เคล็ดลับเสริมสร้างพลังสมองลูกให้ฉลาด

เมื่อเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก คุณแม่รู้ไหมมีวิธีการมากมายที่สามารถ เสริมสร้างพลังสมองลูก เลี้ยงลูกให้ฉลาด ด้วยเทคนิค A-Z ที่จดจำง่ายและไม่ควรพลาด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคล็ดลับ เสริมสร้างพลังสมองลูก ให้ฉลาด

A – Attention

การให้ความรักความเอาใจใส่ของผู้เลี้ยงดูมีผลต่อการเรียนรู้ของทารกมากที่สุด และวิธีการที่ดีที่สุดในการพัฒนาสมองลูกรักคือการตอบสนองทารก ทำให้เจ้าตัวน้อยรู้ว่า เมื่อเขาร้อง คุณจะปลอบโยนเขา เมื่อเขาพร้อมที่จะเล่น คุณก็จะเล่นกับเขา

B – Breast Milk

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยบราวน์พบว่า เด็กที่กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 3 เดือนมีพื้นที่สมองที่เต็มไปด้วยเยื่อไมอิลิน (myelin) มากขึ้น 20-30% ซึ่งเยื่อไมอิลินนี้มีความสำคัญในการช่วยให้สมองส่งสัญญาณประสาทได้เร็วขึ้น

C – Calming

การทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยเป็นการทำให้สมองสงบ เมื่อเจ้าตัวน้อยร้องไห้และคุณเข้าไปอุ้มเขา สัมผัสของคุณ และการตอบสนองอย่างอ่อนโยนช่วยให้ระบบประสาทของลูกผ่อนคลาย และป้องกันฮอร์โมนคอร์ติซอลอันเป็นสาเหตุของความเครียดไม่ให้เข้ามาขัดขวางพัฒนาการของลูก

D – Doubling

ขนาดสมองของทารกสามารถขยายใหญ่ขึ้นเป็นสองเท่าภายในขวบปีแรก ในขณะที่พื้นที่ด้านหลังของสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการประสานของอวัยวะและการทรงตัวขยายเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า ซึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับทักษะการเคลื่อนไหวของทารกในขวบปีแรก

E – Eye Contact

วางโทรศัพท์มือถือของคุณลงและจ้องเข้าไปในตาคู่น้อยของลูก เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ทางอารมณ์ความรู้สึกกับเจ้าต้วน้อย การสบตากับทารกจะช่วยให้ลูกเรียนรู้ภาษาและเข้าใจโลกรอบตัวได้ดีขึ้น

บทความแนะนำ พ่อแม่ติดมือถือ กระทบพัฒนาการลูกแค่ไหน

F – Focus

เมื่อลูกน้อยสำรวจของเล่นหรือหนังสือ นั่นคือช่วงเวลาที่ลูกกำลังเรียนรู้ ในช่วงวัย 3 เดือน การโฟกัสกับวัตถุเป็นเวลา 10-15 นาทีนั้นเทียบได้กับผู้ใหญ่ตั้งใจอ่านหนังสือเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว

G – Grouping

ทารกจะเริ่มจัดกลุ่ม แยกแยะจำนวนและรูปร่างที่แตกต่างกันได้เมื่ออายุ 11 เดือน แม้จะไม่ใช่นักคณิตศาสตร์ตัวน้อย แต่เขารู้จักจำนวนมาก-น้อย สามารถแยกบล็อกตามสีหรือขนาดได้

H – Hearing

ทารกจำเสียงคุณแม่ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เขารับรู้ได้ว่าเสียงคุณแม่แบบนี้มีความสุขหรือกำลังเศร้า งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า แม้ในยามที่เจ้าตัวน้อยกำลังหลับ ระดับฮอร์โมนความเครียดของทารกเพิ่มขึ้น เมื่อได้ยินผู้ใหญ่พูดด้วยน้ำเสียงเกรี้ยวกราด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

I – Iron

ทารกต้องการธาตุเหล็กในการสร้างเม็ดเลือดแดงเพื่อส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์สมองและเซลล์ทั่วร่างกาย สำหรับทารกที่ทานนมแม่ คุณแม่ควรได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ โดยทานยาเสริมธาตุเหล็กตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนถึง 6 เดือนหลังคลอด และในทารกอายุ 7-12 เดือน ควรได้รับธาตุเหล็ก 11 mg จากอาหารเพิ่มเติม

