เช็กลิสต์อาการที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง

ร่างกายของคุณแม่ท้องที่ค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงไปตลอด 9 เดือนนั้น จะต้องพบกับสัญญาณอาการของคนท้องหลายรูปแบบ และเพื่อให้คุณแม่สามารถรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ จึงได้นำเช็กลิสต์อาการที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์ มาฝากกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์

เมื่อคุณผู้หญิงทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์นั้น ก็เป็นที่แน่นอนว่า ร่างกายนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก วันนี้ เรามี เช็กลิสต์ อาการที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์ มาฝากว่าที่คุณแม่กันค่ะ ไปดดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

6 สัญญาณอาการเปลี่ยนแปลงที่พบบ่อยของคุณแม่ตั้งครรภ์

1. อาการแพ้ท้อง (Morning Sickness) เป็นอาการที่คุณแม่จะรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งในคุณแม่ท้องส่วนใหญ่มักมีอาการแพ้ท้องเกิดขึ้นในช่วงเช้า โดยอาการแพ้ท้องจะเกิดขึ้นมาก-น้อยต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่งคุณแม่จะเริ่มมีอาการแพ้ท้องเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 6 สัปดาห์(นับจากประจำเดือนที่มาครั้งสุดท้าย) และจะมีอาการมากขึ้นในช่วงอายุครรภ์ได้ประมาณ 8-10 สัปดาห์1 ในคุณแม่ท้องที่มีอาการแพ้ท้อง สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น นมอุ่นๆ หรือน้ำผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ยิ่งทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างอาหารที่มีไขมันมาก และควรทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่ทานถี่ขึ้น2

อาการที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์

2. อาการปัสสาวะบ่อย สำหรับคุณแม่ท้องมือใหม่ ที่เพิ่งตั้งครรภ์ครั้งแรก อาจมีความสงสัยว่าทำไมตัวเองถึงได้ปวดปัสสาวะบ่อยในระหว่างวัน ซึ่งจริงๆ แล้วอาการปัสสาวะบ่อยถือเป็นอาการปกติของคนท้องค่ะ ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรก นั่นเพราะว่าฮอร์โมนภายในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง และมาจากมดลูกที่ค่อยๆ ขยายขนาดขึ้นจนเบียดกับกระเพาะปัสสาวะนั่นเองค่ะ ซึ่งอาการปวดปัสสาวะบ่อยจะมีขึ้นอีกครั้งช่วง 1 เดือนก่อนคลอด นั่นเพราะศีรษะของทารกไปกดกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่3

3. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เชื่อว่ายังมีหลายๆ คนเกิดคำถามว่า ช่วงที่ท้องเนี่ย น้ำหนักควรอยู่ที่เท่าไหร่ ต้องบอกว่าน้ำหนักที่ได้มาตรฐานสำหรับคนท้องที่ต้องให้สมดุลไปตลอดทั้ง 9 เดือนนั่นคืออยู่ที่ประมาณ 10-15 กิโลกรัม แต่ส่วนมากคนท้องที่มีอาการแพ้ท้องในช่วงไตรมาสแรกน้ำหนักจะไม่ค่อยขึ้นมากเท่าไหร่ แต่พอเข้าสู่ช่วงไตรมาส 2-3 น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้น ซึ่งน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นสามารถแยกออกมาได้ คือ  ตัวลูก 3,300 กรัม  รก 680 กรัม น้ำคร่ำ 900 กรัม มดลูกที่ขยายขนาดขึ้น 900 กรัม เต้านมที่ขยายขนาดขึ้น 900 กรัม ไขมันและโปรตีนของตัวคุณแม่ 4,000 กรัม และมาจากเลือดกับน้ำในร่างกายที่เพิ่มขึ้น 1,800 กรัม4  การเพิ่มขึ้นของปริมาตรเลือดของคุณแม่ตั้งครรภ์ก็เพื่อตอบสนองต่อมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น และมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น และเพื่อป้องกันไม่ให้คุณแม่และทารกในครรภ์จากการไหลเวียนของเลือดกลับเข้าหัวใจน้อยลงในท่านอนหงายและท่ายืน5  คุณแม่ควรดูแลสุขภาพร่างกายในระหว่างตั้งครรภ์ให้มากขึ้น ด้วยการทานโฟเลท เพราะโฟเลทมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กที่เป็นส่วนประกอบของฮีโมฌกลบินในเม็ดเลือดแดง6

