สอนลูกพูด ยังไงดี? 9 วิธีสอนลูกพูด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา

lead image

พัฒนาการทางด้านภาษาและการสื่อสารของลูกน้อย พ่อแม่สามารถช่วยฝึกได้ค่ะ มาดูเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยเสริมทักษะการพูดของลูกกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“คำพูดแรก” ของลูกน้อย น่าจะเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนเฝ้ารอ ลูกจะเรียก “พ่อ” หรือ “แม่” ได้ก่อนกันนะ หรือคำพูดคำแรกจะเป็นคำอื่นๆ ลูกจะเริ่มพูดได้ตอนไหน แล้วพ่อกับแม่อย่างเราจะ สอนลูกพูด ยังไงดี? ให้ทักษะภาษาของลูกเติบโตได้ตามวัย พัฒนาได้เต็มศักยภาพ เรามี 9 วิธีสอนลูกพูด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา มาฝากค่ะ

สอนลูกพูด ยังไงดี?

ลูกจะเริ่มพูดได้ตอนไหน สอนลูกพูด ยังไงดี?

พัฒนาการด้านการสื่อสารของเด็กนั้นจะเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงวัยทารกค่ะ โดยเริ่มจากการแสดงออกผ่านเสียง หรือการส่งสัญญาณทางร่างกาย เช่น การร้องไห้ การยิ้ม หรือการสบตา แต่การพูดคำแรกๆ จะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งปกติแล้ว ลูกน้อยจะพูดคำที่มีความหมายได้คำแรกเมื่ออายุประมาณ 1 ปี โดยการพยายามเลียนแบบเสียงจากคุณพ่อคุณแม่และสภาพแวดล้อมที่พบเจอ โดยจะพูดคำที่ออกเสียงง่ายๆ ได้ก่อน เช่น หม่ำๆ ปาป๊า มาม้า แม่ และจะพูดได้ 2-3 คำติดกันเมื่ออายุประมาณ 2 ขวบค่ะ

พัฒนาการทางภาษาของลูกน้อยแต่ละวัย

วัยแรกเกิด – 3 เดือน
  • ลูกน้อยจะเริ่มส่งเสียงร้องเพื่อสื่อสารความต้องการ เช่น หิว ง่วง หรือไม่สบายตัว
  • เริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ (cooing) เมื่อรู้สึกสบายใจ
  • ใช้ปากทำเสียงต่างๆ ที่ไม่มีความหมาย
  • ใช้โทนเสียงในการร้องไห้ที่ต่างกัน เพื่อแสดงความต้องการที่ต่างกัน
4 – 6 เดือน
  • เริ่มส่งเสียงเล่น (babbling) เช่น “มา มา” “ปา ปา”
  • เริ่มเข้าใจคำง่ายๆ เช่น ชื่อตัวเอง
  • สามารถตอบสนองต่อการเรียกชื่อด้วยการหันไปหาที่มาของเสียง
  • เริ่มตอบสนองต่อของเล่นที่มีเสียงและเสียงดนตรี
วัย 7 – 12 เดือน
  • เริ่มเข้าใจคำสั่งง่ายๆ เช่น “บ๊ายบาย”
  • สื่อสารด้วยการออกเสียงคำที่คุ้นเคยพร้อมแสดงท่าทางประกอบ
  • เข้าใจการสื่อสารด้วยประโยคง่ายๆ เช่น มาหาคุณแม่หน่อย
  • มีการเลียนแบบเสียงของพ่อแม่โดยมักใช้คำพยางค์เดียว แต่การออกเสียงจะยังไม่ชัดเจน
1 ขวบ – 1 ขวบครึ่ง 
  • เริ่มพูดคำง่ายๆ และออกเสียงได้อย่างชัดเจน
  • สามารถจดจำชื่อของคนอื่น ๆ ในครอบครัว
  • รู้จักอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
  • สามารถตอบสนองต่อคำขอหรือคำสั่งของคุณพ่อคุณแม่ได้
อายุ 1 ขวบครึ่ง – 2 ขวบ
  • เริ่มพูดคำศัพท์ได้มากขึ้น การใช้คำเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น
  • มีคำศัพท์ที่รู้จักประมาณ 50-80 คำ
  • เริ่มพูดวลีสั้นๆ 2-3 คำ สื่อสารด้วยการใช้คำที่มีความหมายมาเรียงต่อกัน
  • เข้าใจประโยคหรือคำสั่งที่ซับซ้อนมากขึ้น
ช่วง 2 – 3 ขวบ 
  • เริ่มพูดประโยคที่ซับซ้อนขึ้น
  • เริ่มถามคำถาม
  • ในช่วงวัยนี้ลูกจะสามารถสื่อสาร โต้ตอบ หรือร้องขอด้วยวลีหรือประโยคสั้น ๆ

 

ทั้งนี้ หากลูกน้อยมีพัฒนาการทางด้านการสื่อสารที่ช้ากว่าปกติ เช่น ไม่ตอบสนองต่อเสียงในช่วง 10 เดือนแรก ไม่เข้าใจคำสั่งหรือไม่พูดคำแรกในช่วง 15 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุนะคะ เนื่องจากการพูดช้าหรือพัฒนาการทางด้านการสื่อสารที่ช้าในเด็กทารก อาจมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรม การได้ยินบกพร่อง ภาวะออทิสติก หรือขาดการฝึกพูดและการกระตุ้นอย่างเหมาะสมค่ะ

สอนลูกพูด ยังไงดี? 9 วิธีสอนลูกพูด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา

แม้คุณพ่อคุณแม่จะเห็นชัดเจนว่าพัฒนาการทางภาษา การออกเสียง และการพูดของลูก เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงวัยทารก แต่ความจริงแล้วคุณพ่อคุณแม่สามารถ สอนลูกพูด ได้ตั้งแต่ที่ลูกยังอยู่ในท้องได้เลยนะคะ ซึ่ง วิธีสอนลูกพูด ตั้งแต่ในครรภ์ก็คือการเริ่มพูดคุยกับลูกในท้องผ่านการลูบท้องที่กำลังโตขึ้น แล้วส่งข้อความสื่อสารกับลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งการพูดคุยในรูปแบบนี้จะทำให้ทารกสามารถจดจำและเรียนรู้เสียงของคุณแม่ได้ตั้งแต่ในท้องเลยค่ะ

ส่วนเมื่อลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว สอนลูกพูด ยังไงดี? ก็ขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่เสริมพัฒนาการทางภาษาของลูก โดยใช้ วิธีสอนลูกพูด ดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. พูดคุยกับลูกบ่อยๆ ด้วยคำศัพท์ที่ง่ายและชัดเจน

การพูดคุยกับลูกตั้งแต่ทารกช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาได้ แม้ลูกยังไม่สามารถพูดกลับได้ แต่การฟังเสียงและการสังเกตท่าทางของพ่อแม่จะช่วยให้ลูกน้อยค่อยๆ เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นช่วงกำลังอาบน้ำ แต่งตัว หรือกินอาหาร โดยใช้คำศัพท์ที่ง่าย แต่หลากหลาย และพูดให้ชัดเจน เช่น คำว่า “น้ำ”, “กิน”, “มามา” จะช่วยให้ลูกเข้าใจและพูดตามได้ค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ตอบสนองการสื่อสารของลูก

แม้ทารกจะยังไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูดเป็นคำหรือเป็นประโยคได้ แต่หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นได้ว่าลูกน้อยพยายามแสดงสีหน้าและท่าทางต่างๆ กับคนรอบข้าง ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจสารที่ลูกน้อยส่งมา ก็ควรตอบสนองกลับการสื่อสารของลูกแม้ว่าจะไม่มีเสียงโต้ตอบกลับมาก็ตาม เช่น กรณีลูกน้อยทำท่าอุ้ม หรือชี้ อาจลองพูดกับลูกด้วยประโยคง่ายๆ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยเข้าใจวิธีในการสื่อสารมากขึ้น เช่น อยากได้อันนี้ใช่มั้ยจ๊ะ หรือ อยากให้พ่ออุ้มใช่ไหมลูก