J – Jiggle

จับเจ้าตัวน้อยนั่งตักแล้วโยกเบาๆ เป็นการกระตุ้นสมองทารกให้ปล่อยฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตออกมา จากการศึกษาทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการโยกเบาๆ และยืดแขนยืดขาเพียง 15 นาทีวันละ 3 ครั้ง สามารถกลับบ้านได้เร็วขึ้น ตื่นตัวมากขึ้น และควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีกว่าทารกที่ได้รับการสัมผัสน้อยกว่า

K – Kicking

ทารกสื่อสารกับคุณด้วยภาษากาย เช่น เมื่อคุณทำหน้าตลกๆ ที่ลูกชอบ แล้วหยุดทำ เจ้าตัวน้อยอาจจะเตะหรือตีคุณ เพื่อเป็นการบอกว่า อย่าเพิ่งหยุดซิคุณแม่ การกระทำของลูกเช่นนี้เป็นเรื่องดี เพราะมันคือปฏิกริยาสะท้อนกลับจากการที่ทารกพยายามจะสื่อสารนั่นเอง

L – Looking

ทารกเริ่มเรียนรู้ด้วยการมองราวสัปดาห์ที่ 6 งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยไอโอวาพบว่า ทารกมองวัตถุใหม่ได้ได้นานขึ้นเมื่อเห็นสิ่งนั้นเป็นครั้งแรก จากนั้นจะค่อยๆ ลดความสนใจลงเมื่อเริ่มคุ้นเคยกับสิ่งนั้น อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งเปลี่ยนของเล่นหรือหนังสือเล่มใหม่เร็วเกินไป เพราะงานวิจัยพบว่า ทารกที่ไม่ได้ใช้เวลากับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างเพียงพอก็จะไม่เข้าใจสิ่งนั้นเช่นกัน

บทความแนะนำ โมบายล์สีขาวดำดีต่อพัฒนาการมองเห็นของลูก

M – Music

งานวิจัยจากแคนาดาพบว่า การที่คุณแม่และลูกน้อยวัย 1 ขวบได้เข้าคลาสเรียนดนตรีร่วมกัน ได้สัมผัสเครื่องดนตรีและร้องเพลงกับเจ้าตัวน้อยช่วยให้ลูกอารมณ์ดี มีพัฒนาการด้านการสื่อสารที่ดีขึ้น และแสดงการตอบสนองของสมองต่อเสียงดนตรีที่ซับซ้อนขึ้นมากกว่าการฟังเพลงทั่วไป

N – Nurture

พันธุกรรมและการเลี้ยงดูมีผลต่อการพัฒนาสมองของเด็ก แม้ว่าพันธุกรรมจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่คุณสามารถให้การเลี้ยงดูที่ดีได้ คุณพ่อคุณแม่ที่ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยและได้รับประสบการณ์การเลี้ยงดูที่ดีจะส่งผลไปยังสมองของเด็ก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อลูกในระยะยาว

O – Feeling Overwhelmed

ทารกมีระดับความอดทนต่อสิ่งเร้าต่างกัน เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ หากเจ้าตัวน้อยเริ่มร้องไห้ ทิ้งตัว ไม่สบตา ลองให้ลูกเล่นของเล่นที่ง่ายขึ้น ปิดเสียงเพลง หรือพาลูกออกจากที่มีเสียงดัง เมื่อระบบประสาทของลูกรู้สึกท่วมท้นจนรับไม่ไหว คุณจำเป็นต้องหาวิธีทำให้สมองของลูกผ่อนคลาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ วิธีสังเกตเมื่อลูกงอแอ เพราะถูกกระตุ้นมากเกินไป

P – Peekaboo

การเล่นจ๊ะเอ๋เป็นวิธีที่ดีมากในการสอนเจ้าตัวน้อยเกี่ยวกับการคงอยู่ของวัตถุ แม้จะไม่เห็นสิ่งนั้นในสายตาก็ตาม เจ้าตัวน้อยจะได้เรียนรู้ว่า แม่ยังอยู่แม้ว่าเขาจะไม่เห็นหน้าของแม่ก็ตาม

Q – Quiet Time

คุณทราบดีว่า เวลาอยู่ในห้องที่มีเสียงดัง หรือได้ยินเสียงทีวีอยู่ตลอดเวลา สมองจะไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เด็กก็เช่นกัน ดังนั้น จึงควรให้ลูกอยู่ในที่ที่เงียบสงบ

