ลักษณนาม แต่ละอย่างใช้อย่างไร มีคำไหนบ้างที่เราควรรู้!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มารู้จักคำลักษณนามกันเถอะ ลักษณนาม ที่เรามักพบในชีวิตประจำวัน บางครั้งเราก็ใช้ผิดโดยไม่รู้ตัว สำหรับน้อง ๆ คนไหนกำลังหาตัวอย่างคำลักษณนาม วันนี้ theAsianparent ได้รวบรวมมาไว้ให้แล้ว มาดูกันว่าลักษณนามคืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ชนิด และมีคำไหนที่เราควรรู้บ้าง ไปดูกันค่ะ

 

ลักษณนาม คืออะไร

คำลักษณนาม หรือลักษณนาม คือ คำนามที่บ่งบอกถึงลักษณะคำนามที่วางไว้ข้างหน้า เพื่อใช้แสดงให้เราเข้าใจถึงประเภท ชนิด และลักษณะของสิ่งของต่าง ๆ ให้ชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสิ่งของต่าง ๆ มักมีลักษณนามที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ปากกา ที่เป็นอุปกรณ์สำหรับขีดเขียนตัวอักษร มีคำลักษณนาม คือ ด้าม กรรไกร ที่เป็นอุปกรณ์สำหรับการตัดหรือทำให้ขาด มีลักษณนาม คือ เล่ม เป็นต้น

 

ชนิดของลักษณนาม

โดยทั่วไปแล้ว คำลักษณนามมักแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังต่อไปนี้

 

1. ลักษณนามบอกชนิด

  • พระพุทธรูป ใช้ลักษณนามว่า องค์
  • พระพุทธเจ้า เทวดา พระราชา เจ้านายชั้นสูง ใช้ลักษณนามว่า พระองค์
  • ภิกษุ สามเณร นักพรต ชี และชีปะขาว ใช้ลักษณนามว่า รูป
  • ฤๅษี ผี ยักษ์ ภูต และปีศาจ ใช้ลักษณนามว่า ตน
  • มนุษย์ คน ใช้ลักษณนามว่า คน
  • ขลุ่ย และปี่ ใช้ลักษณนามว่า เลา
  • ใบไม้ และภาชนะบางชนิด ใช้ลักษณนามว่า ใบ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ลักษณนามบอกหมวดหมู่

  • คนหรือสัตว์ที่อยู่รวมกันหมู่มาก ใช้ลักษณนามว่า พวก เหล่า ฝูง
  • นักบวชที่นับถือศาสนาเดียวกัน หรือคนละศาสนา ใช้ลักษณนามว่า นิกาย
  • ทหาร และของที่วางรวมกัน เช่น หิน ทราย หรืออิฐ ใช้ลักษณนามว่า กอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 50 คำศัพท์ภาษาไทย ที่คนไทยมักเขียนผิด และลูกควรเรียนรู้ไว้ก่อน

 

 

3. ลักษณนามบอกสัณฐาน

  • สิ่งของที่แบน เช่น กระดาน กระดาษ หรือกระเบื้อง ใช้ลักษณนามว่า แผ่น
  • สิ่งของที่กลม เช่น แหวน หรือกำไล ใช้ลักษณนามว่า วง
  • สิ่งของที่ยาว เช่น ดินสอ เหล็ก หรือตะกั่ว ใช้ลักษณนามว่าแท่ง
  • สิ่งของที่เป็นเส้นยาว เช่น ด้าย ลวด หรือเชือก ใช้ลักษณนามว่า เส้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ลักษณนามบอกจำนวน และมาตรา

  • จำนวนสิ่งของที่เท่ากับ 2 ใช้ลักษณนามว่า คู่
  • จำนวนสิ่งของที่เท่ากับ 12 ใช้ลักษณนามว่า โหล
  • สกุลเงินต่าง ๆ เช่น บาท เปโซ ดอลลาร์ ยูโร และปอนด์
  • หน่วยวัดต่าง ๆ เช่น กิโลกรัม กิโลเมตร และมิลลิกรัม

