เล่นกับไฟ เมื่อญาติเอาไม้ขีดให้ลูกเล่น ความปลอดภัยจะหาได้จากที่ไหน
ทุกวันนี้ ความอันตรายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ถ้าพ่อแม่ไม่ระวัง ภัยร้ายสมัยนี้ ไม่ได้มาจาก ข้างนอก หรือ บุคคลภายนอกเท่านั้น แต่ยังมีภัยจาก คนใกล้ตัวที่เราคาดไม่ถึง เช่น ญาติ พี่น้อง หรือ แม้แต่ตัว พ่อแม่ เองก็อาจจะ เป็นคนทำอันตรายให้ลูกได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว ในเคสนี้เองก็เช่นกัน เคส เล่นกับไฟ นี้เกิดขึ้นกับ คุณแม่ คนหนึ่ง ที่มาสอบถาม และ บอกเล่าเรื่องราว ของเธอและลูก ผ่านเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ต โดยที่เธอใช้ชื่อตัวเองว่า Playing With Fire
คุณแม่ท่านนี้ไปงานเลี้ยงวันเกิด
ในวันที่เกิดเหตุ คุณแม่ไปงาน วันเกิด ของ พี่สะใภ้ของเธอเอง เรื่องนี้เกิดขึ้น ตอนที่พี่สะใภ้ของเธอ จุดไฟที่เค้กวันเกิด เธอหยิบไม้ขีดที่จุดแล้ว ส่งให้ ลูกชาย อายุ 2 ขวบ ของเธอ ลูกชายของเธอเอาไม้ขีดมาใกล้หน้า และ ดูมันเผานิ้วของเขา คุณแม่ตกใจมาก เธอรีบบอกให้ ให้ลูกไปไฟให้ดับทันที แต่พี่สะใภ้ ของเธอกลับตวาดเธอ และ พูดว่า ฉันไม่ยอมให้เขาเจ็บตัวหรอก นั่นยิ่งทำให้เธอโกรธขึ้นไปอีก คำพูดนั้นมันไม่ได้มีความหมายอะไรเลย
เธอไม่พูดอะไรต่อ เพราะเธอกำลังอึ้งกับสิ่งที่เกิดขึ้น เธอคิดว่าสิ่งที่ทำมันเป็นเรื่องที่บ้า และไร้สมองมาก เธอไม่คิดเลยว่าจะมีคนทำแบบนี้ด้วย เธอคิดวนอยู่ในหัวตลอดเวลา ว่าเธอควรจะทำยังไงดี เธอจะไปต่อว่า พี่สะใภ้ หรือ ขอเข้าไปพูดคุยดีรึเปล่า แต่เธอพึ่งจะเจอเหตุการณ์ที่คล้ายกัน ลูกแฝด วัยหนึ่งขวบ โดนไฟเผาอย่างรุนแรง เพราะว่าพ่อแม่ ไม่สนใจ
คุณแม่ท่านนี้ กลัวว่า พี่สะใภ้ของเธอ จะรู้สึกเหมือนโดนดุ ถ้าเธอพูดออกไปแบบนั้น แต่ในขณะเดียวกัน เธอก็อยากที่จะพูดิ่งที่เธอคิดเช่นกัน เธอสองจิตสองใจ ว่าควรจะทำอย่างไรดีในสถานการณ์แบบนี้
แม่คิดถูกแล้วว่านี่เป็นสิ่งที่ไม่ควร
คุณแม่ท่านนี้มีความกังวล เลยเขียนอีเมล์ มาบอกเล่าเรื่องราว พร้อมกับขอคำปรึกษา กับ เว็บไซต์ State.com ทางเว็บไซต์เลยแนะนำว่า คุณแม่คิดถูกแล้ว ที่ไม่นิ่งเฉย เพราะเด็กอายุสองขวบ ไม่ควรที่จะมารู้จัก หรือ เล่นกับไม้ขีด พี่สะใภ้ควรจะรู้ว่าอะไรถูก ผิด มากกว่านี้ และคุณ แม่ น่าจะเข้าไปพูโคุยทำความเข้าใจกับเธอ บอกเธอว่า มันไม่โอเคเลยนะ ในเมื่อ คุณพี่สะใภ้เป็นผู้ใหญ่แล้ว ควรจะมีความรับผิดชอบ ต่อเด็กมากกว่านี้
ผู้ตอบคำถามของเว็บไซต์ State.com บอกว่า เธอไม่อยากจะคิดเลยว่า ถ้าตัวพี่สะใภ้มาเจอสถานการณ์เดียวกันนั้น เธอจะรู้สึกยังไง และ จะทำอย่างไรเมื่อเกิดเรื่องนี้ขึ้น แต่เธอเชื่อว่า เธอคงรู้สึกไม่ต่างกันกับคุณแม่ที่ส่งคำถามเข้ามา
ภัยที่มาจากไฟนั้น เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อันตรายมาก นอกจากไฟจริงๆ แล้วยังมี ภัยที่เกิดจาก ไฟฟ้า อีกที่พ่อแม่ จำเป็นจะต้องคอยตรวจสอบให้ดี
ป้องกันเด็กไม่ให้โดนไฟดูด ทำยังไง? อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
เมื่อเร็วๆนี้ในบ้านเราพึ่งจะมีข่าวว่าเด็กโดนไฟดูดจนเสียชีวิต ทำให้ ผู้ปกครองหลายคนอาจจะกังวล และ กลับมาถามหาวิธี ป้องกันเด็กไม่ให้โดนไฟดูด ว่าสามารถทำอย่างไรได้บ้าง มีอะไรที่จะช่วยให้ลูกน้อยของเราปลอดภัยจาก ภัยใกล้ตัว ที่อยู่ในบริเวณบ้านแบบนี้ได้บ้าง
