อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการเมนจะมา สัญญาณของประจำเดือน ที่คุณผู้หญิงมักเผชิญ แต่ผู้ชายอาจไม่ค่อยเข้าใจ เป็นอาการของ PMS ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาการที่พบได้บ่อย เช่น ปวดท้อง, หงุดหงิดง่าย, อยากอาหาร หรือร้องไห้ง่าย เป็นต้น อาการเหล่านี้อาจรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้มาก การเรียนรู้วิธีการรับมือจึงสำคัญ

 

อาการเมนจะมา หรือ PMS คืออะไร

“PMS (Premenstrual Syndrome)” หรือ “อาการผิดปกติก่อนประจำเดือนมา” เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลต่ออารมณ์, จิตใจ และร่างกาย เช่น มีความเครียด, ร้องไห้ง่าย, เจ็บเต้านม และหงุดหงิดง่าย เป็นต้น อาการเหล่านี้จะพบได้ในช่วง 1 – 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนของเพศหญิงที่มีการเปลี่ยนแปลงไป และอาการมักจะค่อย ๆ บรรเทาลงเมื่อประจำเดือนมา เป็นกลุ่มอาการที่พบได้เป็นปกติ แต่สามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้หญิงได้พอสมควร

 

สาเหตุของอาการก่อนประจำเดือนมา

กลุ่มอาการ PMS มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงไปของระดับฮอร์โมนเพศหญิง คือ “เอสโตรเจน (Estrogen)” และ “โปรเจสเตอโรน (Progesterone)” ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลัก นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงของสื่อประสาทในสมองเซโรโทนิน (Serotonin) ที่ส่งผลต่อระดับอารมณ์ได้, และปัญหาความเครียด หรืออาการซึมเศร้า เป็นต้น ปัจจัยบางอย่างสามารถส่งผลให้อาการ PMS รุนแรงขึ้นได้ เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ, การใช้สารเสพติด หรือมีความเครียดมากจนเกินไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีนับประจำเดือน นับวันแรกและวันสุดท้ายตอนไหนเรามีคำตอบ

 

วิดีโอจาก : Olarik Musigavong

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการก่อนมีประจำเดือน มีอะไรบ้าง

เมื่อคุณผู้หญิงกำลังจะเป็นประจำเดือน มักจะมีอาการที่สามารถสังเกตได้ ทั้งทางร่างกาย และสภาวะอารมณ์ จิตใจ ซึ่งหลายอาการสามารถสังเกตได้ชัดเจน ดังนี้

  • ด้านอารมณ์ และจิตใจ : อารมณ์แปรปรวน โมโหง่าย หงุดหงิดง่าย, มีความเครียดมากขึ้น, ร้องไห้ง่าย รู้สึกเศร้ากับเรื่องต่าง ๆ ง่ายขึ้น, มีความกังวล ไม่สบายใจ, ไม่มีสมาธิ, ไม่อยากพบเจอใคร, รู้สึกว่าตนเองนอนไม่หลับ และรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น เป็นต้น
  • ด้านร่างกาย : มีความอ่อนล้า เหนื่อยง่าย, อาจเกิดอาการบวมน้ำ, ทานอาหารเยอะจนน้ำหนักเพิ่มขึ้น, เจ็บตึงบริเวณเต้านม, สิวขึ้นง่าย, ปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อ และข้อต่อ, ปวดท้อง, ปวดศีรษะ และท้องเสีย เป็นต้น

 

อาการก่อนประจำเดือนแบบไหนที่ควรพบแพทย์

อาการช่วงก่อนมีประจำเดือน สามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ หากพบว่ารบกวนมากเกินไป จนไม่สามารถควบคุมได้ หรือกลุ่มอาการรุนแรงขึ้น ไม่หายไปตามเวลาที่เหมาะสม สามารถเข้าพบแพทย์ได้ นอกจากนี้ยังมีอาการที่รุนแรง คือ “กลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน หรือ PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder)” ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • รู้สึกเศร้าง่าย จนสิ้นหวัง มีความท้อแท้
  • มีความเครียดมากเกินไป หรือมีความคิดฆ่าตัวตาย
  • อารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง ควบคุมไม่ได้
  • ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง มีอาการเมินเฉย
  • ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถทำกิจกรรมใด ๆ ได้

อาการที่รุนแรงเหล่านี้พบได้ในช่วง 6 วันก่อนประจำเดือนมา และจะหายไปได้เอง แต่หากไม่หาย หรือส่งผลต่อชีวิตประจำวันมากจนไม่สามารถรับมือได้ ก็สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และรับคำแนะนำได้เช่นกัน

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการคนท้อง VS ก่อนมีประจำเดือน ต่างกันอย่างไร

