คนท้องเป็นไข้เลือดออก ได้ไหม? อันตรายมากหรือเปล่า ต่อคุณแม่และลูกในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เป็นแหล่งระบาดอย่างมากของไข้เลือดออก ในปัจจุบัน นอกจากเด็ก ๆ แล้ว ก็มีผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากขึ้น และมีความอันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ ในวันนี้ เราจะให้คุณแม่ได้ทำความรู้จักและป้องกันโรคไข้เลือดออกในขณะตั้งครรภ์ เราจะมาตอบคำถามที่ว่า คนท้องเป็นไข้เลือดออก ได้ไหม? อันตรายมากหรือเปล่าต่อคุณแม่และลูกในครรภ์ ไปดูกันเลยค่ะ!

 

ไข้เลือดออก คืออะไร

ไข้เลือดออก คือโรคที่เกิดจากไวรัสเดงกี (Dengue) ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้บ่อยมากในประเทศไทยที่มีจำนวนยุงลายเยอะมาก ทำให้ประเทศไทยสามารถพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้ตลอดปี แต่มักมีการระบายหนักในช่วงฤดูฝน ที่มีจำนวนยุงลายมากเป็นพิเศษ อาการของโรคไข้เลือดออกนั้นจะแสดงอาการได้ในเฉลี่ยหลังจากถูกยุงกัด 3-15 วัน (โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 5-6 วัน) โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ติดเชื้อแต่อาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย ในอาการกับคนที่ตั้งครรภ์ จะมีอาการทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่

  • อาการไข้เลือดออก ทั้งหมด 3 รูปแบบ

    • อาการที่มีเหมือนกันนั้นก็คือ จะมีไข้สูง และอาจมีผื่นเป็นปื้น และเกิดจุดแดง ๆ คล้ายหัดตามผิวหนัง อาการนี้โดยปกติมักเกิดในเด็กเล็กมากกว่า
    • อาการนี้จะมีไข้สูงเช่นกัน และจะมีอาการปวดทั่วร่างกาย เช่น ปวดรอบศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ และอาการปวดกระดูก โดยอาการของกระดูกจะมีความรุนแรงกว่าส่วนอื่น ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนกับกระดูกจะแตก และจะมีอาการที่มีผื่นขึ้นตามตัว และมีขุดเลือดออกตามผิวหนัง เมื่อทำการตรวจโดยแพทย์แล้ว จะพบได้ว่ามีเม็ดเลือดขาวต่ำ และมีเกล็ดเลือดต่ำ
    • นอกจากจะมีไข้สูง จะยังมีอาการปวดท้อง และมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน รวมไปถึงปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อร่วมด้วย รวมไปถึงมีอาการเลือดออกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด หรือในอาการรุนแรง ยังอาจมีอาการเลือดออกในตับ ไต สมอง ฯลฯ ได้ด้วย โดยอาการเหล่านี้เป็นอาการรุนแรง และมีอันตรายถึงชีวิต ควรรีบพบแพทย์โดยด่วนนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไข้เลือดออก คืออะไร มีอาการอะไรบ้าง เป็นภัยร้ายหน้าฝนที่ควรระวัง!!

 

 

อาการของโรคไข้เลือดออก

อาการของโรคไข้เลือดออกนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นไปตามระยะ ในวันนี้ เราจะมาศึกษาอาการ และระยะของไข้เลือดออกกัน เพื่อให้คุณแม่สามารถสังเกตตัวเองได้ง่ายขึ้นนะคะ

  • ระยะที่ 1

    • มีไข้สูงมากกว่า 38 องศา โดยเมื่อเวลาผ่านไป 3-4 วัน ไข้ก็ยังไม่ลดลง
    • มีอาการปวดกระดูก เหมือนกระดูกจะแตก และปวดเบ้าตามาก
    • เริ่มมีอาการผื่นขึ้นตามผิวหนัง เป็นปื้น ๆ

ในการรักษาอาการไข้เลือดออกในระยะแรกนี้ หากตรวจแล้วมีเกล็ดเลือดต่ำ ก็จะมีการให้เกล็ดเลือด และจะให้น้ำเกลือหรือผงเกลือแร่ เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเลือด และเพิ่มสารอาหาร เพื่อให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ระยะที่ 2

    • มีจุดเลือดตามผิวหนัง โดยจะเป็นเหมือนรอยยุงกัด แต่จะมีสีเข้มและชัดเจนกว่า
    • อาจมีเลือดกำเดาไหล หรือมีเลือดออกตามเหงือก
    • หากมีความรุนแรง จะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด

 

  • ระยะที่ 3

    • ไข้จะลดลง ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกถึงภาวะช็อก ที่กำลังใกล้เข้ามา
    • ความดันจำต่ำลง แต่หัวใจจะมีอัตราเต้นเร็วขึ้นมาก
    • คนไข้จะมีอาการกระสับกระส่าย เหงื่อออกมากกว่าปกติ

 

  • ระยะที่ 4

    • เป็นอาการระยะสุดท้าย มีภาวะช็อกขั้นรุนแรง
    • ความดันต่ำมาก จนแทบจะไม่สามารถวัดได้
    • เลือดจะไม่ไปเลี้ยงตับ ไต และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนนำไปสู่การเสียชีวิต

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โรคไข้เลือดออก ส่งผลอย่างไรต่อลูกในครรภ์บ้าง

  • ไตรมาสแรก (12 สัปดาห์แรก)

เป็นขั้นที่อันตรายมาก ถ้าหากคุณแม่เป็นไข้เลือดออกในช่วงนี้ จะมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้ลูกในครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้

 

  • ไตรมาสสอง (12-28 สัปดาห์)

หากคุณแม่ตรวจพบโรคไข้เลือดออกในช่วงนี้ อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยที่คลอดออกมามีน้ำหนักน้อย แต่ลูกจะปลอดภัย เพราะว่าเชื้อไวรัสยังไม่สามารถเข้าถึงลูกน้อยได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ไตรมาสสาม (29-40 สัปดาห์)

เป็นช่วงที่มีความอันตรายมาก เพราะถ้าคุณแม่ท้องเป็นไข้เลือดออกในช่วงเวลานี้ โดยหากเป็นไข้เลือดออกในระยะที่ 2 เมื่อลูกคลอดออกมาแล้ว อาจจะติดโรคไข้เลือดออกผ่านทางสายสะดือได้ และอันตรายยิ่งกว่า ถ้าหากเป็นไข้เลือดออกในระยะที่ 3-4 จะส่งผลให้ลูกน้อยเสียชีวิตในครรภ์ได้ หากคลอดเองคุณแม่ก็จะมีอาการตกเลือด และถ้าหากผ่าคลอด ก็จะเกิดอาการเสียเลือดมาก จนส่งผลให้อาจเสียชีวิตได้

 

การรักษาโรคไข้เลือดออก

ต้องเกริ่นไว้ก่อนว่า ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัส ที่มีฤทธิ์สำหรับเชื้อไวรัสเดงกีโดยเฉพาะ ดังนั้น การรักษาไข้เลือดออกในปัจจุบัน จึงเป็นการรักษาตามอาการ และให้ยาตามอาการที่เกิดขึ้น และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ป้องกันอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละระยะของโรค และป้องกันภาวะช็อกได้ แต่ทั้งนี้ ถ้าหากอาการมีความรุนแรง และการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล ควรรีบส่งตัวผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

 

 

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

เราสามารถป้องกันตัวเองเบื้องต้นได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกกับตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลง และป้องกันตนเองจากสภาพแวดล้อมภายนอก หรือการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเรา โดยมีวิธีดังนี้เลยค่ะ

  • นอนในมุ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนในมุ้งแม้จะเป็นในเวลากลางวัน
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทั้งในบ้าน หรือบริเวณรอบบ้าน รวมไปถึง กำจัดภาชนะแตกหักที่มีการขังน้ำ เช่น แจกัน ยางรถเก่า กระถางต้นไม้
  • เลี้ยงปลากินลูกน้ำ เพราะจะสามารถป้องกันการเพิ่มจำนวนของยุงที่มาวางไข่ในน้ำได้
  • ปิดฝาโอ่ง หรือภาชนะต่าง ๆ ให้มิดชิด หรือใส่ทรายเคมี เพื่อกำจัดลูกน้ำในภาชนะที่เก็บน้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
  • ทาครีมกันยุง ครีมกันยุง สามารถป้องกันยุงกัดได้ดี

 

โดยสรุปแล้ว โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดขึ้นและพบได้บ่อยในประเทศไทยตลอดปี และมีอาการที่แตกต่างกันไปตามในระยะของโรค ซึ่งมีความอันตรายอย่างมากต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่คุณแม่ควรจะรู้จักอาการของไข้เลือดออก รวมถึงหาวิธีรับมือ และป้องกันไม่ให้เป็นโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคธาลัสซีเมียอันตรายมากแค่ไหน ตรวจธาลัสซีเมีย ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

คนท้องเป็นโรคบิด อันตรายมากแค่ไหน เสี่ยงต่อการแท้งลูกจริงหรือไม่?

โรคพยาธิในช่องคลอด หรือ พยาธิในอวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอยู่จริง ๆ หากไม่ระวัง!

ที่มา : chulalongkornhospital, amarinbabyandkids, thonburihospital

บทความโดย

Woraya Srisoontorn