X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อันตรายที่ควรคิดถึงเมื่อต้อง ห่อตัวทารกแรกเกิด ห่อตัวให้ลูกหลับไม่ใช่ให้เกิดโรคไหลตายในทารก!

บทความ 3 นาที
อันตรายที่ควรคิดถึงเมื่อต้อง ห่อตัวทารกแรกเกิด ห่อตัวให้ลูกหลับไม่ใช่ให้เกิดโรคไหลตายในทารก!อันตรายที่ควรคิดถึงเมื่อต้อง ห่อตัวทารกแรกเกิด ห่อตัวให้ลูกหลับไม่ใช่ให้เกิดโรคไหลตายในทารก!

การ ห่อตัวทารกแรกเกิด จะเป็นการช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย ลดความกลัวลงได้ เป็นอีกหนึ่งวิธีสำหรับการช่วยปลอบโยนทารก ไม่ทำให้ลูกน้อยร้องไห้โยเยบ่อยครั้ง

ในขณะที่ลูกน้อยลอยตัวอยู่ในท้องของคุณแม่ที่มีอุณหภูมิเหมาะสม และได้รับการปกป้องอย่างดีตลอดระยะเวลา 9 เดือน หลังจากที่เจ้าตัวน้อยได้ออกมาลืมตาดูโลกใบใหม่ โลกที่ยังต้องทำความคุ้นเคย การ ห่อตัวทารกแรกเกิด จะช่วยลดความกลัว ความหวาดระแวง และรู้สึกไม่ปลอดภัยลงได้

แต่จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Pediatrics ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ด้วยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน พบว่า การห่อตัวทารกอาจไม่ใช่วิธีที่ปลอดภัยสำหรับทารกอีกต่อไป เพราะอาจมีความเสี่ยงกับโรคไหลตายในทารกได้!!

ห่อตัวทารกแรกเกิด

ห่อตัวทารกแรกเกิด ห่อตัวให้ลูกหลับไม่ใช่ให้เกิดโรคไหลตายในทารก!

ความสำคัญของการห่อตัวทารกแรกเกิดนั้น เป็นการช่วยให้ลูกน้อยปรับตัวให้เคยชินกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง การห่อตัวโดยให้แขนขาของลูกน้อยได้แน่นกระชับกับลำตัว เสมือนกว่ากำลังนอนคดคู้อยู่ในท้องแม่ ทำให้ลดอาการสะดุ้งจากเสียงดังที่ต้องเจอหลังออกมาจากท้องแม่ และเพื่อรักษาความอบอุ่นในอุณหภูมิที่ยังคงคล้าย ๆ อยู่ในครรภ์ ไม่ให้ลูกรู้สึกหนาว ทำให้เด็กแรกเกิดนอนหลับได้นานขึ้นในระยะแรกเกิดถึง 1 เดือน

แม้ว่าการห่อตัวทารกจะช่วยให้ลูกนอนหลับได้ดีและยาวนาน แต่การห่อตัวนั้นกลับมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายในทารกได้ โดยอาจเกิดจากสาเหตุที่สามารถอธิบายได้คือ เมื่อทารกเริ่มพลิกตัวคว่ำนอนในขณะที่ห่อตัวอยู่นั้น อาจทำให้ขาดอากาศหายใจเนื่องจากการคว่ำหน้าลงบนวัสดุรองนอนและทารกไม่สามารถช่วยตัวเองเพื่อผลิกตัวกลับมานอนหงายเองได้เนื่องจากถูกห่อตัวไว้

ห่อตัวทารกแรกเกิด

นอกจากนี้การศึกษาในต่างประเทศพบว่า ทารกที่ได้รับการห่อตัวในขณะหลับจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าทารกที่ไม่ได้รับการห่อตัวหากถูกกระตุ้นด้วยเสียงดัง ถ้าหากทารกมีความบกพร่องในการควบคุมการทำงานของหัวใจ และไม่สามารถปลุกให้ตื่นจากการนอนหลับ อาจนำไปสู่การลดการตอบสนองของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด อันเป็นกลไกหลักที่ก่อให้เกิดโรคไหลตายในทารก หรือ sudden infant death syndrome (SIDS)

นอกเหนือจากภาวะเสี่ยงต่อโรคไหลตายในทารกแล้ว การห่อตัวทารกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจริญพัฒนาของสะโพกที่ผิดปกติ อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน ปอดบวม หรืออาจเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนด้วย

