เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนทราบกันดีว่า “บุหรี่” ไม่ได้มีอันตรายต่อผู้สูบเท่านั้น แต่ “ควันบุหรี่มือสอง” และ “มือสาม” ก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้เทียบเท่าผู้สูบเช่นกัน โดยเฉพาะ ควันบุหรี่มือสองในบ้าน ที่ปฏิเสธได้ยากอยู่เหมือนกันค่ะว่าอาจมาจาก “คุณพ่อ” เป็นส่วนมาก และมีส่วนอย่างยิ่งในการ ทำร้ายลูก-เมีย สร้างความเสี่ยงโรคในผู้หญิงและเด็ก ซึ่ง theAsianparent ขออนุญาตยกสถิติตัวเลขมาให้ดูกัน ดังนี้ค่ะ
—————————————————
- ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า บุหรี่คร่าชีวิตประชากรโลกมากถึง 8 ล้านคนต่อปี โดย 1.2 ล้านคน คือผู้ที่สัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง
- มีการประเมินว่า ควันบุหรี่มือสอง ส่งผลให้เด็กเสียชีวิตมากถึง 65,000 รายต่อปี
- เด็กมีความเสี่ยงสูงกว่า 50-100% ที่จะเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน เช่น โรคหอบหืด และการเสียชีวิตแบบฉับพลัน
- เด็กที่ได้รับไอบุหรี่ไฟฟ้าในบ้าน มีโอกาสป่วยเป็นหลอดลมอักเสบเพิ่ม 40% และอาการหายใจลำบากเพิ่ม 53%
- ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า 23.7% ของคนสูบบุหรี่ มีการสูบในบ้าน ทำให้มีเด็กไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคนเป็นอย่างน้อย ได้รับ ควันบุหรี่มือสองในบ้าน
- ควันบุหรี่มือสองในบ้าน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กเล็ก อายุ 6 เดือน – 5 ปี ภาวะหอบเฉียบพลัน ซึ่ง 67% มีโอกาสเจ็บป่วยแบบฉุกเฉินซ้ำ และ 32% มีอาการหนักจนต้องนอนโรงพยาบาล
—————————————————
เห็นตัวเลขสถิติแล้วบอกเลยค่ะว่า ภัยเงียบจากควันบุหรี่นั้น น่ากลัวกว่าที่พวกเราจะคาดคิดมากทีเดียว
สารบัญ
ควันบุหรี่มือสอง คืออะไร? ร้ายกาจแค่ไหน
ควันบุหรี่มือสอง คือ การได้รับควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบ ทั้งจากควันที่ลอยอยู่ปลายมวนบุหรี่ และจากการพ่นควันออกมาอยู่ในอากาศรอบตัวเรา เป็นควันบุหรี่ที่ประกอบด้วยสารพิษต่างๆ เช่นเดียวกับควันบุหรี่ปกติที่คนสูบบุหรี่สูดเข้าสู่ร่างกาย เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ แอมโมเนีย อาร์เซนิค สารปรอท และฟอร์มาลดีไฮด์ และสารก่อมะเร็งอีกหลายชนิด ดังนั้น ผู้ที่สูดควันบุหรี่มือสองเข้าไปจึงได้รับอันตรายและเกิดโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากควันบุหรี่ได้เช่นเดียวกัน โดยคนที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง ส่วนใหญ่จะได้รับควันอย่างน้อย 1% ของที่คนสูบบุหรี่ได้รับ
และที่น่ากังวลคือ 2 ใน 5 ของผู้สูบบุหรี่ มีการสูบบุหรี่ในบ้าน โดยร้อยละ 27.8 สูบบุหรี่ในบ้าน “ทุกวัน” จนควันบุหรี่นั้นส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัว
นอกจากนี้ ยังมี “บุหรี่มือสาม” ที่อันตรายไม่แพ้กัน โดยเป็นควันบุหรี่อันเกิดจากอนุภาคละอองไอสารเคมีที่เป็นพิษจากควันบุหรี่ที่ตกค้าง เกาะอยู่ตามเส้นผม ผิวหนัง เสื้อผ้าของผู้สูบ และวัสดุในบ้านเขาสัมผัส ทั้งที่นอน หมอน ผ้าม่าน พรม โซฟา หรือตามช่องแอร์ ซึ่งจะคงอยู่ได้นานหลายชั่วโมงแม้ว่าควันบุหรี่จะจางไปนานแล้ว ซึ่งส่งผลต่อสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะทารก เด็กเล็ก และหญิงตั้งครรภ์อันเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดในการรับสารพิษที่ก่อมะเร็ง อีกทั้ง “การสูบบุหรี่ในบ้าน” ยังมีผลต่อ “การเริ่มสูบบุหรี่” ของลูกเมื่อโตขึ้น เนื่องจากสูบตามพ่อแม่ด้วย
ควันบุหรี่ประเภทต่างๆ |
|
