เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ มีวิธีรับมืออย่างไรบ้างสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะมีลูก คงเตรียมใจกันมาอยู่แล้วว่า การที่จะอุ้มท้องคน ๆ นึงเป็นเวลา 9 เดือน คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ยากที่จะคาดเดาได้ คือเมื่อถึงเวลา ครบกำหนดคลอดของแม่ท้อง จะเป็นอย่างไรบ้าง? คงเป็นกังวลกันไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ ทั้งเรื่องการเตรียมตัว หรือความเจ็บปวดที่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้น จะทนไหวหรือไม่ วันนี้เรามีบทความดี ๆ เกี่ยวกับ ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ มาฝาก คุณแม่มือใหม่ จะต้องเตรียมตัวอย่างไร และอะไรที่สามารถเกิดขึ้นได้บ้าง เมื่อคุณแม่กำลังจะคลอด ตามไปอ่านกันเลย 

 

เจ็บท้องแบบไหน เมื่อไหร่จะต้องไปโรงพยาบาล?

ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม แม่ท้องอาจมีอาการท้องแข็ง เนื่องจากมดลูกหดรัดตัว (Braxton Hicks Concentration) หรือเรียกอีกชื่อว่า อาการ เจ็บท้องหลอก อาการเจ็บท้องนี้คงทำให้คุณแม่สับสนไม่น้อยเลย ว่าลูกน้อยกำลังจะออกมาลืมตาดูโลกหรือเปล่า แต่อย่าเข้าใจผิดไป เพราะอาการที่มดลูกหดรัดตัว สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ จะบอกว่าเป็นการเตรียมร่างกายของแม่ท้องให้พร้อมสำหรับการคลอดจริงเลยก็ว่าได้ 

ให้คุณแม่จำไว้เลยว่า การเจ็บท้องหลอกนี้ คุณแม่จะรู้สึกปวดตึง ๆ ช่วงท้องน้อย เพียงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เดี๋ยวก็หายไป ความถี่ของอาการปวดจะไม่เหมือนกับตอนใกล้คลอด ดังนั้นรอดูอาการอยู่ที่บ้านก่อนก็ได้ค่ะ 

มาทำความรู้จัก ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ กัน! 

คงจะดีไม่น้อยเลย ถ้าได้รู้ก่อนว่า ในแต่ละขั้นตอนของการคลอดนั้น จะมีอะไรขึ้นบ้าง แม่ท้องจะใช้เวลาไปกับการเตรียมตัวและรับมืออย่างถูกต้อง โดยขั้นตอนคลอด แบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ระยะด้วยกัน รวมถึงการคลอดรก 

 

 

ระยะที่หนึ่ง : สัญญาณเตือน 

ในระยะนี้สามารถแบ่งออกได้อีก 3 ระยะย่อยด้วยกัน คือ  latent stage,  active labour และ transitional phrase 

latent stage

เริ่มกันที่ latent stage เป็นระยะที่ปากมดลูกจะมีความนิ่มลง บางลง และเริ่มที่จะเปิดขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือในบางคนอาจจะใช้เวลาได้ถึง 2-3 วันเลยทีเดียว คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงความหน่วง ๆ หรือรู้สึกได้ถึงการหดตัว แต่ก็ยังไม่ถึงเวลาคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่ทนความเจ็บปวดนี้ได้แค่ไหน เพราะแน่นอนว่ามันจะรู้สึกปวดหน่วง ๆ แต่ก็ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อยู่นะ อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น 

  • มีมูก หรือ มูกที่ปนเลือดออกมาบริเวณช่องคลอด
  • ท้องเสียเล็กน้อย
  • ปวดท้องคล้าย ปวดประจำเดือน
  • ปวดหลังช่วงล่าง
  • คลื่นไส้ อยากอาเจียน 
  • มีอาการน้ำเดิน ซึ่งน้ำควรมีสีใสหรือปนชมพูนิดหน่อย แต่ถ้าหากเป็นเลือด หรือมีสีเขียว ควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน 

