แม่ท้องอาบน้ำอุ่น ได้ไหม? การอาบน้ำอุ่นระหว่างตั้งครรภ์จะมีผลอะไรหรือไม่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไม่มีอะไรที่ผ่อนคลายไปกว่าการอาบน้ำอุ่นในวันที่ยาวนาน การอาบน้ำอุ่นนั้นเป็นยาลดความเครียดและเป็นการผ่อนคลายจิตใจและร่างกายของคุณ ความรู้สึกของการได้อาบน้ำอุ่นตอนตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ผ่อนคลายจริง ๆ แต่แม่ท้องหลายคนก็กำลังกังวลอยู่ว่า แม่ท้องอาบน้ำอุ่น ได้ไหม มันจะปลอดภัยสำหรับแม่ท้องหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก

 

แม่ท้องอาบน้ำอุ่น ได้ไหม

การอาบน้ำอุ่นนั้นทำได้ แต่น้ำไม่ควรร้อนเกินไป น้ำควรร้อนจนถึงอุณหภูมิร่างกายของคุณเป็น 102 ° F นานกว่า 10 นาที การอาบน้ำในน้ำร้อนมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างเช่น

  • อาจทำให้ความดันโลหิตลดลงซึ่งสามารถกีดกันทารกของออกซิเจนและสารอาหารและสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด
  • แนะนำว่าการอาบน้ำร้อนโดยเฉพาะในไตรมาสแรกจะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดข้อบกพร่องเช่นรู้สึกวิงเวียนและอ่อนแอเล็กน้อย
  • แม่ท้องอาจจะเจอภาวะที่ร่างกายดูดซับความร้อนได้มากกว่าเดิม

ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำด้วยน้ำร้อนจัด นั่นเป็นเหตุผลที่ซาวน่า อ่างน้ำอุ่น หรือห้องอบไอน้ำ ถือว่าไม่ปลอดภัยในระหว่างการตั้งครรภ์ แต่แม่ท้องนั้นควรเลือกอาบน้ำอุ่นที่ไม่ร้อนจัด และไม่ควรเลือกอาบน้ำอุ่นนาน

พยายามทำให้อุณหภูมิของน้ำอุ่นเอาพอสบาย แม่ท้องไม่ควรมีเหงื่อหรือผิวของแม่ท้องไม่ควรเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่ออยู่ในอ่างอาบน้ำแล้วร่างกายเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง ควรจะรีบออกจากอ่างทันทีและปล่อยให้น้ำเย็น ในขณะที่อาบน้ำอุ่น ฟองน้ำและสบู่จำพวกเกลือ สามารถมีความเปลี่ยนเป็นกรดได้และอาจจะทำให้ช่องคลอดเกิดการติดเชื้อ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 4 ความเชื่อเรื่องการอาบน้ำของคนท้อง อาบกลางคืน อาบน้ำอุ่นอันตรายจริงไหม

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเปลี่ยนแปลงเมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

  • ปัสสาวะบ่อย

ในช่วงปลายไตรมาสแรกคุณจะรู้สึกอยากปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากมดลูกที่โตขึ้นดันไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ คุณอาจปัสสาวะรั่วเล็กน้อยเมื่อไอหรือจาม รวมถึงมีเส้นเลือดขอด ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อตั้งครรภ์ที่คุณแม่หลายคนเจอ คือ มีเส้นเลือดขอดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ซึ่งเชื่อว่าอาจเกิดจากการที่คุณแม่มีเส้นเลือดขอดที่ยังไม่แสดงอาการอยู่เดิม แต่ด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดดำบางลงจนมีอาการอย่างชัดเจน อีกประการหนึ่งก็เชื่อว่ามดลูกที่มีขนาดและน้ำหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจกดทับบนหลอดเลือดดำใหญ่ซึ่งอยู่ในช่องท้อง ทำให้เลือดดำไม่สามารถกลับสู่หัวใจได้เต็มที่จึงเกิดการคั่งของเลือดอยู่บริเวณขาและเท้า และแสดงอาการออกมาชัดเจนระหว่างการตั้งครรภ์

 

  • ผิวหนัง

สีผิวคล้ำขึ้นกว่าปกติ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนที่กระตุ้นเมลานิน (serum melanin stimulating hormone) ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) พบได้ประมาณ ร้อยละ 90 ของหญิงตั้งครรภ์ โดยผิวหนังบริเวณลานนม อวัยวะเพศ ดำคล้ำขึ้น และเส้นขาวกลางหน้าท้องก็กลายเป็นเส้นสีดำ (linea nigra) แต่รอยดำจะจางลงหลังคลอด

 

  • หน้าท้องแตกลาย

รอยแตกของผิวหนัง พบได้บ่อยมากกว่าครึ่งหนึ่งของสตรีตั้งครรภ์ มักเกิดบริเวณท้อง เต้านม ก้นและต้นขา ลักษณะเป็นแนวเส้นสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นสีเงินจาง ๆ ตอนหลังคลอด เป็นลักษณะที่เรียกว่า ท้องลาย (stretch mark)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท้องแตกลาย ท้องลายทำไงดี วิธีแก้ท้องลาย ทำได้ง่าย ๆ ให้กลับมามีหน้าท้องสวย

 

 

  • เส้นผม

เส้นผม หรือขนขึ้นมากผิดปกติ หรือขึ้นผิดตำแหน่ง มักพบบริเวณหน้า และอาจพบได้ที่แขน ขา และหลัง อาการจะหายไป 6 เดือนหลังคลอด นอกจากนี้บางราย อาจผมร่วงจากความผิดปกติของฮอร์โมน มักพบลักษณะการร่วงที่บริเวณเหนือขมับ โดยหลังคลอดแล้ว อาการมักหายเป็นปกติ หรืออาจไม่หายก็ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • เล็บ

พบการเปลี่ยนแปลงของเล็บได้หลายแบบ เช่น เกิดร่องตามขวางของเล็บ ส่วนปลายของเล็บยก เนื้อใต้เล็บหนาขึ้น และเล็บยาวเร็วขึ้น

 

  • เต้านม

เมื่อทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงเมื่อตั้งครรภ์ ของเต้านม คือ จะเริ่มเจ็บ ๆ คัด ๆ ตึง ๆ หน้าอก เพราะหน้าอกกำลังเริ่มขยายซึ่งสามารถเปลี่ยนขนาดขยายขึ้น

  • เดือนแรก ส่วนของท่อน้ำนมจะแตกตัวขึ้น รวดเร็วอย่างมาก ท่อน้ำนมจะเจริญไปจนถึงส่วนปลาย และกลีบต่อมน้ำนมที่เป็นตุ่มเล็ก ๆ ก็จะเริ่มขยายตัวตามมากขึ้น
  • เดือนที่สอง เต้านมจะใหญ่ขึ้นชัดเจน สีของวงปานนมจะเริ่มเข้ม คล้ำขึ้น
  • เมื่อเลย 4 เดือนไปแล้ว กลีบต่อมน้ำนมจะเริ่มขยายและมีเซลล์ต่อมน้ำนมเกิดขึ้นชัดเจน ต่อมน้ำนมจะสร้างน้ำคัดคลั่งที่เป็นสีใสขุ่น แต่ยังไม่เป็นสีน้ำนม ซึ่งน้ำคัดหลั่งนี้อุดมด้วยสารภูมิต้านทานและเซลล์เม็ดเลือด และไขมัน ซึ่งเราเรียกว่า คอลอสตรัม (colostrum)
  • เมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 6 เดือน ต่อมน้ำนมจะขยายเพิ่มขึ้น มีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นจนเห็น เส้นเลือดดำใต้ผิวหนังขยาย รวมทั้งมีเซลล์กล้ามเนื้อรอบ ๆ ท่อน้ำนมหนาตัวขึ้น เพื่อพร้อมให้นมลูกต่อไป น้ำคัดหลั่งคอลอสตรัมก็จะเพิ่มจำนวน ถ้าบีบหัวนมจะมีน้ำขุ่น ๆ ไหลออกมาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการคัดเต้านมของคนท้อง เกิดจากอะไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 12

 

 

  • ช่องคลอด

เยื่อบุช่องคลอดของคุณจะหนาขึ้น ช่องคลอดมีการยืดขยายของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทำให้ผนังช่องคลอดหนาขึ้น ยาวขึ้น นุ่มลง มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ทำให้มีสีคล้ำเรียกว่า Chadwick’s sign อาจมีตกขาวมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปกติระหว่างตั้งครรภ์ เพราะฮอร์โมนจะเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิงจะสูงขึ้นกว่าปกติ แต่หากตกขาวแล้วมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น คันบริเวณช่องคลอด ปัสสาวะแสบขัด ควรรีบไปพบแพทย์ อาจมีการติดเชื้อบริเวณช่องคลอด

