แรงกดช่วงเชิงกราน อีกปัญหาและความกังวลช่วงตั้งครรภ์ของแม่ท้อง

เมื่อท้องของคุณเริ่มโตขึ้นตามอายุครรภ์ อวัยวะภายในรอบ ๆ มดลูกก็เริ่มถูกกดถูกดันจนอาจทำให้เกิดอาการไม่สบายตัวได้ บางคนอาจรู้สึกถึงแรงกดช่วงเชิงกรานได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แรงกดช่วงเชิงกราน อีกปัญหาและความกังวลช่วงตั้งครรภ์ของแม่ท้อง

แรงกดช่วงเชิงกราน อีกปัญหา และความกังวล ช่วงตั้งครรภ์ ของแม่ท้อง

หากแรงดันจากขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นนั้นมากเกินไป อาจทำให้เส้นประสาทบริเวณสะโพกและหลังของคุณยืดมากเกินไป ทำให้เกิดอาการตึงและปวดร้าวตามมา เมื่อเชิงกรานของคุณยืดและหดตัว คุณอาจรู้สึกปวดช่วงท้องน้อย และรู้สึกถึงแรงกดทับตลอดเวลา

แรงกดช่วงเชิงกรานมักทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณเชิงกรานและร้าวลามไปยังต้นขาและขา หากเส้นเอ็นซึ่งรองรับน้ำหนักมดลูกของคุณยืดออก คุณอาจรู้สึกเจ็บแปลบขึ้นมาได้

คุณอาจใช้ความร้อนเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดดังกล่าว ถ้าคุณนอนนิ่ง ๆ แล้วรู้สึกเจ็บมากขึ้น ลองเปลี่ยนท่านอนให้เด็กในท้องได้ถ่ายน้ำหนักจากจุดใดจุดหนึ่งในท้อง ผู้หญิงหลายคนมักพยายามขยับเชิงกรานบ่อย ๆ เพื่อลดแรงกด หรือใช้มือทั้งสองบีบสะโพกเข้ามา (Double hip squeeze) หากรู้สึกเจ็บปวดมากเกินจะทนไหว ลองขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เจ็บท้องคลอด

13 สิ่งที่ควรทำเมื่อเริ่ม เจ็บท้องคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#1 คุณแม่ยังไม่ต้องรีบไปโรงพยาบาล ตั้งแต่เริ่มเจ็บครั้งแรก

#2 ในระยะที่เริ่มเจ็บท้อง ควรหาคนแวะเวียนมาอยู่เป็นเพื่อน เช่น สามี ญาติ หรือเพื่อน

#3 นวดหลังเพื่อผ่อนคลายอาการปวด

 

นระยะที่เริ่มเจ็บท้อง ควรหาคนแวะเวียนมาอยู่เป็นเพื่อน เช่น สามี ญาติ หรือเพื่อน

#4 ใช้วิธีประคบร้อนหรือเย็น เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด

#5 ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน การดื่มน้ำอย่างเพียงพอขณะตั้งครรภ์ช่วยป้องกันอาการเหนื่อยล้า อาการบวม ปวด วิงเวียน และการปวดศีรษะที่เกิดจากความร้อนสูงเกินไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#6 ทานอาหารอ่อน ๆได้ เมื่อรู้สึกหิว

#7 เดินไปมา การที่คุณแม่อยู่ในท่าลำตัวตั้งจะช่วยให้มดลูกบีบตัวได้ดี และศีรษะของลูกสามารถเคลื่อนต่ำลงมาในตำแหน่งพร้อมคลอดได้

ผู้หญิงหลาย ๆ คนมักพยายาม ขยับเชิงกรานบ่อย ๆ เพื่อลดแรงกด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#8 ในช่วงระหว่างเจ็บท้อง เพราะเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก ควรพักอยู่ในท่าลำตัวตั้งขึ้นด้วยการใช้หมอนหนุนเยอะ ๆ หรือนอนพิงบนโซฟา เพื่อจะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่

#9 พยายามอย่าเกร็งตัวทุกครั้งที่รู้สึกว่ามดลูกมีการหดรัดตัว

 

ควรพักอยู่ในท่า ลำตัวตั้งขึ้น ด้วยการใช้หมอน หนุนเยอะ ๆ

#10 ควรหายใจให้ช้า ๆ เมื่อรู้สึกเจ็บครรภ์

#11 ทุกครั้งที่เจ็บท้องใกล้คลอด ให้คิดในแง่บวกเสมอว่า อีกไม่นานก็จะได้เห็นหน้าลูกแล้ว อีกไม่นานก็จะหายเจ็บแล้ว

#12 ไม่ควรกลั้นปัสสาวะในช่วงเจ็บครรภ์ เพราะอาจทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบขึ้นได้ การได้ถ่ายปัสสาวะ จะช่วยให้คุณแม่สบายขึ้น และช่วยให้ศีรษะของลูกเคลื่อนต่ำลงมาในเชิงกรานมากขึ้น

#13 ในช่วงที่ได้เวลาเดินทางไปคลอด ให้คุณแม่พยายามอยู่ในท่าที่ลำตัวตั้งขึ้น เพราะหากนอนขนานกับพื้นไปก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บครรภ์มากขึ้นนะคะ

หากคุณแม่เริ่มรู้สึกว่ามีอาการ อึดอัด กล้ามเนื้อเกร็งทุก ๆ 5 – 10 นาที ปวดหลังและปวดท้องมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกพักก็ไม่ทุเลาลง  และจะพบว่า มีอาการปวดสม่ำเสมอ  เจ็บท้องถี่ทุก ๆ  10 – 15 นาที มีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เจ็บท้อง 5 ครั้งขึ้นไปในระยะ 1 ชั่วโมง ท้องเริ่มแข็งแล้ว นั้นแสดงถึงอาการเจ็บท้องใกล้คลอดเต็มที่แล้ว คุณแม่ควรเตรียมตัวไปโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมงนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีบริหารอุ้งเชิงกรานสำหรับหญิงตั้งครรภ์

ทุกครั้งที่เจ็บท้องใกล้คลอด ให้คิดในแง่บวกเสมอว่า อีกไม่นานก็จะได้เห็นหน้าลูกแล้ว

The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้ง ด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่า ควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไร ให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

บทความที่เกี่ยวข้อง :

NHS.uk - Pelvic pain in pregnancy

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้อง กับเทียนหอม แม่ท้องต้องระวัง เทียนหอมมีผล ต่อร่างกาย แม่และลูก!

เคล็ดลับดูแล แม่ท้องอ่อน การดูแล คุณแม่ท้องอ่อน ดูแลตัวเองยังไง?

นอนพื้นแก้ปวดหลัง ปวดสะโพก จริงเหรอ? แม่ท้องปวดหลัง นอนพื้นได้มั้ย

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team