ควันบุหรี่มือหนึ่ง | ควันที่ผู้สูบบุหรี่ได้รับผลกระทบโดยตรง สารพิษที่ได้รับจากควันมือหนึ่งมักเข้าสู่ร่างกายทางตรง ก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมา |
ควันบุหรี่มือสอง | ควันที่ผู้ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่สูดดมควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกาย |
ควันบุหรี่มือสาม | การรับสารพิษในบุหรี่ที่เกาะติดตามเฟอร์นิเจอร์ ผนัง เสื้อผ้า ผ้าห่ม หมอน ฝุ่น ฯลฯ ในบ้าน ในรถยนต์ และจะคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นอีกนาน สารพิษจากควันบุหรี่มือสามเป็นอันตรายเมื่อถูกดูดซึมเข้าทางผิวหนังจากการสัมผัส รวมทั้งปนเปื้อนกับอากาศ หรือจะทำปฏิกิริยากับก๊าซต่างๆ ในบ้าน ทำให้อากาศเป็นพิษ เป็นอันตรายเมื่อสูดดมเข้าไป โดยเฉพาะเด็ก เพราะมีความไวต่อสารแม้ในปริมาณน้อย |
สารอันตรายจาก ควันบุหรี่มือสองในบ้าน ทำร้ายลูก-เมีย
หากถามว่า มีอะไร? ใน ควันบุหรี่มือสอง ก็ต้องบอกว่า มีสารอันตรายแบบเดียวกับควันที่คนสูบบุหรี่สูดเข้าไปเลยค่ะ นั่นคือ สารเคมีกว่า 7,000 ชนิด โดยที่ 70 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง
ทั้งนี้ มีการศึกษาของ “โรงพยาบาลรามาธิบดี” ในครอบครัวที่มีเด็กเล็ก วัยแรกเกิด – 6 ปี จำนวน 75 ครอบครัว ที่มีคนในครอบครัวสูบบุหรี่ แล้วทำการตรวจหาสารพิษจากบุหรี่ที่เรียกว่า “สารโคตินิน” ในปัสสาวะของเด็ก โดยสารชนิดนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการได้รับควันพิษมาภายในเวลา 48 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจ
และผลการศึกษาพบว่า เด็กมากถึง 76% หรือจำนวน 57 ราย ตรวจพบสารพิษทั้งที่ได้รับมาในลักษณะเป็นบุหรี่มือสอง และมือสาม โดยมีความเสี่ยงสูงในการอยู่อาศัยกับผู้สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวัน ไม่ว่าจะสูบในบ้านหรือนอกบ้านก็ตาม โดยเด็กที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนต์ และแฟลต ที่มีคนสูบบุหรี่ พบว่ามีสารโคตินินสูงกว่าเด็กที่อาศัยในบ้านเดี่ยว หรือทาวน์เฮาส์ที่มีคนสูบบุหรี่ มากถึง 2 เท่า ซึ่งสารพิษจากบุหรี่ที่ได้รับล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อสติปัญญาและสุขภาพของเด็กทั้งสิ้น โดยตัวอย่างสารอันตรายที่อยู่ใน ควันบุหรี่มือสองในบ้าน ทำร้ายลูก-เมีย มีดังนี้
นิโคติน(Nicotine) | • เป็นสารหลักที่พบในควันบุหรี่ ส่งผลให้คนที่ได้รับสารนี้เข้าไปรู้สึกเสพติด มีผลกระทบต่อระบบประสาท และการทำงานของหัวใจรวมไปถึงหลอดเลือด |
ไนโตรเจนไดออกไซด์(Nitrogen Dioxide) | • ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง เป็นสารที่เข้าไปทำลายเยื่อบุหลอดลมและถุงลม |
คาร์บอนมอนอกไซด์(Carbon Monoxide) | • ทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจนในเลือด มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด |
ไซยาไนด์ (Cyanide) | • มักพบในยาเบื่อหนู ทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจนในร่างกาย |
ทาร์ (Tar) | • เป็นละอองน้ำมันจากการเผาไหม้เมื่อสูบบุหรี่ ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด ซึ่งสารเหล่านี้ก่อให้เกิดมะเร็งได้ |
แอมโมเนีย (Ammonia) | • ก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้มีอาการแสบตา แสบจมูก และไอ |
โพรพิลีน (Propylene) | • กระทบต่อระบบทางเดินหายใจ อาจเป็นสาเหตุของอาการหอบ หืด และภูมิแพ้ |
ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) | • เป็นสารที่เป็นพิษ และเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง และโรคอื่นๆ |