ในช่วงนี้คุณแม่อาจรู้สึกเหนื่อยง่าย และไม่สบายตัว และความรู้สึกเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเป็นระยะ ก่อนถึงกำหนดคลอด แต่ก็จะค่อย ๆ หายไปเอง ดังนั้น เราขอแนะนำให้รายงานคุณหมออย่างละเอียด ว่ามีอาการอะไรเกิดขึ้นกับคุณแม่บ้างในช่วงนี้ คุณหมอจะเป็นคนประเมินความเสี่ยงให้เองค่ะ ว่าแม่ท้องควรรีบไปโรงพยาบาล หรือนอนพักผ่อนอยู่บ้านก็ได้ 

แต่อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้ก็จะมา ๆ หาย ๆ เป็นเหมือนการเตรียมพร้อมร่างกายสำหรับการคลอดต่อไป เรามีวิธีการลดความไม่สบายตัวของแม่ท้องในระยะนี้มาฝาก ได้แก่ 

  • พยายามผ่อนคลาย อย่าไปเครียดกับมัน
  • แม่ท้องควรขยับตัวบ้าง อาจจะเดินรอบ ๆ บ้านก็ได้ 
  • พักผ่อน โดยหาท่าที่นอนแล้วรู้สึกสบายที่สุด 
  • ให้คุณพ่อช่วยนวดเบา ๆ ตามร่างกายได้ค่ะ 
  • การฝึกหายใจสามารถช่วยได้ดี 
  • ทำสมาธิ พักผ่อน หาเพลงสบาย ๆ มาฟังเพื่อผ่อนคลาย
  • อาบน้ำอุ่น ๆ 

อย่างไรก็ตามถ้าแม่ท้องมีอาการไม่สบายตัว หรือปวดท้อง หรือรู้สึกหน่วง ๆ เป็นระยะ โดยไม่หายไป นั่นก็เป็นสัญญาณว่าให้ไปโรงพยาบาล ได้เลยทันที 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทำอย่างไร? เมื่อมดลูกหดรัดตัว ทุก ๆ 5 นาที แต่ยังไม่มีน้ำเดิน

มีกฎที่แม่ท้องต้องจำให้ขึ้นใจเลย คือกฎ 5-1-1 ซึ่งก็คือการที่คุณแม่มีอาการหดรัดตัวของมดลูกนาน 1 นาที และมีการหยุดพักเป็นช่วง ๆ ทุก ๆ 5 นาที และมีอาการแบบนี้ติดต่อกันนานกว่า 1 ชั่วโมง นั่นเป็นสัญญาณว่า ให้ไปโรงพยาบาลได้เลยค่ะ 

เนื่องจากมีแม่ท้องเพียงแค่ 10% ของทั้งหมด ที่จะมีอาการน้ำเดิน ดังนั้นหากมีอาการที่กล่าวไปข้างต้น ก็ให้รีบไปโรงพยาบาลได้เลยไม่ต้องรอ 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Active Labour Stage 

ไปต่อกันที่ Active Labour Stage เป็นระยะที่แม่ท้องน่าจะมีอาการเจ็บปวดที่สุดแล้ว โดยปากมดลูกของคุณแม่เปิดขยายได้ถึง 6 เซนติเมตร (อ้างอิงจาก the American College of Obstetricians and Gynecologists ACOG)

ในขั้นนี้การหดรัดตัวของมดลูกจะถี่ และรุนแรงมากขึ้น ทุก ๆ 3-4 นาทีเลยทีเดียว ในบางคนอาจมีอาการทุก ๆ 90 วินาที เมื่อถึงตอนนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกเจ็บจนทนไม่ไหว ให้ดึงความสนใจไปที่การกำหนดลมหายใจ เพื่อให้ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น 

ในแม่ตั้งครรภ์บางคนบอกว่าการเดินสามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดจากการหดรัดตัวของมดลูกได้ หรือ ถ้าโรงพยาบาลไหนมีห้องให้อาบน้ำ อาจจะลองใช้แรงดันน้ำจากฝักบัว เน้นไปที่ช่วงหลังล่าง เพื่อลดความรู้สึกไม่สบายตัวได้นะคะ 