ภัยที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้านั้น เกิดขึ้นได้ง่ายและ มีอันตรายอย่างมาก กับเด็กเล็ก เพราะเด็กที่เล็กมาก ยังไม่เข้าใจถึงอันตราย ด้วยวัยทำให้พวกเขา สำรวจ ดึง เอา นิ้วแหย่ พฤติกรรมเหล่านี้ ล้สนแต่มีความสุ่มเสี่ยง ที่จะนำอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตมาสู่เด็กได้
วิธีป้องกันลูกจากไฟดูด
ด้านล่างเป็นวิธี ที่พ่อแม่ สามารถทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาไฟดูดขึ้นกับลูก
- ซ่อนปลั๊กไฟ หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้า โดยใช้ safety covers ตัวพันกันไฟฟ้าที่ถูกทดสอบแล้ว เอามาพัก ปกปิด หรือ พับเก็บให้เรียนร้อย จะซ่อน ปลั๊กไว้ใต้เฟอร์นิเจอร์ก็ได้เช่นกัน
- อย่านำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปตั้งไว้ ที่บริเวณขอบโต๊ะ หรือ ตู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กไปดึก นอกจากจะเสี่ยงต่อการโดนไฟดูดแล้ว ยังเสี่ยงต่ออันตรายอื่นๆ เช่น ได้รับความบาดเจ็บจากการกระแทก หรือ น้ำร้อนลวก
- อย่าวางสิ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ อะไรไว้ใกล้ แหล่งน้ำ เช่นพวก ซิงค์ หรือ อ่างน้ำ เมื่อมันหล่นลงน้ำแล้ว จะทำให้เกิดอันตรายได้
- อย่าพยายามใช้ปลั๊กไฟแบบสายยาว ถ้ามีเด็กเล็กอยู่ด้วย เพราะเด็กจะไปจับ ไปดึงเล่นได้ง่าย
- เช็คปลั๊กไฟที่มีในบ้านเสมอ เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอันไหน อาจจะมีไฟรั่ว
- อะไรที่ติดตั้งลงสายดินได้ ให้ทำจะปลอดภัยกว่า
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แล้วลูกถูกไฟดูด เข้าจริงๆ คุณควรจะทำตามวิธีต่อไปนี้
- ปิดเครื่องทันที และ ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออก อย่าพึ่งจับตัวเด็ด เพราะคณอาจจะโดนช๊อตตามไปด้วย ปิดตัวส่งไฟฟ้าทุกอย่างที่จ่ายไฟฟ้ามาที่นี่
- ห้ามจับสายไฟฟ้าด้วยมือเปล่า อย่างเด็ดขาด ถ้าจะปัดสายไฟออกจากตัวเด็ก ให้ใช้ไม้เท้า หรือ อะไรที่แห้งเขี่ยแทน หนังสือพิมพ์ เสื้อผ้าหนาๆ สิ่งเหล่านี้เป็น สิ่งที่ไม่ได้เป็น วัตถุที่จะนำกระแสไฟฟ้า
- พยายามเคลื่อนที่ย้ายร่างของเด็ก ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะการถูกไฟฟ้าช๊อตอย่างรุนแรง อาจจะทำให้ กระดูกสันหลัง แตกร้าวได้
- ถ้าคุณไม่สามารถปิดที่มาของกระแสไฟฟ้าได้ ให้ขยับตัวเด็ก โดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่ใช่ ตัวฉนวนนำไฟฟ้า ใช้วัตถุที่ทำจากยาง ปัด เส้นกระแสไฟฟ้าออก เพื่อไม่ให้กระแไฟฟ้าส่งมาถึงตัวเด็กได้
- เมื่อกระแสไฟฟ้าหยุดแล้ว ให้รีบเช็คทันที ว่าเด็กยังหายใจอยู่หรือไม่ ดูทีพจร สีผิว และ อาการตื่นตัว ถ้าเด็กไม่หายใจให้ทำ CPR ทันที ส่วนใครที่ว่างให้โทรเรียกรถฉุกเฉินโดยด่วน
Source : slate
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
อันตรายจากสารเคมีในบ้านที่คุณคาดไม่ถึง
5 เรื่องความปลอดภัยของเบบี๋ที่แม่ต้องระวัง
สอนลูกอย่างไรให้ปลอดภัยจากคนแปลกหน้า บทเรียนจากน้องการ์ตูน