โรคร้ายที่มากับควันบุหรี่
เมื่อสิ่งที่อยู่ในควันบุหรี่คือ สารพิษ ดังนั้น สิ่งที่ตามมาจากการสูดดมหรือได้รับสารพิษจากบุหรี่ก็คือ “โรคร้าย” เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอด และโรคทางเดินหายใจ
-
โรคมะเร็ง
สารพิษในควันบุหรี่กระตุ้นการเกิดมะเร็งได้ “ทุกชนิด” โดยเฉพาะ “มะเร็งปอด” ที่มักพบในผู้สูบโดยตรง ซึ่งผู้ได้รับควันบุหรี่มาความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 20-30% นอกจากนี้ ยังมีมะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะอาหาร และมีความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียง และมะเร็งช่องปาก มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ถึง 2 เท่า เสี่ยงต่อมะเร็งลำคอมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ 3 เท่า
-
โรคหัวใจ
มีภาวะอัตราการเต้นของหัวใจผิดจังหวะเนื่องจากได้รับสารพิษในควันบุหรี่ ทำให้เป็นโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดหรือหลอดเลือดได้ โดยมีความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 25-30% กรณีผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ อาการของโรคจะเพิ่มมากขึ้น
-
โรคถุงลมโป่งพอง
การได้รับความบุหรี่มือสองในบ้านเป็นประจำทุกวัน เป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองได้
-
โรคปอดอักเสบ
การสูบบุหรี่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง ส่งผลให้สามารถเป็นโรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อได้
ควันบุหรี่มือสองในบ้าน ทำร้ายลูก-เมีย เสี่ยงโรคในผู้หญิงและเด็ก |
|
ควันบุหรี่มือสอง
ทำร้ายลูก |
|
ควันบุหรี่มือสอง
ทำร้ายภรรยา – ผู้หญิงในบ้าน |
|
วิธีป้องกันและกำจัดสารพิษจาก ควันบุหรี่มือสองในบ้าน
การป้องกันควันบุหรี่ที่ดีที่สุดคือ จัดการที่สาเหตุของปัญหา คือ การไม่สูบหรือหลีกเลี่ยงผู้ที่สูบมากที่สุด หากจำเป็นต้องใกล้ชิดหรืออยู่ในบริเวณที่มีควันบุหรี่มือสองจากคนในบ้าน ให้ทำการกำจัดสารพิษตกค้างให้ได้มากที่สุด ดังนี้
- ทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ ที่มีการสูบเพื่อป้องกันสารพิษตกค้าง
- หากเป็นผู้สูบ ให้สูบในสถานที่ที่มีการถ่ายเทของอากาศอยู่ตลอดเวลา
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่ในบริเวณนั้นๆ
- กรณีสูบบุหรี่มาจากนอกบ้าน ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเข้าบ้าน เพราะบนเสื้อผ้าและกลิ่นตัวจะมีละอองของบุหรี่ ทันทีที่คุณพ่อ(หรือคุณแม่)ที่สูบบุหรี่ อุ้มลูก ทารกจะสูดดมกลิ่นแปลกปลอมนี้เข้าไปสะสมจนเกิดอันตรายได้
ควันบุหรี่มือสอง ไม่เพียงเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะเด็กและผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศ และทำลายชั้นบรรยากาศในบริเวณที่มีการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องด้วย การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดบุหรี่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว
ที่มา : ddc.moph.go.th , www.thaihealth.or.th , www.rama.mahidol.ac.th , www.hfocus.org , www.sikarin.com , www.ashthailand.or.th
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ประกันสุขภาพเด็กแรกเกิด สำคัญยังไง? เลือกแบบไหนให้เหมาะกับลูกน้อย
ลูก 1 เดือน กินนมแม่ แต่ไม่ถ่ายหลายวัน ท้องผูกรึเปล่า ผิดปกติไหม
ลูกไอไม่หยุด ทำไงดี มีอันตรายไหม เมื่อไรควรพาไปหาหมอ?