 

Transitional Stage 

ในขั้นนี้ ปากมดลูกจะขยายตัวออกได้ถึง 8 เซนติเมตร และแน่นอนว่าคุณแม่อาจรู้สึกได้ถึงแรงเบ่งได้ในช่วงนี้ ความถี่ของการหดรัดตัวของมดลูกจะน้อยลง แต่แม่ท้องจะรู้สึกปวดมากกว่าเดิม แต่จะรู้สึกเจ็บปวดนานขึ้นในแต่ละครั้ง คุณแม่อาจจะรู้สึกปั่นป่วน หนาวสั่นไปหมด แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ ให้คุณแม่ตั้งสติและควบคุมการหายใจให้ดี เพราะลูกน้อยกำลังจะออกมาเจอหน้าคุณแม่แล้ว 

อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ ได้แก่ 

  • ความรู้สึกของมดลูกที่บีบรัดตัวที่นานขึ้น และรุนแรงขึ้นจนไม่มีเวลาให้พักหายใจ 
  • อาการปวดจนพูดไม่ออก 
  • ความเจ็บปวดจาก มดลูกหดรัดตัว กินเวลานานขึ้นในแต่ละครั้ง 
  • คุณแม่อาจมีอาการคลื่นไส้ ร้อนผ่าว หรือหนาวสั่น จนทนไม่ไหว

นี่คงเป็นขั้นตอนที่ท้าทายคุณแม่มากที่สุด เพราะเต็มไปด้วยความเจ็บปวด และความรู้สึกไม่สบายตัว แต่อดทนไว้อีกนิดเดียวเท่านั้น ลูกน้อยก็จะมาอยู่ในอ้อมอกของคุณแม่แล้วค่ะ 

บทความที่เกี่ยวข้อง: ความวิตกกังวลต่าง ๆ ก่อน การคลอดบุตร ที่คุณแม่ต้องรู้!

 

ระยะที่สอง : คลอด

ตอนนี้ปากมดลูกของคุณแม่ ก็จะเปิดออกอย่างเต็มที่ พร้อมที่จะคลอดแล้ว ถึงเวลาที่คุณแม่ต้องเบ่งแล้วล่ะ! คุณแม่อาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย 

  • อาการหดรัดตัวของมดลูก ที่นานขึ้น และรุนแรงขึ้น
  • รู้สึกได้ถึงแรงดันบริเวณช่วงล่าง
  • รู้สึกถึงแรงกระตุ้นให้เบ่งคลอด
  • คลื่นไส้ อยากอาเจียน หนาวสั่น 
  • รู้สึกได้ถึงความหน่วง ตึงบริเวณช่องคลอดเป็นอย่างมาก 

อาจจะยากสักหน่อยแต่อยากให้คุณแม่ พยายามเบนจุดสนใจไปที่การหายใจและพยายามพักในช่วงที่ไม่มีการหดรัดตัว จะช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกน้อยใกล้มาแล้ว!

คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงแรงกระตุ้นบางอย่าง ให้เบ่งคลอด แต่อย่าตื่นตระหนกไปค่ะ เมื่อถึงเวลานั้น คุณแม่เบ่งคลอดให้สุดแรงเลยนะคะ ในขั้นตอนนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกปวดเหมือนต้องไปเข้าห้องน้ำ นั่นแปลว่าหัวของลูกน้อยกำลังเคลื่อนตัวลงมาแล้ว คุณแม่จะรู้สึกเจ็บ ปวดแสบปวดร้อนหน่อย อดทนอีกนิดเดียวเท่านั้นค่ะ 

ในทุก ๆ ครั้งที่มีการบีบรัดตัวของมดลูก ตัวของลูกน้อยก็จะค่อย ๆ เคลื่อนที่ลงมาเรื่อย ๆ แรงเบ่งจะทำให้หัวของทารก เคลื่อนที่เจ้าใกล้อุ้งเชิงกรานของคุณแม่ และลงไปที่ช่องคลอดมากขึ้น 

และเมื่อทารกโผล่หัวออกมาให้เห็นแล้ว ให้คุณแม่หายใจเข้าลึก  ๆ แต่ไม่ต้องเบ่งแรงมากแล้วค่ะ เพราะเมื่อหัวของทารกโผล่ออกมาแล้วนั้น ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายจะตามออกมาอย่างรวดเร็ว ยินดีด้วยนะคะ ในที่สุดลูกน้อยของคุณแม่ก็ออกมาลืมตาดูโลกแล้ว คุณเองก็เป็นคุณแม่อย่างเต็มตัวแล้วนะคะ  

บทความที่เกี่ยวข้อง: ขั้นตอนคลอดลูก แบบคลอดเองและผ่าคลอด ขั้นตอนการคลอดลูก ที่แม่ท้องควรรู้

ระยะที่สาม : คลอดรก

คุณแม่อาจจะกำลังอุ้ม หรือให้นมลูกเป็นครั้งแรกอยู่ใช่ไหมคะ แต่กระบวนการคลอดยังไม่สิ้นสุดเพียงเท่านี้  ในขั้นตอนต่อไปที่จะเกิดขึ้นก็คือ คุณแม่จะทำการคลอดรก และพวกเยื่อหุ้มเซลล์ออกมาด้วยค่ะ 

ในขั้นตอนนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกหน่วง ๆ บริเวณช่องคลอดเล็กน้อย โดยรกและเยื่อหุ้มเซลล์ต่าง ๆ จะตามออกอย่างง่ายดาย เพียงแค่เบ่ง 1-2 ครั้งเบา ๆ แต่ในบางคนอาจใช้เวลาตั้งแต่ 5-30 นาทีเลยทีเดียวที่รกจะคลอดตามออกมา 

คุณหมอจะทำการตรวจเช็กให้ละเอียดอีกที ว่ารกคลอดออกมาหมดแล้วหรือยัง และนั่นคือตอนที่มดลูกของคุณจะบีบตัวเพื่อห้ามเลือดจากจุดที่รกหลุดออกจากมดลูก

การพักฟื้นหลังคลอด 

หลังจากเสร็จขั้นตอนการคลอดทั้งหมดแล้ว ลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลกแล้ว รกก็คลอดออกมาหมดแล้ว ต่อไปก็เป็นเวลาที่คุณแม่ได้พักจริง ๆ สักที และในตอนนี้ก็เป็นเวลาที่ดีที่สุด ที่คุณแม่จะเริ่มให้นมลูก เป็นตอนที่น้ำนมแม่จะอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย เหมือนวัคซีนเข็มแรกให้ลูกน้อยได้เลยค่ะ อีกทั้งยังช่วยให้ร่างกายของคุณแม่ ฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ ขั้นตอนคลอดลูก กว่าจะได้เป็นแม่คน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมคะ ไหนจะต้องอดทนกับความไม่สบายตัว หรืออาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ระหว่างที่ตั้งครรภ์ หรือต้องทนกับอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นก่อนที่จะคลอด คุณแม่ของเราเก่งมากแล้วจริง ๆ ค่ะ 

 

สนใจแพ็กเกจคลอดเหมาจ่าย คลิกที่นี่

ห้องพักคุณแม่หลังคลอด โรงพยาบาลบีเอ็นเอช คลิกที่นี่

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลบีเอ็นเอช

แผนกสูตินรีเวช โทร 02-022-0788, 02-022-0850

LINE: @BNHhospital

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เกิดจากอะไร และมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง

วิธีเบ่งลูก เบ่งคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี กับเทคนิคการหายใจ หญิงตั้งครรภ์ ก่อนคลอด

พาลูกกลับบ้านหลังคลอด เตรียมตัวอย่างไร มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง?

ที่มา : theasianparent

บทความโดย

Sirapatsorn Khotchpoom