5 ขั้นตอน วิธีทำให้ทารกหยุดร้องไห้ ภายใน 10 วินาที

เมื่อทารกร้องไห้ จะทำยังไงให้ลูกสงบได้โดยเร็ว พบกับ วิธีทำให้ทารกหยุดร้องไห้ ภายใน 10 วินาที พร้อม 5 ท่าอุ้มลูกหยุดร้องไห้ ในบทความนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาหนักใจอย่างหนึ่งของคุณแม่มือใหม่ คือการที่ลูกน้อยแรกเกิดร้องไห้ โดยที่คุณแม่ไม่ทราบว่าลูกร้องไห้เพราะอะไร และจะทำยังไงให้ลูกสงบได้โดยเร็ว วันนี้เราจึงมาแนะนำ เคล็ดลับ 5 ขั้นตอน วิธีทำให้ทารกหยุดร้องไห้ ภายใน 10 วินาทีมาฝาก

ทำไมทารกแรกเกิดถึงร้องไห้

การที่ทารกร้องไห้เป็นเรื่องปกติมาก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่มักจะร้องไห้วันละประมาณ 1-4 ชั่วโมง เพื่อสื่อสารความต้องการต่างๆ ออกมา ทั้งหิว นอน ง่วง หรือไม่สบายตัว คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและทำความเข้าใจเสียงร้องของลูกน้อย เพื่อที่จะตอบสนองต่อเสียงร้องได้ตามความต้องการ

เมื่อทารกร้องไห้ ลูกน้อยอาจต้องการสื่อสารว่า:

1. หนูหิว

ทารกส่วนใหญ่ต้องการกินนมทุกๆ สองสามชั่วโมง การร้องไห้อาจเป็นสัญญาณของความหิวในระยะหลังได้ ให้สังเกตสัญญาณเริ่มต้นของความหิว เช่น ทารกอาจเอามือเข้าปากและสัมผัสที่ปากตัวเอง

2. หนูอยากดูดอะไรสักอย่าง

หากลูกน้อยไม่หิว เขาอาจต้องการเพียงแค่ อยากดูดอะไรสักอย่าง การดูดเต้านมแม่ ดูดนิ้ว หรือดูดจุกหลอก จะทำให้ทารกรู้สึกสบายใจ 

3. หนูต้องการให้อุ้ม

อุ้มลูกน้อยไว้ที่ไหล่หรือหน้าอกของคุณแม่ ทารกที่กำลังร้องไห้สามารถปลอบโยนได้โดยการลูบหรือตบหลังเบาๆ

4. หนูเหนื่อย

ทารกที่เหนื่อยมักจะงอแง และลูกน้อยอาจต้องการนอนหลับมากกว่าที่คุณคิด ทารกแรกเกิดสามารถนอนหลับได้ประมาณ 16 ชั่วโมงต่อวัน และบางครั้งอาจมากกว่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. หนูเปียกชื้น

ผ้าอ้อมที่เปียกหรือสกปรกอาจทำให้ลูกน้อยระคายเคือง ตรวจสอบผ้าอ้อมของลูกน้อยบ่อยๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสะอาดและแห้ง

6. หนูอยากเคลื่อนไหวบ้าง

บางครั้งการโยกเบาๆ หรือการนอนในเปลไกวก็ช่วยปลอบโยนทารกที่กำลังร้องไห้ได้ คุณแม่อาจให้ลูกน้อยนอนบนเปลเด็ก หรือพาลูกน้อยขึ้นรถ เสียงเครื่องยนต์รถยนต์อาจทำให้ทารกสงบลงได้

7. หนูอยากห่อตัวมากกว่า

ทารกบางคนจะรู้สึกปลอดภัยที่สุดเมื่อได้นอนห่มผ้าบางๆ อย่างสบายตัว การห่อตัวอาจเป็นอันตรายได้ หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าต้องห่อตัวอย่างไร ให้ขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับวิธีห่อตัวที่ถูกต้อง

8. หนูร้อนหรือหนาว

โดยทั่วไป ควรให้ลูกน้อยสวมเสื้อผ้าตามสภาพอากาศ ซึ่งอาจเพิ่มหรือถอดเสื้อผ้าออกตามความเหมาะสม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

9. หนูรู้สึกเครียด

การได้รับสิ่งกระตุ้นมากเกินไป หรือความตื่นเต้นมากเกินไปจากสิ่งที่เห็น เสียง หรือสิ่งอื่นๆ อาจทำให้ลูกน้อยร้องไห้ได้ ให้พาลูกน้อยไปอยู่ในที่ที่สงบกว่านี้ หรือให้ลูกน้อยนอนในเปล เปิดเสียง White Noise เช่น เสียงคลื่นทะเลหรือเสียงพัดลมไฟฟ้า อาจช่วยให้ลูกน้อยผ่อนคลายได้

