X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คิดว่าเป็นลมพิษ ที่แท้ พยาธิชอนไชผิวหนัง! ประสบการณ์น่าขนลุก โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง

25 Sep, 2018
คิดว่าเป็นลมพิษ ที่แท้ พยาธิชอนไชผิวหนัง! ประสบการณ์น่าขนลุก โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง

อันตรายไหมโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง อาการโรคพยาธิ ประสบการณ์น่าขนลุก ที่ไม่มีใครอยากเจอ

โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง

โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง คืออะไร อาการโรคพยาธิ เป็นแบบไหน คันหรือเปล่า จะรู้ตัวได้อย่างไร

 

พยาธิชอนไชใต้ผิวหนัง 

คุณแม่ท่านหนึ่งได้โพสต์เล่าประสบการณ์เป็นโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง พร้อมโพสต์รูปให้เห็นกันชัด ๆ โดยรูปแรกเป็น 3 วันแรกที่ผื่นขึ้น จนเข้าใจว่าเป็นลมพิษ แต่สังเกตได้ว่า ผื่นมาขึ้นทุกวัน คันมาก และเป็นเส้นแนวดิ่ง

 

โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง อันตรายไหม อาการโรคพยาธิ อาการของพยาธิผิวหนัง คิดว่าเป็นลมพิษ ที่แท้ พยาธิชอนไชผิวหนัง! ประสบการณ์น่าขนลุก เห็นกันชัดๆ เป็นเส้นแดงๆ

พยาธิชอนไชผิวหนัง อันตรายไหม อาการโรคพยาธิ อาการของพยาธิผิวหนัง

 

รูปต่อมา ที่เห็นว่าหันหลังนั้น เป็นอาการ 14 วัน หลังจากที่พยาธิชอนไช

 

โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง อันตรายไหม อาการโรคพยาธิ อาการของพยาธิผิวหนัง คิดว่าเป็นลมพิษ ที่แท้ พยาธิชอนไชผิวหนัง! ประสบการณ์น่าขนลุก เห็นกันชัดๆ เป็นเส้นแดงๆ

พยาธิชอนไชผิวหนัง อันตรายไหม อาการโรคพยาธิ อาการของพยาธิผิวหนัง

 

หลังจากที่ตรวจที่โรงพยาบาล คุณหมอสันนิษฐานว่าเป็น Larva พยาธิไช และในวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา คุณหมอก็ให้ยาฆ่าพยาธิ มาอีก 2 ชนิด เอาให้มันสิ้นซาก

“ระวังด้วยนะคะ ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่มันขยะแขยง และคันมาก แต่เกาไม่ได้”

ส่วนที่ว่ามันไชได้อย่างไรมาจากไหน ก็ไม่ทราบเลย แต่มันเป็นวันที่ไปเที่ยว ก็ไม่รู้ว่ามันไชก่อนไปเที่ยว ก็ไม่ทราบจริง ๆ ปกติก็ไม่เลี้ยงหมาแมว อาจจะโดนไม่รู้ตัว แต่ไม่ได้เกิดจากความสกปรกนะคะ

คุณแม่เล่าเพิ่มเติมว่า ไม่ทราบสาเหตุว่าพยาธิเข้ามาทางไหน เพราะไม่ได้เลี้ยงหมาหรือแมว เหตุเกิดในตอนเช้า ขณะกำลังขนของกลับชลบุรี ก็รู้สึกคันหลังขึ้นมา เลยให้แม่ของตนดูให้ เพราะนึกว่าเป็นลมพิษ แม่ของตนบอกว่า ลักษณะเป็นผื่นบวมขึ้นมาคงไม่มีอะไร เลยไม่ได้สนใจ แต่ก็รู้สึกว่ามันยาวขึ้นเรื่อย ๆ พอดีกับที่พ่อของตนป่วย ต้องพามาหาหมอ เลยได้ตรวจอาการ และทราบว่าเป็นโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง หลังจากที่เกิดขึ้นได้ 7 วัน ตอนนี้ไม่มีรอยบวมแดงแล้ว ตั้งแต่คุณหมอจัดยาให้ทาน อาการดีขึ้นมากแล้วค่ะ

ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ขอขอบคุณคุณแม่ที่มาแบ่งปันประสบการณ์นะคะ 

 

โรคพยาธิชอนไชผิวหนังคืออะไร

ข้อมูลจากร.ศ.พ.ญ. กัญญารัตน์ กรัยวิเชียร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผ.ศ.พ.ญ. จิตติมา ฐิตวัฒน์ คณะเวชศาสคร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายถึงโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง (Cutaneous larva migrans) ว่า คือโรคผิวหนังที่เกิดจากพยาธิตัวกลมระยะตัวอ่อน (ส่วนมากเป็นพยาธิปากขอหรือพยาธิเส้นด้าย) ของสัตว์ พยาธิระยะตัวอ่อนจะไชไปตามผิวหนัง ชั้นหนังกำพร้าทำให้เกิดผื่นมีลักษณะเป็นเส้นนูนสีแดงคดเคี้ยวใต้ผิวหนังตาม ทางที่ พยาธิไชผ่าน เนื่องจากคนไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่พยาธิเจริญเติบโต พยาธิตัวอ่อนจึงเดินทางไปตามเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยไม่สามารถเจริญเป็นระยะตัวแก่ในร่างกายคนได้ จนในที่สุดพยาธินั้นจะตายไปเอง พยาธิสภาพและอาการแสดงทางผิวหนังจะเป็นอยู่นานจนกว่าพยาธิจะถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันหรือได้รับยาฆ่าพยาธิ โรคนี้พบมากในเขตร้อน เช่น ทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทวีปอาฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้น

ปรสิตที่เป็นสาเหตุโรคพยาธิชอนไชผิวหนังคือ

  1. พยาธิปากขอของแมวและสุนัข Ancylostoma braziliense (พบบ่อยที่สุด), A. caninum, A. ceylanicum, A. tubaeforme, Uncinaria stenocephala, Bunstomum phlebotomum
  2. พยาธิเส้นด้ายของสัตว์ Strongyloides papillosus (พยาธิของแพะ แกะ วัว), S. westeri (พยาธิของม้า)

การติดต่อของโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง

พยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อที่อยู่ที่พื้นดินชื้นแฉะไชเข้าผิวหนังของคนที่เดินเท้าเปล่าหรืออาจจะติดตามตัวทาก หรือเข้าตามผิวหนังของเด็กที่นั่งเล่นตามพื้นดินหรือทรายโดยสามารถไชผ่านเสื้อผ้าบาง ๆ เช่นชุดว่ายน้ำได้

กลไกการเกิดโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง

พยาธิระยะตัวอ่อนจะหลั่งเอ็นไซม์เพื่อไชผ่าน ผิวหนังปกติ ผิวหนังที่เป็นแผล หรือไชเข้ามาตามรูขุมขน มาอยู่ในชั้นหนังกำพร้า แต่ไม่สามารถไชผ่านหนังแท้ได้ หลังจากนั้น 2-3 ชั่วโมง ผิวหนังบริเวณนั้นจะเกิดการอักเสบ ต่อมาอีก 2-3 วันพยาธิตัวอ่อนจะเริ่มเคลื่อนที่ไปใต้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ผิวหนังจะมีการอักแสบ บวมน้ำ มีเม็ดเลือดขาวมาคั่งอยู่

ลักษณะของผื่นโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง

ผู้ป่วยจะเกิดผื่นหลังจากตัวอ่อนไชผ่านผิวหนังเข้ามาประมาณ 2- 50 วัน ตอนแรกจะเกิดเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดงก่อน เมื่อพยาธิเริ่มเคลื่อนที่โดยการไชจะเห็นผื่นเป็นเส้นนูนสีแดงกว้าง 2-3 มิลลิเมตรคดเคี้ยวไปมาผื่นอาจมีความยาวได้ถึง 15-20 ซม. ตัวอ่อนของพยาธิเคลื่อนที่ได้วันละ 2-3 มิลลิเมตร จนถึงหลายเซนติเมตร อาจเกิดตุ่มน้ำตามแนวที่พยาธิไชอาจมีผื่นเกิดขึ้นหลายแห่งพร้อมกัน ผื่นมักพบบริเวณที่ผิวหนังที่สัมผัสกับดินโดยตรงคือมือ เท้า ในเด็กเล็กอาจพบผื่นที่ก้น อาการร่วมที่สำคัญคือต้องมีอาการคันอย่างมาก อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้

การวินิจฉัยโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง

  1. การวินิจฉัยใช้อาการแสดงทางคลินิกและประวัติเป็นหลัก
  2. การตรวจเลือดอาจพบมีเม็ดเลือดขาวชนิด eosinophil สูงขึ้น
  3. การตรวจ น้ำเหลืองพบมีระดับ IgE สูงขึ้น
  4. การตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้พบตัวอ่อนของพยาธิทำได้ยากเนื่องจากพยาธิมีขนาดเล็กมากและเคลื่อนที่เร็ว ตำแหน่งที่ตัด
    ชิ้นเนื้อที่มีโอกาสพบตัวพยาธิมากที่สุดคือบริเวณห่างจากจุดสุดท้ายที่เกิดผื่นเล็กน้อย

การรักษาโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง

ถ้าไม่รักษาผื่นอาจหายได้เองภายใน 4 สัปดาห์- 2 ปี ยาที่ใช้รักษา คือ

  1. Ivermectin รับประทานครั้งเดียว หาย 81-100%
  2. ยาทา Thiabendazole ทาบริเวณผื่นวันละ 2-4 ครั้งนาน 2 สัปดาห์ให้ผลการรักษาดีเท่าการรับประทานยา
    ivermectin
  3. Thiabendazole รับประทานวันละหนึ่งครั้งนาน 2 วัน หายประมาณ 68-84% เนื่องจากมีผลข้างเคียงมาก
    คือ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะจึงไม่ค่อยนิยมใช้
  4. Albendazole รับประทานวันละหนึ่งครั้งนาน 3 วัน หายประมาณ 46-100%

การป้องกันโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง

  • อย่าเดินเท้าเปล่า นั่งหรือใช้มือสัมผัสดินที่สงสัยว่าปนเปื้อนมูลสัตว์
  • ถ่ายพยาธิในแมวและสุนัขเพื่อไม่ให้มีการแพร่ปรสิตสู่ดิน

ที่มา : https://www.tm.mahidol.ac.th/hospital/index-th.php

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทารก พ่อแม่ควรทำอย่างไรไม่ให้ลูกเป็นเด็กป่วยง่าย

อุทาหรณ์! ลูกถ่ายเป็นมูกเลือด อย่านิ่งนอนใจ เสี่ยงป่วยลำไส้กลืนกัน

60 วันแรกในท้องแม่ ทารกในครรภ์มีรูปร่างอย่างไร พ่อแม่อยากเห็นไหม?

วิธีลดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ลมในท้องเยอะ คนท้องควรทำอย่างไร

 

บทความจากพันธมิตร
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
จะดีแค่ไหนหากโลกนี้มีของเล่นที่เด็กทุกคนสนุกด้วยกันได้อย่างเท่าเทียม มารู้จักกับ BLIX POP กันเถอะ
จะดีแค่ไหนหากโลกนี้มีของเล่นที่เด็กทุกคนสนุกด้วยกันได้อย่างเท่าเทียม มารู้จักกับ BLIX POP กันเถอะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • คิดว่าเป็นลมพิษ ที่แท้ พยาธิชอนไชผิวหนัง! ประสบการณ์น่าขนลุก โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง
แชร์ :
  • พยาธิในตา ชอนไชดวงตาลูกจนคัน แม่สุดช็อค! หมอคีบพยาธิออกมายาวเป็นเซน

    พยาธิในตา ชอนไชดวงตาลูกจนคัน แม่สุดช็อค! หมอคีบพยาธิออกมายาวเป็นเซน

  • ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก ลูกมีผื่นผิวหนังอักเสบผิดปกติไหม อย่ารอจนเรื้อรัง

    ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก ลูกมีผื่นผิวหนังอักเสบผิดปกติไหม อย่ารอจนเรื้อรัง

  • อาการคนท้องไตรมาส 3 ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และสัญญาณใกล้คลอด

    อาการคนท้องไตรมาส 3 ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และสัญญาณใกล้คลอด

  • พยาธิในตา ชอนไชดวงตาลูกจนคัน แม่สุดช็อค! หมอคีบพยาธิออกมายาวเป็นเซน

    พยาธิในตา ชอนไชดวงตาลูกจนคัน แม่สุดช็อค! หมอคีบพยาธิออกมายาวเป็นเซน

  • ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก ลูกมีผื่นผิวหนังอักเสบผิดปกติไหม อย่ารอจนเรื้อรัง

    ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก ลูกมีผื่นผิวหนังอักเสบผิดปกติไหม อย่ารอจนเรื้อรัง

  • อาการคนท้องไตรมาส 3 ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และสัญญาณใกล้คลอด

    อาการคนท้องไตรมาส 3 ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และสัญญาณใกล้คลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