 

5. ลักษณนามบอกอาการ

  • สิ่งของที่ม้วนจนมีขนาดยาว ใช้ลักษณนามว่า ม้วน
  • สิ่งของที่มัดรวมกันเป็นก้อน ใช้ลักษณนามว่า มัด

บทความที่เกี่ยวข้อง : คำราชาศัพท์ หมวดเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ตัวอย่างคำลักษณนาม

หลายครั้งที่เรามักใช้ลักษณนามผิดบ่อย ๆ จนทำให้เกิดความสับสนในการเรียกสิ่งของต่าง ๆ เรามาดูลักษณนามที่มักพบในชีวิตประจำวันกันค่ะ

ตัวอย่างคำลักษณนามที่พบได้บ่อย

ลักษณนาม ตัวอย่าง
วง แหวน วงกลม ตะกร้อ สักวา มโหรี เพลง
แผ่น ขนมปัง กระดาษ กระดาน กระเบื้อง อิฐ
ผืน ผ้า เสื่อ พรม กระแชง หนังสัตว์ (ที่ใช้ปู) ธง
บาน ประตู หน้าต่าง กระจกเงา กรอบรูป
ใบ บัตรประจำตัว ถาด จาน
แท่ง เหล็ก ตะกั่ว ดินสอ ทอง ครั่ง
ก้อน สบู่ ถ่าน อิฐ เนื้อ
ต้น ส้ม เสา ซุง เทียนพรรษา
ลำ ไม้ไผ่ อ้อย เครื่องบิน จรวด เรือ
เส้น เชือก ลวด ด้าย ผม สร้อย เข็มขัด
กอง ลูกเสือ อิฐ ทราย ผ้าป่า
ฝูง วัว ควาย ปลา นก
โขลง ช้าง
สำรับ กระดุม กับข้าว เครื่องเรือน เครื่องแต่งกาย
ชุด เครื่องแต่งกาย การแสดง ข้อสอบ
แบบ ทรงผม เครื่องแต่งกาย ตัวอักษร ตัวพิมพ์
ฉบับ จดหมาย เอกสาร นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์
คู่ รองเท้า ถุงเท้า แจกัน เชิงเทียน ช้อน ส้อม เขาสัตว์
โหล ดินสอ สมุด ไม้หนีบผ้า ของใช้
กล่อง นม ของขวัญ
มัด ฟืน ข้าวต้มผัด อ้อย ไม้รวก
ม้วน ผ้า กระดาษ ผ้า กระดาษ แพร ริบบิ้น ฟิล์ม เชือก
พับ ผ้า กระดาษ
องค์ เจดีย์ พระทนต์ พระบรมราโชวาท
รูป ภิกษุ สามเณร ชี
ตัว สุนัข แมว โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง
ใบ ส้ม ตู้ หม้อ กระโถน ตุ่ม หมอน
สิ่ง กับข้าว ของ สิ่งของ
อัน ไม้บรรทัด คีม แปรงสีฟัน ที่เขี่ยบุหรี่
เล่ม หนังสือ เกวียน เทียน เข็ม กรรไกร สิ่ว ดาบ ขวาน หอก

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ตอนนี้น้อง ๆ ก็คงเข้าใจลักษณนามกันมากขึ้นแล้ว เชื่อว่าต่อไปทุกคนคงจะเรียกสิ่งของ หรือผู้คนกันได้ถูกต้องมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ลักษณนามบางคำ อาจใช้กับสิ่งของหลายสิ่ง หรือหลายคน ดังนั้นอย่าจำสับสนกันนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คำราชาศัพท์ หมวดพระสงฆ์ คำศัพท์เพื่อการเรียนรู้

คำพ้อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง ในภาษาไทยคืออะไร มาเรียนรู้กัน!

รวม 52 คำทับศัพท์ภาษาไทย ใช้กันเยอะ ใช้กันบ่อย เขียนถูกหรือเปล่า?

ที่มา : 1, 2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sittikorn Klanarong