  1. สอนลูกพูด ด้วยการชวนกันอ่านนิทาน

การอ่านนิทาน หนังสือภาพ หรือหนังสือสำหรับเด็ก จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ กระตุ้นพัฒนาการทางภาษา พัฒนาทักษะการฟัง รวมถึงเสริมสร้างช่วยเสริมจินตนาการได้ด้วย โดยลูกน้อยจะเรียนรู้คำศัพท์และประโยคต่างๆ ได้เป็นอย่างดีจากเรื่องราวและรูปภาพในหนังสือนิทาน ซึ่งระหว่างการอ่านนิทานร่วมกันคุณพ่อคุณแม่ควรชี้ชวนให้ลูกดูรูปภาพ และตั้งถามคำถามง่ายๆ เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง เช่น

  • “เห็นนั่นไหมลูก เด็กคนนั้นทำอะไรอยู่จ๊ะ” เพื่อถามความคิดเห็นของลูก แม้ว่าจะไม่สามารถโต้ตอบออกมาเป็นคำได้ก็ตาม
  • ใช้การอธิบายลักษณะและรายละเอียดสิ่งของ ฉากประกอบในนิทาน เช่น ขนาด สี รูปร่าง รูปทรง หรือผิวสัมผัส ก็จะช่วยให้ลูกน้อยเข้าใจได้มากขึ้น

 

  1. สอนลูกพูด โดยใช้เสียงเพลงเป็นตัวช่วย

การใช้เพลง ดนตรี อาจช่วยให้การฝึกพูดระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยมีสีสันน่าสนใจมากยิ่งขึ้นค่ะ ซึ่งปัจจุบันมีเพลงเสริมทักษะทางด้านการพูดและการฟังอยู่มากมายที่สามารถเข้าถึงง่าย โดยเสียงเพลงและการร้องเพลงจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้เสียงหลากหลายรูปแบบ ได้เรียนรู้คำศัพท์ไปพร้อมๆ กัน แต่ดนตรีและเพลงที่ผ่านสื่อตัวกลางอย่างแท็บเล็ต หรือหน้าจออื่นๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการของลูกได้เมื่อใช้มากเกินไป ดังนั้น ควรจำกัดการใช้สื่อเหล่านี้อย่างใกล้ชิด และเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาที่อาจกระทบต่อพัฒนาการลูกน้อยในอนาคตนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้

หนึ่งใน วิธีสอนลูกพูด ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามคือ การจัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้ลูกอยากพูด และสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการสื่อสารค่ะ เช่น มีของเล่น หนังสือนิทาน การ์ดคำศัพท์ หรือรูปภาพต่างๆ ที่ปราศจากหน้าจอ มีการตั้งคำถามผ่านสิ่งแวดล้อมรอบตัวเหล่านี้ ที่ลูกสามารถตอบได้ แม้จะเป็นการตอบด้วยการชี้หรือการทำท่าทาง รวมทั้งพูดคุยกับลูกในทุกโอกาสและสม่ำเสมอ เหล่านี้เป็นกิจวัตรประจำวันง่ายๆ ที่ช่วยส่งเสริมทักษะภาษาและการสื่อสารแก่ลูกน้อยได้ค่ะ

  1. เล่นบทบาทสมมติ

โดยปกติลูกน้อยมักจะเรียนรู้การพูดจากการเลียนแบบอยู่แล้วค่ะ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถ สอนลูกพูด ผ่านการทำท่าทางหรือเสียงที่เป็นส่วนหนึ่งของคำพูด การเล่นบทบาทสมมติ เช่น การเลียนเสียงสัตว์ หรือทำท่าเลียนแบบสัตว์ต่างๆ จะช่วยให้ลูกได้ใช้ภาษาในการสื่อสาร ฝึกการใช้จินตนาการ และสนุกกับการพูดมากขึ้นค่ะ

