X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ถึงจะง่วงนอน ก็ยังยิ้มได้

บทความ 3 นาที
ถึงจะง่วงนอน ก็ยังยิ้มได้

วิดิโอนี้น่ารักสุดๆ ไปเลยค่ะ หนูน้อยลีโอที่นั่งสะลึมสะลือในรถ แต่ก็ยังพยายามยิ้มจนได้

แชร์วิดีโอลูกรักของคุณ คลิกที่นี่

วิธีรับมือ ลูกง่วง/เหนื่อยเกินไปจนไม่ยอมนอน

เด็กๆ งอแงง่ายค่ะ เพราะเราไม่สามารถจัดการอะไรด้วยตัวเองได้ หรือแม้แต่ไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ เวลาที่ลูกง่วงนอนมากๆ แทนที่จะนอนหลับง่ายๆ ก็กลายเป็นยากมากขึ้นไปอีก

ทำไมง่วงแล้วไม่ยอมนอน

Overtired Baby หรือเด็กที่เหนื่อยเกินไปหรือง่วงมากเกินไปจนทำให้นอนยาก ไม่ยอมนอน หรือนอนไม่หลับนั่นเองค่ะ ลูกจะมีอาการร้องไห้งอแง หลังที่นอนหลับไปได้สักพักก็จะตื่นในเวลาที่รวดเร็ว และไม่ยอมหลับอีกรอบแล้วละค่ะ งานเข้ากันเลยนะคะคุณพ่อคุณแม่ ยิ่งถ้าเป็นกลางดึกของวันทำงานด้วยละก็

เมื่อลูกเหนื่อยเกินไป หรือง่วงเกินไป ร่างกายของลูกเมื่อถึงจุดที่พร้อมแก่การเข้านอนมาแล้ว ร่างกายก็จะส่งสัญญาณความเครียดที่เกิดขึ้นออกมา ฮอร์โมนความเครียดหรือฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลีนจะเข้ามามีบทบาทตามสะแสเลือดในร่างกาย ทำให้ร่างกายยากที่จะสงบและผ่อนคลาย ซึ่งรูปแบบการทำงานของร่างกายนี้นั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นวัฏจักร และทำให้อาการนอนยากของลูกยิ่งยากๆ ขึ้นไปอีกค่ะ

อาการที่บอกว่า ลูกเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไป

เมื่อลูกไม่ได้นอนพักผ่อนระหว่างวัน หรือช่วงระยะเวลาที่ตื่นนานกว่าระยะเวลาของการนอนหลับ เนื่องจากเด็กๆ ในวัยนี้ ต้องการการนอนที่มากกว่าผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่านี้ ร่างกายลูกจะไม่สามารถจัดการตัวเองให้ตื่นนานขนาดนี้ได้ โดยช่วงเวลาที่เด็กแรกเกิดตื่นในแต่ละครั้งนั้นไม่ควรเกิน 45 นาที ซึ่งทำให้เด็กแรกเกิดหลายๆ คน มีอาการเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไป จนทำให้นอนหลับยาก นอนน้อย ตื่นบ่อยได้นั่นเองค่ะ อาการที่บ่งบอกว่าลูกเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไปแล้ว นั่นก็คือ

  • ขยี้หน้าขยี้ตา
  • เบือนหน้าหนีออกจากสิ่งเร้าต่างๆ
  • หาว สะอึก หรือจามบ่อยๆ
  • งอแง และโวยวาย
  • ติดหนึบกับคุณพ่อหรือคุณแม่หรือพี่เลี้ยง ไม่ยอมนอนเอง
  • ช่วงที่ลูกตื่นจะนานมากขึ้นเรื่อยๆ

วิธีรับมือให้ลูกนอนหลับได้นานๆ

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเอาลูกนอนคือ ทำให้ลูกสงบลงก่อน อาจจะด้วยวิธีใดๆ ก็แล้วแต่ เช่น ห่อตัวลูก กอดหรืออุ้มลูก เอาลูกเข้าเต้าดูดจนกว่าจะพอใจ กล่อมลูกหรือโยกเบาๆ เปิดเพลงหรือเสียงธรรมชาติ (White Noise) ปิดไฟภายในห้องให้มืดสนิท ร้องเพลงกล่อมลูก

สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย ในวัยเตาะแตะหรือวัยอนุบาล ให้อ่านนิทานที่มีเนื้อหาไม่ตื่นเต้นมากนัก ในห้องที่มีแสงไฟสลัวๆ หรือให้เล่นเงียบๆ คนเดียว หรือปล่อยให้อ่านหนังสือเงียบๆ บริเวณเตียงนอนนั่นแหละค่ะ

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไป

คุณพ่อคุณแม่ควรกำหนดเวลาดังนี้ค่ะ หากลูกตื่นนอนไปโอกาสที่ลูกจะเหนื่อยเกินไปหรือง่วงเกินไป ก็จะยิ่งสูงขึ้นทำให้นอนหลับได้ยากขึ้นนะคะ

  • ทารกแรกเกิด – 6 เดือน ควรตื่นครั้งละไม่เกิน 45-60 นาที
  • เด็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี ควรตื่นครั้งละไม่เกิน 2 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรตื่นครั้งละไม่เกิน 4-5 ชั่วโมง

นอกจากนี้หากลูกจะนอนนานเกินไปบ้าง ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงจนเกินไป ปล่อยให้นอนนานๆ ได้นะคะ อีกวิธีที่จะช่วยให้เด็กๆ ปรับเวลาได้ก็คือ การทำตารางกิจวัตรประจำวันให้เหมือนกันทุกวัน เด็กๆ จะเรียนรู้ได้เองว่าเมื่อที่ถึงเวลากิน เล่น หรือนอนค่ะ

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
กระเป๋าแม่ลูกอ่อน สำคัญอย่างไร เลือกกระเป๋าแบบไหนให้สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ

ลูกง่วง แต่ไม่ยอมนอน งอแง ร้องไห้ไม่มีเหตุผล

ด้วยความที่ทารกน้อยไม่สามารถบอกเราได้ว่าเขาเหนื่อย เขาง่วง เขาถูกกระตุ้นมากไป ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูกง่วง แต่ไม่ยอมนอน งอแง ร้องไห้ไม่มีเหตุผล นั่นก็อาจจะเป็นเพราะว่าเขารู้สึกถูกกระตุ้นมากเกินไปก็เป็นได้ การที่ผู้ใหญ่ต่างพยายามมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าตัวเล็กอยู่ตลอดเวลา ก็อาจทำให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกเหนื่อยล้า ต้องการพักผ่อน และเกิดความเครียดจากการถูกกระตุ้นมากเกินไป ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

  • ลูกไม่มองหน้า ไม่สบตา พยายามมองไปที่อื่น
  • หาว ทำท่าเหมือนจะหลับ แต่ไม่หลับ
  • บิดตัว หัวใจเต้นเร็ว
  • ทำท่าเหมือนหิวนม อยากเข้าเต้า
  • ร้องไห้ไม่มีเหตุผล ปลอบเท่าไหร่ก็ไม่หยุด
  • ร้องให้เสียงดัง และรุนแรงขึ้น
  • กระสับกระส่าย ไม่สบายตัว

ลูกง่วง แต่ไม่ยอมนอน

อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมต่างๆของลูก ทั้งเวลาที่เล่นกับคุณพ่อคุณแม่ และเวลาที่มีญาติมาเยี่ยม เช่น เมื่อลูกเล่น และใช้พลังงานเป็นเวลานานจนเหนื่อย หรือเมื่อถูกคนโน้นคนนี้อุ้มหลายคน หรือบางทีลูกอาจจะได้ยินเสียงคนโน้นคนนี้พูดตลอดเวลา หรืออยู่ในที่ๆมีเสียงดัง อีกทั้งหากลูกทำกิจกรรมอย่างอื่น นอกเหนือจากกิจวัตรปกติ หรือหากเห็นว่าลูกทำท่าเหมือนจะไม่สบาย คุณพ่อคุณแม่ก็ควรหยุดกระตุ้นลูก และให้ลูกได้พักผ่อนก่อนนะครับ

ลูกถูกกระตุ้นมากไป ทำอย่างไรดี

เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกมีอาการถูกกระตุ้นมากเกินไป ให้หยุดสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ และให้ความสนใจในเรื่องที่ลูกน้อยพยายามจะสื่อสาร หากมีญาติมาเยี่ยมและกำลังเล่นกับลูกอยู่ อาจต้องขอตัวเพื่อให้ลูกได้นอนพักผ่อน อาจจะต้องพาลูกขึ้นชั้นบน หรือพาเข้าไปในห้องนอน ทำห้องให้มืด ปิดเสียงที่ดังรบกวน เมื่อเสียงเงียบแล้ว อาจจะทำเสียงชูวววส์ อย่างอ่อนโยน เพื่อกล่อมลูก

และคุณพ่อคุณแม่ควรเช็คดูว่าลูกสบายตัวหรือเปล่า เช่น ไม่หิว ผ้าอ้อมไม่เปียกแฉะ ไม่หนาว หรือร้อนเกินไป แล้วค่อยๆกล่อมลูกนอนโดยการตบก้นเบาๆ

เด็กทารกนั้นต้องการเวลาในการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อพัฒนาการที่ดี และมีกระบวนการเจิญเติบโตที่เหมาะสม ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ปล่อยให้มีการกระตุ้นลูกมากเกินไป รวมถึงระวังไม่ให้คนรอบข้างกระตุ้นลูกมากเกินไปด้วยเช่นกัน พร้อมทั้งต้องคอยสังเกตสัญญาณต่างๆที่เจ้าตัวน้อยส่งมาด้วยนะครับ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • ถึงจะง่วงนอน ก็ยังยิ้มได้
แชร์ :
  • คลิปฝาแฝดเต้นตามเสียงกีตาร์ของพ่อ

    คลิปฝาแฝดเต้นตามเสียงกีตาร์ของพ่อ

  • ทารกน้อยกับเค้กวันเกิดก้อนแรกในชีวิต

    ทารกน้อยกับเค้กวันเกิดก้อนแรกในชีวิต

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • คลิปฝาแฝดเต้นตามเสียงกีตาร์ของพ่อ

    คลิปฝาแฝดเต้นตามเสียงกีตาร์ของพ่อ

  • ทารกน้อยกับเค้กวันเกิดก้อนแรกในชีวิต

    ทารกน้อยกับเค้กวันเกิดก้อนแรกในชีวิต

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