คุณผู้หญิงอาจมีความกังวล และความสับสนว่าตนเองแค่กำลังจะมีประจำเดือน หรือมีความเสี่ยงตั้งครรภ์ เนื่องจากสัญญาณหลายอย่างมีความคล้ายคลึงกัน ยากที่จะแยกแยะออกจากกันได้อย่างชัดเจน หากมีความกังวลให้สังเกตอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการคัดเต้านม : หากเป็นอาการของประจำเดือนจะหายไปในวันที่ประจำเดือนมาวันแรก หากเป็นท้องจะมีอาการยาวนานกว่าประมาณ 3 เดือน
  • อาการปวดท้อง : ประจำเดือนจะมีอาการปวดหน้าท้อง และหลังส่วนล่าง อาจปวดรุนแรง ส่วนอาการคนท้องระยะแรกจะปวดท้องน้อย แต่จะไม่รุนแรง
  • อารมณ์แปรปรวน : อาจมีอารมณ์ไม่คงที่สำหรับอาการก่อนประจำเดือนมา เป็นนานที่สุดถึงช่วงประจำเดือนหาย อาการของคนท้องจะเป็นยาวนานกว่า บางคนเป็นไปจนถึงช่วงคลอด
  • อยากอาหาร : หากจะมีประจำเดือนจะต้องการทานอาหารทั่วไป ส่งผลให้มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น แต่คนท้องจะมีความต้องการอาหารจำเพาะชนิด หรือชอบอาหารที่มีกลิ่น เป็นต้น
  • มีความเหนื่อยล้า : มีอาการง่วงซึม นอนไม่ค่อยหลับ แต่เมื่อประจำเดือนมาจะหายไป ในด้านของคนท้องอาจเป็นยาวนานกว่า จนกระทั่งคุณแม่คลอด
  • เลือดออกบริเวณช่องคลอด : หากเป็นประจำเดือนอาจออกมาน้อย และค่อยเพิ่มขึ้นแล้วแต่บุคคล สำหรับคนท้องจะมีเลือกเล็กน้อยเพียง 1 – 3 วัน ที่เรามักรู้จักกัน คือ “เลือดล้างหน้าเด็ก” นั่นเอง

จะเห็นได้ว่าความแตกต่างของประจำเดือนกำลังจะมา กับคนท้อง คือ ระยะเวลา อาการส่วนมากของสัญญาณประจำเดือนจะหายไปเมื่อประจำเดือนมา ต่างจากอาการของคนท้อง ที่จะมีระยะเวลาที่ยาวนานกว่า และยาวนานที่สุดไปจนถึงตอนคลอด อย่างไรก็ตามหากมีความสงสัยควรตรวจครรภ์ หรือเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจจะช่วยไขข้อข้องใจได้ดีกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลือดล้างหน้ากับประจำเดือน ต่างกันอย่างไร เลือดล้างหน้ามาช่วงไหน หมายความว่าอะไร

 

 

รับมือกับอาการช่วงก่อนประจำเดือนมาอย่างไร

  • เลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น ไม่สูบบุหรี่, ไม่ดื่มสุรา, งดอาหาร และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และงดทานอาหารรสจัด เป็นต้น
  • เน้นการทานอาหารประเภทแคลเซียม, ใยอาหาร, คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน พบได้ในนม, ธัญพืช, ผัก และผลไม้ รวมไปถึงเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
  • พยายามออกกำลังกายให้ได้อย่างต่ำ 3 ครั้ง / สัปดาห์ ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป เพื่อช่วยให้ใช้เวลาได้มีประโยชน์ สามารถช่วยลดความเครียด หรือความกังวลได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อย่างน้อย 8 ชั่วโมง / วัน และทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ เมื่อมีความเครียด
  • เพื่อเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของตนเอง อาจจดบันทึกอาการในแต่ละเดือน เพื่อให้รู้ระยะเวลา และอาการโดยเฉลี่ยของตนเอง

 

หากทำตามที่เราแนะนำแล้ว ยังรู้สึกว่าอาการไม่ดีขึ้น อาการรุนแรงมากขึ้น หรืออาการไม่หายไป แม้จะมีประจำเดือน หรือประจำเดือนหมดไปแล้ว ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ และรับคำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มีประจำเดือนควรกินอะไรดี แล้วอาหารแบบไหน ที่เหมาะสม

สัญญาณเตือนโรคอันตราย บอกได้จากประจำเดือน แม่ต้องสังเกต

ประจําเดือนสีดํา ผิดปกติไหม ร่างกายป่วยอยู่หรือเปล่า สีประจําเดือน บอกสุขภาพ

ที่มา : mahidol, pobpad, vichaivej-omnoi, beyondivf

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sutthilak Keawon