ห่อตัวทารกแรกเกิดอย่างไร เพื่อความปลอดภัยในการนอนของเจ้าตัวน้อยทั้งกลางวันและกลางคืน >>

ห่อตัวทารกแรกเกิด

จะห่อตัวทารกอย่างไร เพื่อความปลอดภัยในการนอนของทารกในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน

  • ให้ทารกได้นอนในท่าหงาย คอยตื่นมาดูลูกเป็นระยะเพื่อดูว่าเจ้าตัวน้อยไม่ผลิกตัวนอนคว่ำหรือนอนตะแคงข้างในขณะที่กำลังหลับ
  • เช็กดูผ้าห่อตัวทารกไม่ให้หลุดหรือหลวม ๆ เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้อุดปากหรือจมูก ทำให้ลูกน้อยหายใจไม่ออก เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตจากการขาดอากาศได้
  • เบาะนอนของทารกนั้นไม่ควรนิ่มจนบุ๋มลงเป็นแอ่ง และไม่วางของเล่น หมอนหนุน หมอนข้าง ไว้ข้างตัวทารกเพื่อลดความอุบัติเหตุจากการนอนทับหรือเรื่องที่ไม่คาดคิด
  • การห่อตัวอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายของทารกสูงกว่าปกติ ดังนั้นควรเลือกใช้ผ้าห่อตัวให้เหมาะสมกับสภาวะอากาศภายในห้อวนอน และควรสังเกตร่างกายของลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ เช่น ลูกมีเหงื่อออกตามตัว ผมเปียกชื้น แก้มแดงกว่าปกติ มีผื่นขึ้นจากความร้อน หายใจเร็ว แสดงว่าร่างกายลูกร้อนกว่าปกติ

ห่อตัวทารกแรกเกิด

อย่างไรก็ตาม วงการแพทย์ก็ยังไม่ทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคไหลตายหรือ SIDS อย่างแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่า ทารกน้อยจะหยุดหายใจในขณะหลับ และไม่สามารถตื่นขึ้นมาหายใจได้อีก ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่เกิดได้อีกหลายปัจจัย เช่น พัฒนาการที่ผิดปกติของทารก ความเครียดจากปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย เช่น การให้ทารกนอนคว่ำอยู่ในสภาพอาการที่ร้อน ได้รับควันบุหรี่ ขาดอาการหายใจจากการกดทับขณะนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ เป็นต้น

สำหรับการห่อตัวทารกนั้น แม้ว่าอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายในทารก แต่ก็เป็นเพียงความคาดเดาเท่านั้น การห่อตัว ยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปรับทารกเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่หลังการคลอด แม้ว่าจะมีระยะเวลาการห่อตัวที่ไม่กำหนดแน่นอน แต่หลัง 1 เดือนหากทารกเริ่มพลิกกลับตัวได้เอง คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถพิจารณาในการเลิกห่อตัวเบบี๋ได้ เพื่อลดจากภาวะความเสี่ยงจากอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับทารกหรือทำตามข้อแนะนำเบื้องต้น เพื่อความไม่กังวลใจอีกต่อไปนะคะ


ที่มา : www.pharmacy.mahidol.ac.th

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด เตรียมพร้อมสำหรับแม่มือใหม่ ชมคลิป

ดูแลลูกน้อยหลังคลอด คู่มือที่จะช่วยให้คุณแม่เอาตัวรอดในสัปดาห์แรก

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • อันตรายที่ควรคิดถึงเมื่อต้อง ห่อตัวทารกแรกเกิด ห่อตัวให้ลูกหลับไม่ใช่ให้เกิดโรคไหลตายในทารก!
แชร์ :
  • วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด ห่อตัวทารกอย่างไร ให้ปลอดภัย

    วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด ห่อตัวทารกอย่างไร ให้ปลอดภัย

  • วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด เตรียมพร้อมสำหรับแม่มือใหม่ ชมคลิป

    วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด เตรียมพร้อมสำหรับแม่มือใหม่ ชมคลิป

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด ห่อตัวทารกอย่างไร ให้ปลอดภัย

    วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด ห่อตัวทารกอย่างไร ให้ปลอดภัย

  • วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด เตรียมพร้อมสำหรับแม่มือใหม่ ชมคลิป

    วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด เตรียมพร้อมสำหรับแม่มือใหม่ ชมคลิป

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