หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร รักษาได้หรือไม่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หัดเยอรมัน โรคหัดเยอรมันจะมีความคล้ายกับ โรคหัด (Measles Rubeola) โดยที่มักจะมีอาการออกผื่น มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตเหมือนกัน แต่เป็นการคิดเชื้อไวรัสคนละชนิดแล้วก็ยังมีความรุนแรงของโรคมากกว่า โดยทั้งนี้ในประเทศไทยอาจจะมีชื่อเรียกอื่นว่า โรคเหือด หรือว่าโรคหัด 3 วัน และโรคนี้ก็ยังสามารถที่จะพบได้ทั้งตัวเด็กหรือผู้ใหญ่เองก็เช่นกัน

 

บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย นพ. วรณัฐ ปกรณ์รัตน์ (แพทย์จาก Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน) | ตุลาคม 2565

 

อาการของโรค หัดเยอรมัน

อาการที่สามารถจะสังเกตเห็นได้ในช่วงแรกค่อนข้างที่จะมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสทั่ว ๆ ไป ซึ่งหลังจากที่ได้รับเชื้อประมาณ 1-2 วันผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการดังนี้

  • มีไข้ต่ำ หรือปานกลาง (ประมาณ37-38 องศาเซลเซียส)
  • มีต่อมน้ำเหลืองโต ที่เป็นโดยเฉพาะบริเวณลำคอ ท้ายทอย หรือหลังหู
  • มีตุ่มนูน และมีผื่นแดงขึ้นที่บนใบหน้าก่อนแล้วค่อย ๆ ที่จะลามลงตามผิวหนังส่วนต่าง ๆ เช่น แขน ขา และจะค่อย ๆ หายไป โดยที่ผื่นมักจะมีลักษณะกระจายอยู่บนลำตัว ไม่กระจุกหรือขึ้นเป็นกลุ่ม และเมื่อไหร่ที่ผื่นหายไม่ค่อยทิ้งรอยแผลจากผื่นทิ้งไว้ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการคันตามผิวหนังร่วมด้วย
  • ปวดศีรษะ
  • ไม่ค่อยอยากกินอาหาร หรือเบื่ออาหาร
  • เยื่อบุของตามีอาการอักเสบ จนทำให้ตาแดง
  • คัดจมูก มีน้ำมูกไหล
  • ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ตามร่างกายมีอาการบวม
  • ปวดตามข้อ และข้อต่อบวม

แต่อย่างไรก็ตามแล้ว ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการของโรคเลยก็ว่าได้ อาการของโรคนั้นถ้าหากว่าเกิดขึ้นกับเด็กจะมีความร้ายแรงน้อยกว่า เมื่อเกิดกับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน ทั้งนี้แล้วอาการของโรคนี้จะอยู่ไม่นานประมาณ 3-5 วัน ยกเว้นในกรณีที่มีต่อมน้ำเหลืองมาอาการบวมอาจจะเป็นอยู่นานกว่าปกติ ดังนั้น หากว่าพบอาการคล้ายกันกับที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นนั้นก็ควรที่จะรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์อาจจะส่งผ่านเชื้อไปยังลูกน้อยที่อยู่ภายในครรภ์ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคที่มากับหน้าฝน มีอะไรบ้าง มาดูวิธีรับมือและป้องกันลูกน้อยจากโรคเหล่านี้กัน!!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุของ โรค หัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมัน เกิจากเชื้อของไวรัสที่มีชื่อเรียกว่า รูเบลล่า ไวรัส ที่มีอยู่ในน้ำมูกหรือน้ำลายของผู้ป่วย ซึ่งสามารถที่จะแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายมากด้วยการที่จาม ไอ สูดเอาเชื้อที่อยู่บริเวณของอากาศ เมื่อมีอาการที่ติดต่อกับผู้ที่ป่วยเป็นไวรัสชนิดนี้ โดยรวมไปถึงการใช้สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสจากผู้ที่ป่วย หากว่าเป็นสตรีที่กำลังตั้งครรภ์จะสามารถที่จะส่งผ่านเชื้อไวรัสชนิดนี้ให้ลูกน้อยในครรภ์ได้โดยทางกระแสเลือดนั้นเอง

ระยะของการฟักตัวของโรคจะอยู่ในช่วง 15-24 วัน โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 16-18 วัน ผู้ป่วยก็สามารถที่จะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ตั้งแต่ที่มีเชื้อเข้าสู่ร่างกายถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการแสดงออกไป จนถึงหลังอาการของผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและหายได้โดยประมาณ 2-3 สัปดาห์

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคโปลิโอ มีอาการอย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การวินิจฉัยโรคหัดเยอรมัน

หากว่าแพทย์กำลังสงสัยว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่ทำให้เกิด โรคหัดเยอรมัน ในขั้นตอนแรกจะมีการสอบถามข้อมูลเบื้องต้น และตรวจร่างกายภายนอกทั่ว ๆ ไป เช่น อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย ตรวจตามร่างกายว่ามีผื่นขึ้นไหม มีการติดต่อหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้หรือไม่ จากนั้นก็จะมีการตรวจน้ำลาย และตรวจเลือดเพื่อช่วยยืนยันของผลการติดเชื้ออีกครั้งหนึ่ง