  1. ใช้น้ำเสียงให้ตรงกับสถานการณ์

โทนเสียง หรือน้ำเสียงในการสื่อสาร หรือแม้แต่การเล่าเรื่อง ล้วนมีผลต่อการทำความเข้าใจในประโยคต่างๆ ของลูกน้อยได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นประโยคคำถาม ประโยคคำสั่ง รวมไปถึงการเลียนเสียงสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ก็จะช่วยให้ลูกน้อยเข้าใจการออกเสียงและเรียนรู้เสียงต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ตรงความหมายมากขึ้นค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

  1. ฟังลูกอย่างตั้งใจ และให้คำชม

ในช่วงที่ลูกเริ่มฝึกพูด หากลูกพูดไม่ชัดเจน หรือพูดผิด อย่าเพิ่งรีบแก้ไขค่ะ แต่ให้ฟังอย่างตั้งใจ และตอบสนองในสิ่งที่ลูกต้องการจะสื่อสาร เพื่อให้ลูกรู้ว่าคำพูดของตัวเองมีความหมาย นอกจากนี้ ควรชมเชยเมื่อลูกพูดได้ดี เพราะคำชมเป็นแรงเสริมที่จะช่วยสนับสนุนให้ลูกน้อยพูดได้ถูกต้องมากขึ้น อยากพัฒนาการพูดมากขึ้น ดังนั้น เมื่อลูกสามารถพูดประโยคยากๆ หรือเรียงประโยคและใช้คำได้อย่างถูกต้อง ลองมอบคำชม พร้อมรอยยิ้มและอ้อมกอดเพื่อเป็นกำลังใจ ที่จะช่วยให้ลูกเริ่มจดจำวิธีในการใช้คำที่ถูกต้องนะคะ

 

  1. ส่งเสริมการเข้าสังคม ให้ลูกน้อยมีเพื่อน

การสื่อสารกับคนใกล้ชิดอาจช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะภาษาได้ในระดับหนึ่งค่ะ แต่การพาลูกน้อยออกไปพบเจอกับเพื่อนใหม่บ้าง จะเป็นการเปิดโลกการสื่อสารที่กว้างมากขึ้น ช่วยให้ลูกได้เรียนรู้วิธีการสื่อสารกับคนอื่นๆ ที่ไม่ใช้แค่คนใกล้ชิด ซึ่งอาจช่วยให้ลูกได้เตรียมตัวสำหรับการเข้าสังคม เตรียมความพร้อมในการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการ สอนลูกพูด ได้ด้วยค่ะ

พัฒนาการทางภาษาของเด็กแต่ละคนแตกต่างกันนะคะ หากลูกน้อยมีพัฒนาการช้ากว่าเกณฑ์ ยังไม่ต้องกังวลมากจนเกินไปค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของลูกน้อยด้วยความรัก ความเข้าใจ และความอดทน ผ่านการพูดคุย อ่านนิทาน ร้องเพลง และเล่นเกมสนุกๆ ฝึกทักษะกับลูกบ่อยๆ จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่สมวัย และพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในอนาคตแน่นอน อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัยหรือมีความกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของลูก ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กนะคะ

 

 

ที่มา : www.pobpad.com , healthsmile.co.th

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทารกได้ยินตอนไหน การได้ยินของทารกเริ่มเมื่อไหร่ กระตุ้นการได้ยินอย่างไร

ทารก 6 เดือน กินอะไรได้บ้าง ? เริ่มต้นอาหารตามวัยอย่างปลอดภัย ได้ประโยชน์ครบ!

ลูกชอบทำอะไรซ้ำๆ ปกติมั้ย? แบบไหน มีภาวะเสี่ยงออทิสติก!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

จันทนา ชัยมี