R – Repetition

การทำซ้ำๆ ช่วยให้ทารกเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งเบื่อหากเจ้าตัวน้อยขอให้คุณอ่านนิทานเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อคุณเล่านิทานจนลูกจำได้ เขาจะรู้สึกภูมิใจที่สามารถเดาได้ว่าเรื่องราวในหน้าต่อไปจะเป็นอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

S – Synapses

เด็กแรกเกิดถึง 3 ปี การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่าไซแนปส์พัฒนาอย่างรวดเร็วกว่าช่วงอื่นๆ ของชีวิต ยิ่งเซลล์ประสาทถูกใช้งานมาก สมองของลูกก็ยิ่งแข็งแรงมากขึ้น

T -Tummy Time

การนอนคว่ำในขณะที่ลูกตื่น เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของทารก เจ้าตัวน้อยจะได้ฝึกชันคอ ยกศีรษะ กลิ้งตัว และฝึกนั่ง ซึ่งจะช่วยพัฒนาสมองจากการมองเห็นโลกในอีกมุมมองหนึ่ง รู้จักในเรื่องของมิติสัมพันธ์และพัฒนาความสามารถในการรู้จักสถานที่ที่สัมพันธ์กับวัตถุและผู้คน

U – Understanding

แม้แต่ทารกวัย 8 เดือนก็สามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ เมื่อลูกเจอคนแปลกหน้า เขาจะสังเกตความรู้สึกทางสีหน้าของคุณแม่ เพื่อประเมินว่าคนๆ นั้นเป็นมิตรหรือเปล่า ถ้าคุณแม่ดูเป็นกังวล ลูกก็จะไม่มีความสุขเช่นกัน แต่ถ้าคุณแม่ผ่อนคลาย ลูกก็จะผ่อนคลายเช่นกัน

V –Being Verbal

ยิ่งคุณคุยกับลูกมากเท่าไหร่ยิ่งดี การได้รู้จักคำเยอะๆ จะช่วยปูทางสำหรับการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะทำกิจกรรมใดๆ ร่วมกับลูกในแต่ละวันก็ให้พูด คุย เล่าให้ลูกฟังไปพร้อมๆ กัน

W – Baby’s Words

ทารกส่วนใหญ่สามารถพูด 2-3 คำง่ายๆ เช่น มามา ปาปา เมื่ออายุได้ 12 เดือน และเมื่อเจ้าตัวน้อยอายุ 18 เดือน คำศัพท์ของลูกควรมีประมาณ 50 คำ เมื่อลูกพูดคุณแม่ควรตอบสนองเพื่อกระตุ้นให้ลูกพูดมากยิ่งขึ้น

บทความแนะนำ 7 ปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการด้านภาษาของทารก

X – Xs

แสดงความรักกับเจ้าตัวน้อยให้มากที่สุด การจูบ กอด ยิ้มให้ลูก เป็นอาหารสมองชั้นยอดของลูกเลยล่ะ เพราะคุณกำลังทำให้เขารู้สึกปลอดภัย เป็นที่รัก และพร้อมที่จะเรียนรู้โดยไม่ต้องกังวลใดๆ

Y – You

เมื่อลูกอายุ 12 เดือน ลูกจะเริ่มสื่อสารด้วยการชี้ คุณคือคนที่จะตอบและอธิบายให้ลูกรู้จักและเข้าใจสิ่งนั้นๆ ดียิ่งขึ้น ในตอนแรกเจ้าตัวน้อยอาจเพียงชี้เมื่อเห็นสิ่งต่างๆ คุณควรบอกลูกว่าสิ่งนั้นคืออะไร จากนั้นลูกจะเริ่มชี้อย่างมีเหตุผล เช่น ชี้ขนมเพราะอยากทานขนม เป็นต้น

Z – ZZZs

ในช่วงที่สมองของลูกกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทารกต้องการการนอนหลับ 12-18 ชั่วโมงต่อวัน การนอนหลับทำให้สมองทารกได้พักผ่อน และหลั่งฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นส่วนต่างๆ ของสมองในการเรียนรู้ จดจำ อันเป็นรากฐานสำคัญของพัฒนาการของสมองที่ดี การฝึกลูกนอนเป็นเวลาจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาสมองของลูกได้

ที่มา www.fitpregnancy.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ลูกนอนดึก เสี่ยงตัวเตี้ย เพราะขาดโกรทฮอร์โมน

เลี้ยงเบบี๋ให้ฉลาดและสมองดีด้วย 30 วิธีง่าย ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา