ไอกรนในเด็ก ทำให้ปอดอักเสบ อันตรายถึงชีวิต พ่อแม่ต้องระวัง!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่คะ หากลูกน้อยของคุณมีอาการไอบ่อย ๆ จนดูเหมือนเป็นอาการไอเรื้อรัง ให้รีบพาลูกหลานไปหาหมอนะคะ เพราะลูกอาจจะเป็นโรคอันตรายโรคหนึ่ง ที่เราเรียกกันว่า "โรคไอกรน" โดยไม่รู้ตัว ซึ่งโรค ไอกรนในเด็ก ทำให้ปอดอักเสบ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

มาทำความรู้จักกับโรคไอกรน ไอกรนในเด็ก ทำให้ปอดอักเสบ

ไอกรน (Pertussis) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ในระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และเกิดอาการไอที่มีลักษณะไอถี่ ๆ ติด ๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น  ทำให้เด็กหายใจไม่ทัน เสียงไอของโรคนี้เป็นการไอที่มีเอกลักษณ์ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Whooping cough เป็นการหายใจเข้าลึก ๆ เป็นเสียงวู๊ป สลับกับการไอเป็นชุด ๆ บางครั้งอาจมีอาการเรื้อรังนาน 2-3 เดือน

ไอกรนในเด็ก ทำให้ปอดอักเสบ เด็กมีโอกาสเสี่ยงสูง

โรคไอกรนสามารถติดต่อกันได้ง่าย โดยเฉพาะในรายที่ไม่มีภูมิต้านทาน จะมีโอกาสติดเชื้อโรคจากผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันมากถึง 80 – 100% แต่ถึงแม้จะมีภูมิต้านทานก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ถึง 20% โดยเชื้อโรคจะแพร่กระจายอยู่ในละอองของเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และจะติดต่อไปยังผู้อื่นต่อไป 

จากการศึกษาของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พบว่าในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการไอติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน แต่ไม่ได้เป็นวัณโรคและโรคหอบหืด ตรวจพบเชื้อไอกรนถึงร้อยละ 19 ซึ่งระยะฟักตัวของ “โรคไอกรน” จะใช้เวลาประมาณ 6-20 วัน แต่หากสัมผัสโรคมาเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการ ก็แสดงว่า “ไม่ติดโรค”

สำหรับโรคไอกรนในเด็กนั้น ส่วนใหญ่จะติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว โดยสามารถเป็นได้ตั้งแต่เดือนแรก เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ยังมีน้อย ในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราการตายสูง ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีอาการรุนแรงและมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตมักจะเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การรักษาผู้ป่วย “โรคไอกรน” ทำอย่างไร

ในระยะแรกสามารถใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดความรุนแรงของโรค แต่ถ้าให้ยาปฏิชีวนะหลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการไอแล้ว อาจไม่ค่อยมีผลดีต่อการดำเนินโรค แต่จะช่วยลดการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ ดังนั้นผู้ป่วย “โรคไอกรน” ควรพักผ่อนมาก ๆ ดื่มน้ำอุ่น อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี หลีกเลี่ยงสาเหตุที่กระตุ้นทำให้มีอาการไอมากขึ้น เช่น ฝุ่นละออง ควัน อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป จะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคได้

ที่ต้องระวังอีกประการ คือ ภาวะแทรกซ้อนของ “โรคไอกรน” อาจมีความรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ “เสียชีวิต” โดยโรคแทรกซ้อนทางระบบหายใจที่พบบ่อย คือ ปอดอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในเด็กเล็ก และยังมีภาวะแทรกซ้อนทางสมอง ทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการชัก เกร็ง หรือซึมลงด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การป้องกันโรคไอกรน

การป้องกัน “โรคไอกรน” ที่ดีที่สุด สามารถทำได้ด้วยการ “ฉีดวัคซีนป้องกัน” ซึ่งวัคซีนไอกรนเป็นวัคซีนพื้นฐานที่เด็กทุกคนต้องได้รับ ดังนั้น เมื่อถึงเวลานัดฉีดวัคซีน

  1. โรคไอกรนมีวัคซีนสำหรับป้องกัน ในเด็กเล็กต้องได้รับการฉีดวัคซีนช่วงอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 15 – 18 เดือน ในรูปของวัคซีนรวม คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก หลังจากนั้นเมื่ออายุ 4 – 6 ปี ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก 1 ครั้ง
  2. ในช่วงอายุ 11-12 ปี ปกติเด็กควรจะได้รับวัคซีนรวม คอตีบ บาดทะยัก กระตุ้นอีก 1 เข็ม แต่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนรวมคอตีบไอกรน บาดทะยัก แทนการฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก
  3. สำหรับแม่ตั้งครรภ์ ควรได้รับการฉีควัคซีนไอกรน เพราะช่วยป้องกันโรคไอกรนในแม่และลูกที่คลอดมา ซึ่งเป็นที่รู้ว่า เกินร้อยละ 50 ของลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรน ติดมาจากเชื้อโรคไอกรนในแม่ ซึ่งหากลูกเป็นโรคไอกรนใน 3 เดือนแรก ลูกมีโอกาสเจ็บป่วยรุนแรงจนเสียชีวิต แต่หากฉีดวัคซีนไอกรนให้แม่ สามารถป้องกันโรคไอกรนในลูกที่คลอดออกมาได้ตั้งแต่ 2-6 เดือน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำความรู้จักโรคไอกรน และอันตรายที่เกิดขึ้นกันไปพอสมควรแล้ว คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมเช็กปฏิทินนัดหมายการฉีดวัคซีน และพาลูกน้อยไปรับวัคซีนให้ตรงเวลากันด้วยนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ในหญิงตั้งครรภ์ สำคัญแค่ไหน?

ระวัง!!! โรคฉี่หนู ภัยร้ายที่มาช่วงหน้าฝน รักษาผิดวิธีเสี่ยงเสียชีวิตสูง

ตาบอดสีในเด็ก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาหรือวิธีแก้อย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา