเกิด

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • Top 5 อาการป่วยของทารก ที่แม่มือใหม่ต้องรู้
แชร์ :
•••
  • ปูพื้นฐานการเป็นแม่ กับ เรื่องที่ 'คุณแม่มือใหม่' ต้องรู้

    ปูพื้นฐานการเป็นแม่ กับ เรื่องที่ 'คุณแม่มือใหม่' ต้องรู้

  • 6 อย่างที่อยากให้แม่มือใหม่รู้เอาไว้

    6 อย่างที่อยากให้แม่มือใหม่รู้เอาไว้

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • อันตราย!! อย่าปล่อยให้ลูกลิ้มลองแอลกอฮอล์แม้แต่นิดเดียว

    อันตราย!! อย่าปล่อยให้ลูกลิ้มลองแอลกอฮอล์แม้แต่นิดเดียว

app info
get app banner
  • ปูพื้นฐานการเป็นแม่ กับ เรื่องที่ 'คุณแม่มือใหม่' ต้องรู้

    ปูพื้นฐานการเป็นแม่ กับ เรื่องที่ 'คุณแม่มือใหม่' ต้องรู้

  • 6 อย่างที่อยากให้แม่มือใหม่รู้เอาไว้

    6 อย่างที่อยากให้แม่มือใหม่รู้เอาไว้

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • อันตราย!! อย่าปล่อยให้ลูกลิ้มลองแอลกอฮอล์แม้แต่นิดเดียว

    อันตราย!! อย่าปล่อยให้ลูกลิ้มลองแอลกอฮอล์แม้แต่นิดเดียว

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป