ซิทอัพ มีประโยชน์อย่างไร คนท้องสามารถทำซิทอัพได้ไหม?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ซิทอัพ มีประโยชน์อย่างไร? สายออกกำลังหลาย ๆ คนกำลังสงสัยใช่ไหมว่า การซิทอัพมีประโยชน์อย่างไร ซิทอัพมีผลเสียหรือไม่ แล้วคนท้องสามารถทำซิทอัพได้หรือเปล่า มาดูกันเลยว่าจริง ๆ แล้วการซิทอัพมีประโยชน์อย่างไร

 

ซิทอัพ คืออะไร

การซิทอัพ คือ การออกกำลังกายบริหารหน้าท้องที่จะทำให้กล้ามเนื้อแกนกลางของลำตัวให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งกล้ามเนื้อส่วนนี้นั้น เป็นส่วนที่จะโอบล้อมลำตัว และกระดูกเชิงกราน มีความสำคัญอย่างมากในการที่จะช่วยรักษาความมั่นคงให้แก่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการยืดเหยียด งอตัว และเอื้อมตัวก็ตาม นอกจากนี้แล้ว การสร้างกล้ามเนื้อแกนกลางของลำตัว ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาท่าทางของร่างกาย และอาจจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นหลังส่วนล่างได้อีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ : วิธีออกกำลังกาย 8 ประเภทที่ดีที่สุด สำหรับการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพดีระยะยาว

 

ประโยชน์การเล่นซิทอัพ

ซิทอัพนั้นเป็นการออกกำลังกายที่จะช่วยในเรื่องของการบริหารกล้ามเนื้อได้หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็น  คอ หน้าอก กล้ามเนื้อข้อต่อ สะโพก และหลังส่วนล่าง การซิทอัพไม่ใช่เพียงแค่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้องเท่านั้น การซิทอัพยังมีส่วนช่วยในเรื่องของการเผาผลาญแคลอรีได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงยังช่วยให้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวนั้นมีความแข็งแรงขึ้น และจะช่วยเสริมโครงสร้างของร่างกาย ทำให้มีบุคลิกและรูปร่างที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องทำการลดน้ำหนักนั้นเอง และยังมีประโยชน์มากมาย ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ความแข็งแกร่งของแกนกลาง

ความแข็งแรงของแกนกลางลำตัว เรียกได้ว่าเป็นจุดแข็ง หรือจุดสนใจสำหรับคนเล่นซิทอัพเลย การซิทอัพจะช่วยในเรื่องของการเสริมความแข็งแรง กระชับ และปรับแกนกลางของลำตัว ซึ่งนอกจากจะช่วยในเรื่องของการเสริมความแข็งแรงแล้ว การซิทอัพยังช่วยลดความเสี่ยงของอาการปวดหลัง และการบาดเจ็บได้

 

2. สมรรถภาพทางกาย

การซิทอัพ จะช่วยให้กล้ามเนื้อแกนกลางที่แข็งแรงเชื่อมโยงกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทำให้ร่างกายนั้นสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น แกนกลางที่แข็งแรงขึ้นช่วยให้คุณนั้นมีท่าทาง และรูปร่างที่เหมาะสมมากขึ้น และการซิทอัพจะทำให้คุณออกกำลังอื่น ๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย และยังช่วยให้คุณเหนื่อยน้อยลงเมื่อออกกำลังกายแบบอื่น ๆด้วยเช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ความสมดุล และความมั่นคงที่ดีขึ้น

แกนกลางที่แข็งแรงขึ้นจะช่วยให้ร่างกายของคุณนั้นมีความสมดุล และมีความมั่นคงในขณะที่เคลื่อนไหว และยังช่วยให้กล้ามเนื้อเชิงกราน หลังส่วนล่าง และสะโพกทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อหน้าท้องได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย แล้วการซิทอัพจะช่วยทำให้ร่างกายของคุณนั้นมีความสมดุลที่ดี และยังทำให้คุณนั้นมีโอกาสน้อยที่จะหกล้มด้วย

 

4. เพิ่มความยืดหยุ่น

การซิทอัพจะทำให้สะโพกและหลังของคุณมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งความยืดหยุ่นที่เพิ่มมากขึ้นยังจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนพลังงาน และยังเพิ่มระดับพลังงานในร่างกายของคุณได้อีกด้วย แล้วการทำซิทอัพยังจะช่วยเพิ่มในเรื่องของความคล่องตัว และลดความตึงเครียดของคุณอีกด้วยนะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ท่าทางที่ดีขึ้น

การสร้างแกนกลางที่แข็งแรงสามารถช่วยให้สะโพก กระดูกสันหลัง และไหล่อยู่ในแนวเดียวกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการปรับท่าทางให้ดียิ่งขึ้น ประโยชน์ของท่าทางที่ดีที่นี่หมายถึง การลดความเจ็บปวด และความตึงเครียดให้น้อยลง และรับพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น และยังช่วยให้ร่างกายหายใจได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

 

6. ลดความเสี่ยงของอาการปวดหลังและการบาดเจ็บ

การซิทอัพนอกจากจะช่วยในเรื่องของท่าทางที่ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับหลังส่วนล่าง สะโพก และเชิงกราน แกนกลางที่มีความแข็งแรงจะช่วยให้มีจุดศูนย์กลางที่มีความมั่นคงยิ่งขึ้น และช่วยทำให้อาการปวดหลังน้อยลงอีกด้วย

 

7. การเสริมความแข็งแรงของไดอะแฟรม

การซิทอัพเป็นวิธีที่ดีในการฝึกการหายใจแบบกะบังลม การซิททำให้เกิดการกดทับของช่องท้อง ซึ่งอาจส่งผลดีต่อไดอะแฟรมของคุณ กะบังลมที่แข็งแรงและดีต่อสุขภาพสามารถปรับรูปแบบการหายใจของคุณได้ ทั้งนี้ ได้มีการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายหน้าท้องหลายครั้ง ในแง่ของความดันกะบังลม พบว่าการซิทอัพมีประโยชน์ในการเสริมสร้างไดอะแฟรม และปรับการทำงานของระบบทางเดินหายใจได้

 

ซิทอัพอย่างถูกวิธี

การซิทอัพนั้นเป็นการออกกำลังกายแบบดั้งเดิม ที่จะช่วยในเรื่องของการเสริมความแข็งแรงให้กับหน้าท้อง แต่บางคนเมื่อทำซิทอัพอาจจะเกิดอาการตึง และเกร็งที่กล้ามเนื้อคอ หรืออาจจะมีอาการบาดเจ็บอื่น ๆ ตามมา ดังนั้น การซิทอัพในท่าที่ถูกวิธีจึงสำคัญอย่างมาก เพราะการซิทอัพที่ถูกวิธีจะช่วยลดอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นได้ ท่าซิทอัพที่เหมาะสม ควรมีดังนี้

  1. นอนหงาย งอเข่า และวางเท้า อย่างมั่นคงลงบนพื้น เพื่อที่จะช่วยให้ร่างกายส่วนล่างของเรานั้นมีความมั่นคง
  2. .แล้วให้นำมือขวาแตะที่ไหล่ซ้าย และนำมือซ้ายแตะที่ไหลขวา แขนทั้ง 2 ข้าง วางที่หน้าอกหรือนำมาแต่ไว้ที่หลังใบหู โดยที่ไม่ต้องวางมือแต่ให้ดึงช่วงลำคอ
  3. ให้ยกตัวขึ้นโดยงอตัวไปทางเข่า ในขณะที่กำลังยกตัวอยู่นั้น ให้ค่อย ๆ หายใจออก จากนั้นค่อย ๆ ลดตัวลงกลับสู่ท่าเริ่มต้น และในขณะที่ลดตัวลงให้หายใจเข้า
  4. ในขณะที่กำลังซิทอัพอยู่นั้น ให้เอาเท้ามาเกี่ยวกันเอาไว้ ซึ่งจะทำให้ขาช่วงล่างได้ออกแรงด้วย

 

การซิทอัพมีความเสี่ยงอะไรหรือไม่

การซิทอัพถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แกนกลางลำตัว หรือกล้ามเนื้อหน้าท้องก็ตาม คนส่วนใหญ่ที่ซิทอัพมักจะใช้กล้ามเนื้อส่วนสะโพกในการออกแรง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดแรงกดทับหมอนรองกระดูกบริเวณกระดูกสันหลังได้  และการซิทอัพนั้นมีความเสี่ยงที่สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บที่คอ และที่ส่วนหลังคอได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ตั้งครรภ์สามารถซิทอัพได้หรือไม่?

แม่ท้องหลาย ๆ คนสงสัยใช่ไหมว่า กำลังตั้งครรภ์สามารถซิทอัพได้หรือไม่? ในช่วงเวลา 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้วนั้นสามารถที่จะออกกำลังกายได้อย่างที่เคยทำอยู่ก่อนหน้านี้ได้ตามปกติรวมไปถึงการซิทอัพด้วย ถึงแม้ว่าอาการแพ้ท้องและความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นจะทำให้คุณแม่อยากที่จะออกกำลังกายน้อยลงแต่นี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากว่าคุณแม่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ 4 – 6 เดือน การออกกำลังกายต่าง ๆ อาจจะมีข้อกำหนดมากขึ้นมากกว่าเดือนแรก ๆ เพราะท่าบางที่บริหารอาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย และทารกในครรภ์ของคุณแม่ได้ และถ้าหากว่าท้องของคุณแม่นั้นเริ่มขยายใหญ่มากขึ้น คุณแม่ควรที่จะหยุดซิทอัพเอาไว้เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอาการเจ็บปวด หรือมีเลือดออก หรือว่ามีความกังวลเรื่องการซิทอัพ คุณแม่ควรที่จะหยุดทันทีและควรรีบไปพบทางแพทย์โดยด่วน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

6 ประโยชน์ของการออกกำลังกายตอนเช้า การออกกำลังกายตอนเช้าดีอย่างไร ทำไมต้องออกกำลังกายตอนเช้า

ก่อนออกกำลังกายควรกินอะไร? โภชนาการก่อนออกกำลังกายมีอะไรบ้าง

เต้นลดพุงออกกำลังกายแค่วันละ 8นาที   ประโยชน์ล้น ใช้เวลาน้อย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : healthline , pobpad

บทความโดย

Kittipong Phakklang