10. หนูรู้สึกเจ็บป่วย

หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยคือ ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือ โคลิค ซึ่งมักทำให้ทารกเกิดอาการปวดท้องและร้องไห้เสียงดัง

5 ขั้นตอน วิธีทำให้ทารกหยุดร้องไห้ ภายใน 10 วินาที

ข้อมูลจากคลิปของ พี่กัลนมแม่ ได้แนะนำ 5 ขั้นตอน วิธีทำให้ทารกหยุดร้องไห้ ภายใน 10 วินาที มีอะไรบ้าง

  1. อุ้มลูกขึ้นมา 

เมื่อลูกร้องไห้ การอุ้มเป็นวิธีที่จะให้ความอบอุ่นและความปลอดภัยแก่ลูกน้อยค่ะ เพราะตลอด 9 เดือนในครรภ์แม่ ลูกน้อยคุ้นเคยกับการถูกโอบล้อมและเคลื่อนไหวไปมา การอยู่ในท่าอุ้มที่คล้ายกับการอยู่ในครรภ์จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกคุ้นเคยและปลอดภัย 

  1. ทำเสียงชู่วววเบาๆ

เวลาที่ลูกน้อยร้องไห้ เสียง “ชู่วววววว” เบาๆ มักจะช่วยให้ลูกสงบลงได้ นั่นเป็นเพราะเสียงนี้คล้ายกับเสียงที่ลูกน้อยเคยได้ยินในขณะที่อยู่ในท้องแม่ เช่น เสียงเลือดไหลเวียนในหลอดเลือด หรือเสียงการทำงานของอวัยวะภายในของแม่ ซึ่งเสียงเหล่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกคุ้นเคยและปลอดภัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เสียงชู่ววววว เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ เสียง White Noise หรือเสียงที่มีความถี่สม่ำเสมอและราบเรียบ ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยให้ลูกน้อยสงบได้ดีเยี่ยม เสียง White Noise อื่นๆ ที่คุณแม่สามารถนำมาใช้ได้ ได้แก่ เสียงไดร์เป่าผม เสียงฝนตก เสียงพัดลม เป็นต้น

  1. โยกตัวทารกเบาๆ

โยกตัวทารกขึ้น-ลง แบบท่าสควอช หรือโยกซ้าย-ขวาเบาๆ การเคลื่อนไหวไปมาแบบช้าๆ เหมือนคลื่นในทะเล หรือการโยกตัวขึ้นลงเบาๆ จะทำให้ลูกน้อยนึกถึงช่วงเวลาที่อยู่ท้องแม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อบอุ่นและปลอดภัยที่สุด

  1. ใช้จุกหลอกช่วย

จุกหลอกช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและสงบได้ โดยเฉพาะในช่วงที่เด็กง่วงนอน หรือรู้สึกไม่สบายตัว เด็กอายุ 1 เดือนขึ้นไปที่กินนมจากขวด สามารถเริ่มใช้จุกหลอกได้ เนื่องจากเด็กวัยนี้มักคุ้นเคยกับการดูดจุกนมขวดอยู่แล้ว

ส่วนเด็กที่ยังดูดเต้านมแม่ยังไม่แนะนำให้ใช้ จุกหลอกในช่วง 1 เดือนแรก เพราะอาจจะสับสนหัวนมได้ นอกจากนี้ หากลูกดูดนมจากเต้าอยู่แล้ว เต้านมแม่เป็นสิ่งที่ปลอบประโลมอาการร้องไห้ อาการเจ็บป่วย ลดความเครียดของลูกได้ดีที่สุดค่ะ

  1. สบตา

พอลูกเริ่มดูดจุกหลอกหรือเริ่มดูดนม และเริ่มสงบ ให้คุณแม่สบตาลูก เขามองเข้าไปในตา แล้วก็ทำเสียงชู่วววววว การสบตาและส่งเสียงชู่วววววไปยังลูกน้อยที่กำลังดูดนมหรือจุกหลอก เป็นวิธีง่ายๆ แต่ทรงพลังในการสร้างความผูกพันระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยได้อย่างดีเยี่ยมเลยค่ะ

 

5 ท่าอุ้มให้ทารกสงบ

วิธีปลอบให้ลูกน้อยสงบ เมื่อลูกน้อยร้องไห้ ด้วย 5 ท่าอุ้มหยุดลูกร้องไห้ ให้คุณแม่ได้นำไปทำตามง่ายๆ ดังนี้

1. ท่าอุ้มมาตรฐาน

เป็นท่าอุ้มที่เรียบง่าย เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด โดยใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะและคอของลูกน้อยให้แนบชิดกับไหล่ของคุณแม่ ใช้มืออีกข้างหนึ่งรองรับก้นของลูกน้อย ท่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย

เครดิต : เพจพี่กัลนมแม่

2. ท่าเครื่องบินหรือท่าจรวด

เป็นท่าอุ้มที่ช่วยลดอาการปวดท้องได้ดี โดยให้ลูกน้อยนอนคว่ำ หนีบขาลูกไว้ข้างตัวคุณแม่ มือประคองใต้คอลูก เอียงตัวออกเล็กน้อย ท่านี้จะช่วยให้แก๊สในท้องของลูกน้อยเคลื่อนตัวออกมาได้ง่ายขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เครดิต : เพจพี่กัลนมแม่

3. ท่าดีดกีตาร์

ท่านี้จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และโคลิคได้เป็นอย่างดี โดยอุ้มลูกหันหน้าออกให้หลังลูกน้อย แนบลำตัวคุณแม่ ศีรษะลูกน้อยอยู่บนต้นแขนคุณแม่ คุณแม่กอดประคองลำตัวของลูกไว้ ขาข้างหนึ่งของลูกพาดอยู่บนแขนคุณแม่ ท่านี้แขนคุณแม่จะช่วยดันที่ท้อง ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ

เครดิต : เพจพี่กัลนมแม่

4. ท่าแนบหัวใจ

ท่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยและสงบ เพราะลูกน้อยเคยได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่มาตั้งแต่ในครรภ์แล้ว โดยอุ้มลูกหันหน้าเข้าหาคุณแม่ ให้หูลูกแนบบริเวณหัวใจของคุณแม่

เครดิต : เพจพี่กัลนมแม่

5. ท่าอุ้มลูกหันหน้าเข้าหาแม่

ท่านี้ให้งอเข่าลูกน้อยขึ้นชิดกับหน้าอกคุณแม่: ท่านี้จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ดี โดยการกดเบาๆ ที่บริเวณท้องของลูกน้อย

เครดิต : เพจพี่กัลนมแม่

 

ทารกร้องไห้แบบไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ

แม้ว่าเด็กทารกร้องไห้ถือเป็นเรื่องปกติในการสื่อสารของลูกน้อยเพื่อบอกความต้องการ เช่น หิว นอน ง่วง หรือไม่สบายตัว แต่ถ้าหากลูกน้อยร้องไห้บ่อยผิดปกติ หรือร้องไห้แบบที่แตกต่างจากเดิม คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการเหล่านี้เพิ่มเติม เพื่อนำไปปรึกษาแพทย์

อาการร้องไห้ที่อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติ

  • ร้องไห้เสียงแหลมสูง อาจบ่งบอกถึงความเจ็บปวดรุนแรง เช่น ปวดหู ปวดท้อง หรือมีอาการติดเชื้อ
  • ร้องไห้ไม่หยุด แม้จะพยายามปลอบโยนแล้วก็ตาม อาจเป็นสัญญาณของความเจ็บป่วย หรือภาวะโคลิค (Colic) ซึ่งเป็นภาวะที่ทารกร้องไห้รุนแรงและนานเกินปกติ โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
  • ร้องไห้พร้อมกับอาการอื่นๆ เช่น ไข้ ตัวร้อน อาเจียน ท้องเสีย ซึม ไม่กินนม หรือร้องไห้พร้อมกับงอตัว หรือเกร็ง
  • ร้องไห้ในเวลาเดิม หากลูกน้อยร้องไห้ในเวลาเดิมๆ ซ้ำๆ กันทุกวัน อาจเป็นสัญญาณของภาวะโคลิค
  • ร้องไห้พร้อมกับร้องเสียงแหบ หรือเสียงเปลี่ยนไป อาจบ่งบอกถึงปัญหาที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ

เมื่อไหร่ควรพาลูกไปพบแพทย์

  • ลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด ปลอบเท่าไหร่ก็ไม่หยุดร้อง
  • ลูกน้อยมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้ อาเจียน ท้องเสีย
  • ลูกน้อยร้องไห้เสียงแหลมสูง หรือร้องไห้พร้อมกับงอตัว
  • คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูก

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด หากสงสัยว่าลูกน้อยมีอาการผิดปกติ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมนะคะ และไม่ว่าคุณจะโกรธหรืออารมณ์เสียที่ลูกน้อยร้องไห้แค่ไหนก็ตาม อย่าตี เขย่า หรือกระชากลูกน้อยเด็ดขาด ทารกอาจได้รับบาดเจ็บสาหัส จากอาการผิดปกติจากการเขย่าตัวทารก (Shaken Baby Syndrome) หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ที่มา : mayoclinic , พี่กัลนมแม่

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ลูกบิดตัวบ่อย หลับไม่สนิท ปกติไหม แก้อาการลูกบิดตัวยังไงดี

อุ้มเรอกี่นาที อุ้มเรอถึงกี่เดือน ลูกไม่เรอแต่ตด ได้ไหม?

นมแม่ใส ลูกน้ำหนักไม่ขึ้น ทำไงดี ? 8 วิธีเพิ่มไขมันนมแม่ เพิ่มน้ำหนักลูกน้อย