มารู้จัก โรคหลับไม่ตื่น (Sids) ที่คร่าชีวิตลูกน้อยของเรากันดีกว่า
โรคหลับไม่ตื่น (Sids) คือโรคอะไร แล้วสาเหตุใดบ้างที่สามารถเกิดขึ้นได้ เรามาอ่านวิธีการป้องกันให้ลูกน้อยห่างไกลจากโรคหลับไม่ตื่นหรือ Sids กันดีกว่า
ภายหลังจากที่นักการเมืองชื่อดัง เบอร์นี่ แซนเดอร์ วัย 74 ปี ชนะผลการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค Democrat เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนต่างพากันดีใจกับผลการคัดเลือกดังกล่าว เช่นเดียวกับ ซูซาน โลมาส์ แม่ของลิตเติ้ลเบอร์นี่ หรือ โอลิเวอร์ โลมาส์ วัยสี่เดือน ที่จากไปอย่างสงบ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ก่อนประกาศวันการคัดเลือก
ในช่วงระยะเวลาการหาเสียงของเหล่าบรรดาผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกผู้นำพรรค ซูซาน แม่ของหนูน้อยได้โพสต์รูปของเขาที่แต่งกายคล้ายกับ เบอร์นี่ ผ่านเฟสบุ๊คและทวิตเตอร์ เพื่อเชียร์และสนับสนุนการคัดเลือกของเบอร์นี่ทำให้หนูน้อยโอลิเวอร์นั้น กลายเป็นที่โด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน
แน่นอน พวกเขาได้มีโอกาสพบและถ่ายรูปร่วมกันบ้างตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เบอร์นี่ไปหาเสียง แต่แล้วเรื่องไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อหนูน้อยเบอร์นี่ ต้องจากไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยโรคหลับไม่ตื่นในทารก หรือโรค Sids
“ตลอดเวลาที่ผ่านมา โอลิเวอร์ เป็นเด็กร่าเริง และมีสุขภาพแข็งแรง ทุกคนต่างรักและเอ็นดูเขามา แต่น่าเศร้าที่เขาต้องมาจบชีวิตเร็วเกินไปด้วยโรคนี้” ซูซานกล่าว
และเธอก็ได้ลงข้อความไว้อาลัยให้กับหนูน้อยเบอร์นี่ผ่านเฟสบุ๊คว่า “ลูกรักของแม่ แม่อยากให้ลูกรู้ว่า แม่รักลูกมาก และมากที่สุดเลยก็ว่าได้ แม่รักลูกหมดทั้งกายและวิญญาณ และแม่รู้ว่า พระเจ้าคงจะอนุญาตให้ลูกอยู่ใกล้ ๆ เรา”
และเมื่อเบอร์นี่ทราบข่าว ก็เสียใจกับการจากไปของหนูน้อยเช่นเดียวกัน
ทำความรู้จักกับโรคหลับไม่ตื่น หรือ Sids ได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
โรคหลับไม่ตื่น หรือSIDs คืออะไร?
SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรืออาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก เมืองไทยเรียกว่าโรคไหลตายในทารก คร่าชีวิตเด็กกว่าสามพันคนต่อปี เด็กที่เป็นเหยื่อของ SIDS นี้มักเป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงดี พ่อแม่เอาลูกเข้านอนแต่ลูกก็หลับไม่ตื่นอีกเลย เป็นการเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ เรื่องเลวร้ายนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเวลา
สาเหตุการเกิด SIDS
ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าสาเหตุที่ก่อให้เกิด SIDS คืออะไร สิ่งที่เรารู้คือเด็กจะหยุดหายใจและไม่สามารถที่จะทำให้ตัวเองตื่นตัวจนกลับ มาหายใจได้อีกครั้ง SIDS มักเกิดขึ้นในเด็กอายุระหว่าง 2-4 เดือน แต่ก็มีบางกรณีที่เกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุมากกว่าหนึ่งขวบ 3 ใน 5 เกิดขึ้นกับเด็กผู้ชาย และเด็กที่เสี่ยงกับการเสียชีวิตจาก SIDS คือ เด็กที่คลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวน้อย หรือมีคนใกล้ชิดสูบบุหรี่
คลิกเพื่ออ่านวิธีการป้องกันได้ที่หน้าถัดไป
วิธีการป้องกันให้ลูกน้อยห่างไกลจากโรคหลับไม่ตื่นหรือ Sids
1. ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่กล่าวว่า ควรให้เด็กนอนหงาย เพราะเด็กจะสามารถหายใจเอาอากาศที่มีปริมาณออกซิเจนได้มากกว่าเด็กที่นอน คว่ำ แต่ในสองสามปีที่ผ่านมา เชื่อว่าเด็กควรนอนคว่ำเพื่อป้องกันการสำลักน้ำลายเข้าไปในปอดขณะนอนหลับ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดSIDS
2. ต้องแน่ใจว่าเด็กได้นอนบนที่นอนที่แข็งพอ
3. อย่าให้ลูกนอนบนที่นอนที่อ่อนยวบ ย้ายตุ๊กตาและผ้าห่มที่หลวมจนเกินไปออกจากเตียงเวลาที่ลูกหลับ ให้ใช้ผ้าห่มที่สามารถหายใจผ่านได้เพื่อป้องกันเวลาที่ลูกนอนแล้วผ้าห่มมา คลุมหน้า หากคุณต้องการใช้แผ่นกันชนรอบเตียงลูก ควรใช้ผ้าที่ทอเหมือนผ้าตาข่ายที่สามารถหายใจผ่านได้ ต้องแน่ใจว่าแผ่นกันชนเตียงติดตั้งแบบสอดเข้าและออกสลับกันรอบลูกกรงเตียง เพื่อทำให้มันแน่นและมั่นคงไม่หลุดลงมาคลุมหน้าลูกน้อย
4. ห้องนอนลูกควรมีอุณหภูมิที่เย็นพอ ไม่อุ่นหรืออบอ้าวจนเกินไป เพราะอากาศร้อนอบอ้าวจะทำให้หายใจได้ลำบากขึ้น
5. ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์อย่างแน่ชัด แต่ผลวิจัยบางอันชี้ให้เห็นว่านมจากเต้าของแม่สามารถลดความเสี่ยงของ SIDS ได้ นมแม่เป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพดีของลูกน้อยในหลาย ๆ ด้าน เพราะฉะนั้นแม้ไม่ได้รับการพิสูจน์ ก็ไม่มีอะไรเสียหายที่จะให้ลูกกินนมจากเต้า
6. อย่าให้ลูกมานอนเตียงเดียวกับคุณ มีสิ่งปกคลุมหลายอย่างที่ใหญ่ไปสำหรับลูกน้อยซึ่งมันจะเพิ่มความเสี่ยงที่ เครื่องนอนจะมาทับหรือคลุมลูกคุณได้
7. ให้ลูกน้อยของคุณใช้จุกนมปลอมเพื่อการนอนหลับอย่างสบาย การดูดจุกนมจะช่วยให้การหายใจสม่ำเสมอ
มันสามารถเกิดขึ้นได้แม้จะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดีที่สุด
แม้ว่าคุณจะทำตามคำแนะนำในการป้องกัน SIDS เป็นอย่างดี ในความเป็นจริงแล้วก็ยังมีเด็กที่เสียชีวิตจาก SIDS แม้ว่าผู้ปกครองจะทำสิ่งทุกอย่างอย่างถูกต้อง เราหวังว่าซักวันหนึ่งเราจะทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะนี้และสามารถ นำไปสู่วิธีการรักษาที่ถูกวิธี
ที่มา: Theguardian และ Hollywoodreporter
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกน้อยนอนลืมตาเป็นเรื่องปกติหรือเปล่า
ลูกนอนหลับยากทำยังไง? วิธีทําให้ลูกหลับง่ายตอนกลางคืน แม่จะได้นอนสักที!
วิธีทําให้ลูกหลับง่ายตอนกลางคืน พร้อมคาถากล่อมลูกนอน แก้ปัญหาลูกนอนกลางวันนาน ตารางการนอนของทารก