นิทานเด็กเลี้ยงแกะ แบบเข้าใจง่าย 2 ภาษา ไทย อังกฤษ เสริมพัฒนาการ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อต้องการจะเล่านิทานก่อนนอนให้ลูกฟัง นิทานเด็กเลี้ยงแกะ คงเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่ผู้ปกครองไม่ควรพลาด ด้วยเนื้อเรื่องที่สั้นได้ใจความ เข้าใจง่าย และสอนให้ลูกเข้าใจได้อย่างซื่อตรงที่สุดเรื่องหนึ่ง

 

นิทานเด็กเลี้ยงแกะ เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน

ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่สงบสุข มีเด็กเลี้ยงแกะคนหนึ่งที่คอยเฝ้าดูแลฝูงแกะฝูงหนึ่งให้รอดพ้นจากหมาป่า แต่ด้วยความเบื่อหน่ายในหน้าที่ของตนเอง เด็กเลี้ยงแกะจึงต้องการหาอะไรสนุก ๆ ทำ เด็กเลี้ยงแกะจึงคิดกลอุบายเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เขาวิ่งเข้าไปกลางหมู่บ้าน และตะโกนออกมา

“ช่วยด้วย ๆ ฝูงหมาป่ากำลังจะมากินฝูงแกะของผม” เมื่อชาวบ้านได้ยินสิ่งที่เด็กชายพูด ทุกคนต่างพากันหยิบจับอาวุธ หรือข้าวของใกล้ตัวเพื่อพากันไปไล่หมาป่า ก่อนที่หมาป่าจะกินแกะของเด็กชายจนหมดฝูง

แต่เมื่อชาวบ้านไปถึงกลับพบว่าไม่มีหมาป่าแม้แต่ตัวเดียว ฝูงแกะนั้นก็ยังคงอยู่สบายดี เด็กเลี้ยงแกะที่เห็นหน้าชาวบ้านมึนงงก็หัวเราะออกมา พร้อมกับพูดว่า

“ฮ่า ๆ ๆ ๆ หลอกคนอื่นมันสนุกแบบนี้เองเหรอเนี่ย” เมื่อชาวบ้านได้ยินดังนั้น ทุกคนต่างก็พากันโกรธเด็กชาย ทุกคนรีบกลับบ้านไปทำหน้าที่ของตนเองดังเดิม ปล่อยให้เด็กชายหัวเราะชอบใจอยู่คนเดียว หลังจากวันนั้นเด็กชายยังคงหลอกชาวบ้านแบบนี้อยู่อีกหลายครั้ง และชาวบ้านก็มาช่วยเขาทุกคนครั้งเช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

จนกระทั่งวันหนึ่ง ขณะที่เด็กเลี้ยงแกะกำลังเฝ้าแกะอยู่นั้น เขาก็ได้เห็นหมาป่ากำลังวิ่งมุ่งตรงมาที่ฝูงแกะ เขาตกใจมากจึงตัดสินใจรีบวิ่งไปที่หมู่บ้านเพื่อบอกคนอื่น ๆ อีกครั้ง

“ช่วยด้วย ๆ ฝูงหมาป่ากำลังจะมากินฝูงแกะของผม” แม้ชาวบ้านจะได้ยินแบบนั้น แต่ก็ไม่มีใครตัดสินใจไปช่วยเด็กชายเลี้ยงแกะเลย เพราะทุกคนคิดว่าเขาโกหกเหมือนกับครั้งก่อน เด็กเลี้ยงแกะพอเห็นว่าไม่มีใครยอมไปช่วย จึงรีบกลับไปยังฝูงแกะ เมื่อเด็กเลี้ยงแกะกลับไปถึงก็พบว่าไม่มีแกะเหลือแล้ว ถูกหมาป่าไล่จับกินไปจนหมด เด็กเลี้ยงแกะจึงพูดกับตนเอง

“เพราะฉันชอบโกหกทุกคน ตอนนี้เลยไม่มีใครเชื่อฉันเลย เป็นความผิดของฉันเอง ฮือ ๆ ๆ ”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ไม่มีใครเชื่อคนที่ชอบโกหก

นิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะสอนให้รู้ว่า “ไม่มีใครเชื่อคนที่ชอบโกหก” การโกหกบ่อย ๆ ต่อหน้าคนอื่น จะทำให้ความเชื่อใจของผู้อื่นที่มีต่อเราค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ คนรอบตัวจะเริ่มมองว่าสิ่งที่เราบอกอาจไม่ใช่เรื่องจริง แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่งที่เราพูดความจริงก็จะไม่มีใครเชื่อ เพราะก่อนหน้านี้เราโกหกบ่อยเกินไป ดังนั้นเด็ก ๆ ไม่ควรทำตัวเหมือนเด็กเลี้ยงแกะ หากเด็กเลี้ยงแกะพูดความจริงแต่แรก ไม่โกหกคนอื่นบ่อย ๆ เมื่อหมาป่าโจมตีฝูงแกะจริง ๆ ในตอนท้ายเรื่อง ชาวบ้านทุกคนก็คงพากันมาช่วยเด็กเลี้ยงแกะแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : นิทานก่อนนอนอังกฤษ-ไทย Gulliver's Travels กัลลิเวอร์ผจญภัย

 

วิดีโอจาก : Aesop fable for kids

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

นิทานเด็กเลี้ยงแกะสำหรับฝึกภาษาอังกฤษ

Shepherd boy, who watched a flock of sheep near a village, He was so bored that he came up with a trick. He brought out the villagers three or four times by crying out.

“Wolf! Wolf !” and when his neighbors came to help him, When the villagers know shepherd boy lying, Shepherd boy laughed at them for their pains.

One day the wolf actually appeared. The Shepherd-boy, now really alarmed and shouting in fear.

“Pray, do come and help me, the Wolf is killing the sheep” But no one believed him.

The Wolf, having no cause of fear and ate all the sheep. Shepherd boy blames himself for lying to others

บทความที่เกี่ยวข้อง : นิทานเด็กภาษาอังกฤษ Frankenstein นักสร้างสัตว์ประหลาด

 

 

5 คำศัพท์ภาษาอังกฤษจากนิทานเด็กเลี้ยงแกะ

คำศัพท์ คำอ่าน คำแปล
Shepherd boy เชฟ-เพิด-บอย เด็กเลี้ยงแกะ
believed บี-ลีฟ เชื่อ
Wolf วูฟ หมาป่า
Help เฮล ช่วยเหลือ
Lying ลาย-อิ่ง โกหก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเล่านิทานให้ลูกฟังในรูปแบบต่าง ๆ เป็นตัวเลือกที่ดีในการเสริมสร้างการเรียนรู้ของวัยซนได้ดี ดังนั้นผู้ปกครองอย่าพลาดกิจกรรมนี้ ที่สามารถหาโอกาสทำได้ไม่ยาก โดยเฉพาะก่อนเข้านอน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

นิทานก่อนนอนอังกฤษ-ไทย David Copperfield ชีวิตของเดวิด คอปเปอร์ฟิลด์

นิทานเด็กภาษาอังกฤษ Treasure Island ผจญภัยเกาะมหาสมบัติ

นิทานก่อนนอนอังกฤษ-ไทย Robin Hood เจ้าชายนักขโมยแห่งอังกฤษ

ที่มา : edufirstschool

บทความโดย

Sutthilak Keawon