 

การรักษาของโรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันยังไม่มีวิธีการรักษาในแบบเฉพาะเจาะจง แต่ก็เป็นวิธีการรักษาตามอาการเป็นหลักโดยทั่วไปแล้วอาการของโรคจะไม่ค่อนรุนแรงมาก และมักจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน แพทย์อาจจะให้มีการรักษาได้เอง จากที่บ้าน เพื่อที่จะช่วยบรรเทาอาการขึ้นได้

ในบางรายที่มีไข้ขึ้นสูง แพทย์ให้ให้รับประทานยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาไอบูโปรเฟน หรือยาไทลินอล เพื่อช่วยให้ไข้ลดลง บรรเทาอาการปวด หรือปวดเมื่อย แต่ในผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี อาจจะต้องให้รับประทานยาที่เป็นพาราเซตามอลชนิดน้ำไปก่อน และก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงยาแอสไพริน หรือต้องปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยา หากว่าอาการของไข้ไม่ลดอาจจะต้องทำการเช็ดตัวร่วมด้วยเพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายลง

นอกจากนี้แล้วอาจจะเป็นการดูแลตนเองทั่ว ๆ ไป ซึ่งแพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยในแต่ละราย เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกัน ภาวะขาดน้ำ และบรรเทาอาการไอ รวมไปจนถึงควรมีการหลีกเลี่ยงสัมผัสผู้ที่ติดเชื่ออาจจะส่งผลทำให้อาการแย่ลง ทั้งนี้แล้วควรมีการหยุดเรียน หรือทำงานไปก่อนสักระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเข้าสู่ผู้อื่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากว่าผู้ป่วยรายนั้นเป็นหญิงตั้งครรภ์ แพทย์อาจจะให้รักษาด้วยการให้สารภูมิต้านทานที่เรียกว่า ไฮเปอร์ฮีมูน กลอบูลิน เพื่อที่จะใช้ในการต้านไวรัส และบรรเทาอาการของโรคให้ดีขึ้น แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่ทารกจะได้รับเชื้อจากคุณแม่ได้ อาจจะต้องมีการพบแพทย์เป็นระยะควบคู่ไปด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : คางทูม อาการเป็นอย่างไร สาเหตุของโรคคางทูมมาจากอะไร?

 

ภาวะแทรกซ้อนของหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันเป็นโรคการติดต่อด้วยเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงระดับปานกลาง และจะไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมาก เนื่องจากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคหัดเยอรมันแล้วหรือได้รับการฉีดวัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม จะทำให้มีภูมิต้านทางของโรคนี้ตลอดชีวิต แต่สำหรับบางรายก็อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น โรคข้ออักเสบที่นิ้ว ข้อมือ ข้อเท้า และหัวเข่าที่พบเฉพาะในผู้หญิงอาจจะมีอาการอยู่ประมาณ 1 เดือน การติดเชื้อที่ใบหูจนกลายเป็นหูน้ำหนวก การอักเสบของสมองจนพัฒนาเป็นโรคไข้สมองอักเสบ หรืออาจจะเป็นโรคหัดเยอรมัน ตั้งแต่กำเนิดทารกเมื่อแม่ติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์

 

การป้องกัน โรคหัดเยอรมัน

โดยโรคหัดเยอรมันสามารถที่จะป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงในการคลุกคลีกับผู้ป่วย ซึ่งมันมีความเสี่ยงต่อการที่จะรับเชื้อมาได้โดยง่าย และก็ควรจะมีการฉีดวัคซีนโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม หรืออาจจะเรียกสั้น ๆ ว่า วัคซีนรวมเอ็มเอ็มอาร์ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้นั้นเอง

ในตามแผนของกระทรวงสาธารณสุขจะมีการฉีดวัคซีนรวม เอ็มเอ็มอาร์ ทั้งหมด 2 เข็ม โดยที่เริ่มฉีดเข็มแรกเมื่อเด็กอายุระหว่าง 9-12 เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 2.5 ปี แต่ในบางรายอาจจะมีเงื่อนไขพิเศษ เช่น เดินทางไปต่างประเทศ อยู่ในพื้นที่มีการระบาด หรือสัมผัสกับโรค แพทย์อาจจะให้คำแนะนำฉีดวัคซีนเร็วขึ้นภายใน 6 เดือนแรก และเข็บที่ 2 ภายในอายุ 2 ปี แต่ก็ควรที่จะมีระยะห่างของวัคซีนเข็มแรก และเข็มที่ 2 ประมาณ 3 เดือน

 

บทความอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง 

คอตีบคืออะไร โรคคอตีบมีอาการเป็นอย่างไร มีสาเหตุเกิดมาจากอะไร มีวิธีรักษาหรือไม่

โรคท้องร่วง อาการเป็นยังไง? วิธีดูแลรักษาเมื่อเป็นโรคท้องร่วง

โรคฮีโมฟีเลีย hemophilia คืออะไร อันตรายอย่างไร? พร้อมวิธีป้องกันรักษา

 

แหล่งที่มา : (1)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

chonthichak88