 

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น

ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ ของคนไทยควรเพิ่มประมาณ 12-15 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นกับน้ำหนักและรูปร่างก่อนการตั้งครรภ์ โดยในไตรมาสที่ 1 การเจริญเติบโตของทารกยังน้อย ประกอบกับยังเป็นช่วงที่มีอาการแพ้ท้อง การเปลี่ยนแปลงของร่างกายยังไม่มากนัก น้ำหนักอาจจะคงที่หรือเพิ่มเพียง 1-2 กิโลกรัม ส่วนในไตรมาสที่ 2 และ 3 นั้น การตั้งครรภ์ที่มีความคืบหน้าไปมากขึ้น น้ำหนักควรจะเพิ่มขึ้นได้ ประมาณไตรมาสละ 5 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดนี้ เป็นจากตัวทารกประมาณ 3 กิโลกรัม รก และ น้ำคร่ำประมาณ 3-5 กิโลกรัม ส่วนที่เหลือจะเป็นน้ำหนักจากการขยายตัวของมดลูก เต้านม และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หน้าท้องใหญ่ขึ้น

การเปลี่ยนแปลงเมื่อตั้งครรภ์ อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว ที่หน้าท้องจะต้องโตขึ้น ขยายขึ้น เมื่อทารก และมดลูกขยายใหญ่ขึ้น แต่หน้าท้องจะขยายขึ้นมากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับสรีระ รูปร่างก่อนตั้งครรภ์ด้วย บางคนอาจไม่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้นมาก จนกว่าจะถึงไตรมาสที่สอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ขนาดท้องคนท้อง บ่งบอกอะไรได้บ้าง ทำไมคนท้องแต่ละคนมีขนาดท้องไม่เท่ากัน

 

 

  • ระบบทางเดินหายใจ

มดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุครรภ์ จะเบียดดันให้ลำไส้ในช่องท้องเคลื่อนหลบมาทางด้านบน บริเวณใต้กะบังลม กะบังลมที่ถูกเบียดจะทำให้รู้สึกหายใจอึดอัด โดยเฉพาะเวลานอน แต่ปอดยังคงความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซได้เหมือนเดิม โดยปรับปริมาณอากาศขณะหายใจเข้าและออกและอัตราการหายใจอย่างเหมาะสม

 

  • กระดูกและโครงร่าง

มดลูกที่ขยายขนาดขึ้นพร้อมกับทารกและส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น มีผลต่อน้ำหนักตัวหญิงตั้งครรภ์ที่มากขึ้น การเพิ่มของน้ำหนักที่ท้อง คือ ส่วนด้านหน้าของร่างกาย ทำให้สมดุลของร่างกายในแนวหน้า-หลังเสียไป ลำตัวจะถูกโน้มมาทางด้านหน้ามากขึ้นตามน้ำหนักที่ถ่วงทางด้านหน้า ร่างกายจะมีการปรับแนวแกนกระดูกสันหลังเพื่อรักษาสมดุลใหม่ไปทางด้านหลังเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาแนวร่วมของร่างกายไม่ให้ล้มไปทางด้านหน้า เมื่อมองจากทางด้านข้างจะเป็นเหมือนการเอนส่วนบนของร่างกายไปทางด้านหลังเพิ่มขึ้นใน ลักษณะการยืนแอ่น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อได้

 

คราวนี้คุณแม่ก็คงรู้แล้วว่า แม่ท้องอาบน้ำอุ่น ได้ไหม ดังนั้นหากคุณแม่อยากอาบน้ำอุ่นก็ควรอาบน้ำที่ไม่ร้อนจัด และไม่ควรอาบน้ำอุ่นนาน ๆ รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการเข้าซาวน่า ห้องอบไอน้ำ หรือแช่อ่างน้ำอุ่นด้วย เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องกินน้ำร้อนได้ไหม แม่ท้องกินน้ำอุ่นจะเป็นอันตรายหรือเปล่า?

10 ครีมอาบน้ำ ผิวแห้ง เติมความชุ่มชื้น ฟื้นบำรุงผิวให้เนียนนุ่ม ไม่แห้งกร้าน

แม่หลังคลอดห้ามแช่น้ำ จริงหรือไม่ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 84

บทความโดย

bossblink