อาการที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์

4. อาการท้องผูก มักเกิดขึ้นในคนท้องเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนหนึ่งมากจากการทานอาหารที่มีกากใยน้อยลง และมาจากฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัวทำให้การบีบตัวของลำไส้ใหญ่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพน้อยลง7 สำหรับอาการท้องผูกในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่สามารถลดอาการท้องผูกได้ด้วย ดีอาร์ 10 (DR10) จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์8   ที่ทำงานร่วมกับไฟเบอร์ช่วยในการเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหาร และช่วยในการกระตุ้นการขับถ่าย9

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์

5. อาการปวดหลัง พออายุครรภ์เข้าเดือนที่ 5 เป็นต้นไป รูปร่างและขนาดครรภ์ของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงมากขึ้น จนเป็นผลให้คุณแม่ต้องแบกรับน้ำหนักของท้อง ทำให้ต้องแอ่นหลัง การที่ต้องแอ่นหลังนานๆ เป็นผลให้คุณแม่มีอาการปวดหลังขึ้นได้ค่ะ ซึ่งอาการปวดหลังสามารถบรรเทาด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยทำให้ร่างกายของคุณแข็งแรง เมื่อร่างกายของคุณแม่แข็งแรงก็จะช่วยพยุงรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้10

อาการที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์

6. อาการตะคริว ถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณอาการที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งอาการตะคริวที่เกิดกับคนท้องนั้น มาจาการร่างกายมีปริมาณโปรตีนอัลบูมินในเลือดมากขึ้น ส่งผลให้แคลเซียมในเลือดจับกับโปรตีนอัลบูมิน ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดลง จึงเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อขึ้น11   สำหรับคุณแม่ที่มักมีอาการตะคริวเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ แนะนำให้รับประทานอาหารที่แคลเซียม เช่น กุ้งแห้ง ปลากรอบมีกระดูก หรือดื่มนมให้เพียงพอ12

หรือหากคุณแม่ท้องท่านไหนที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการตั้งครรภ์ต่างๆ ก็สามารถส่งคำถามมาให้คุณหมอตอบได้ตามด้านล่างนี้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์

 

References

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1พญ.ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์. คู่มือตั้งครรภ์ทันสมัย. 2553. หน้า 100.

2รศ.นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด. 2540. หน้า 119.

3รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่ยุคใหม่. หน้า 173.

4รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่ยุคใหม่. หน้า 60.

5ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สูติศาสตร์. 2551. หน้า 11.

6ข้อความการกล่าวอ้างอิงหน้าที่ของสารอาหารที่มีในบัญี Thai RDI

7พญ.ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์. คู่มือตั้งครรภ์ทันสมัย. 2553. หน้า 103.

8Philip AW, et al. Scandinavian Journal of Gastroenterology, 2011; 46: 1057-1064.

9ข้อความการกล่าวอ้างอิงหน้าที่ของสารอาหารที่มีในบัญี Thai RDI

10รศ.พญ.สายฝน ชวาลไพบูลย์, และนพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์. 40 สัปดาห์พัฒนาครรภ์คุณภาพ. 2555. หน้า 144-145.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

11พญ.ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์. คู่มือตั้งครรภ์ทันสมัย. 2553. หน้า 105.

12รศ.นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด. 2540. หน้า 128.

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

หมอนรองหลังตัวช่วยแก้ปัญหาปวดหลัง

อาการแพ้ท้องแทนเมีย แพ้ท้องแทนเมียมีจริงหรือ? แพ้ท้องแทนเมีย

10 วิธีแก้แพ้ท้อง ตอนเช้า ตื่นมาแล้วคลื่นไส้รับมืออย่างไร อะไรช่วยได้บ้าง

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team