ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายแค่ไหน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อีกหนึ่งโรคที่ผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจเนื่องจากมีผลกระทบต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์ของเด็ก หากเด็กได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจะทำให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรงและคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน ทำความรู้จักกับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีความอันตรายแค่ไหน ไปดูกันเลย!

 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก คืออะไร

ภาวะนี้ คือการที่ระบบหายใจทำงานช้าลง หรือหยุดหายใจในขณะที่กำลังนอนหลับ โดยมีผลทำให้ออกซิเจนในร่างกายของทารกลดลง จนทำให้ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น มีผลทำให้ทารกตื่นจากการนอนหลับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอนของทารก ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในเวลาต่อมา รวมไปถึงยังส่งผลต่อด้านพฤติกรรม อารมณ์ สมาธิ และการเรียนรู้ภายหลังอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

 

 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก เกิดจากอะไร

จากการศึกษาพบว่า อัตราการเกิดโรคนี้พบได้ประมาณ 1 – 5% ของประชากรทั้งหมด โดยมีอัตราการนอนกรน ชนิดที่ไม่หยุดหายใจอยู่ที่ประมาณ 4 – 12% โดยสามารถพบได้บ่อย ๆ ในทารกช่วงอายุ 2 – 6 ปี ทั้งนี้เนื่องจากทางเดินหายใจยังมีขนาดที่เล็ก และมักเกิดปัญหาเรื่องของการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย ๆ อีกด้วย ดังนั้น ถ้าหากลูกน้อยของเรามีอาการนอนกรน ก็ยังบ่งบอกถึงสัญญาณเตือนเบื้องต้นของการเกิดภาวะนี้ได้ด้วย ควรพามาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอย่างละเอียด โดยส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุที่พบในเด็กทารกเกี่ยวกับภาวะนี้ ได้แก่

  • ต่อมอดีนอยด์และต่อมทอนซิลโต ต่อมเหล่านี้ของเด็กทารก เกิดการอักเสบซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะจากเหตุผลใด ๆ เช่น การอักเสบจากการเป็นหวัดบ่อย ๆ
  • โรคอ้วน อาจส่งต่อมาทางพันธุกรรม หรือมีน้ำหนักมากกว่าปกติ
  • ความผิดปกติจากสภาพร่างกายอื่น ๆ เช่น การที่เด็กมีโครงสร้างทางเดินหายใจที่ผิดปกติมาแต่กำเนิด หรือมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจนั่นเองค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการที่สามารถสังเกตได้

ในอาการเริ่มแรก เด็ก ๆ มักแสดงอาการให้เห็นในขณะหลับ ซึ่งก็คือลักษณะของการนอนกรน ดังนี้

  • นอนกรนในบางช่วง ของการนอน
  • นอนกรนในช่วงแรกที่เริ่มต้นหลับได้ไม่นาน
  • นอนกรนเป็นประจำ แต่อาจจะไม่ทุกวัน

อาการอื่น ๆ ที่มักพบร่วมด้วย

  • นอนอ้าปาก
  • หายใจเสียงดังกว่าปกติ
  • อาการหายใจสะดุด หรือหยุดหายใจ
  • ไอหรือสำลักขณะหลับ
  • มีอาการกระสับกระส่าย ขยับไปมาระหว่างการนอน
  • เหงื่อออกมากขณะหลับ
  • สมาธิสั้น
  • ในเวลาที่ไม่ได้นอนหลับ จะมีอาการบกพร่องในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรม

 

ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย

แพทย์จะสอบถามประวัติจากผู้ปกครองและตรวจร่างกาย หากแพทย์สงสัยว่า เด็กอาจจะเป็นภาวะนี้ แพทย์อาจมีการตรวจโดยการใส่กล้องส่องตรวจเข้าไปในจมูกเพื่อดูขนาดของอะดีนอยด์ เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนของโรค ซึ่งเป็นการตรวจสอบสำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ขวบขึ้นไป แต่ในบางกรณี ก็อาจตรวจด้วยการตรวจสอบคุณภาพในการนอนหลับ เพื่อตรวจสอบว่า การนอนหลับของเด็กเป็นอย่างไร

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับทารก

  • การรักษาดูแลที่ต้นเหตุ

ในกรณีส่วนใหญ่ มักเกิดจากปัญหาของต่อมอดีนอยด์และทอนซิลโต โดยสามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัดโดยแพทย์ โดยจะมีการพิจารณาหลายด้าน เช่น ความรุนแรงของโรค ความพร้อมในการผ่าตัด และความเสี่ยงต่าง ๆ ร่วมด้วย จากการศึกษาพบว่า เด็กที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ให้ผลการรักษาดีกว่าการเฝ้าติดตามด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ตรวจสอบคุณภาพการนอนหลับ

  • การรักษาด้วยวิธีอื่น

เป็นการรักษาแบบทางเลือก เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจขณะหลับ ในกรณีนี้มักถูกใช้งานในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือผ่าตัดแล้วยังคงมีอาการอยู่ เช่น ผู้ป่วยที่มีความอ้วนมาก น้ำหนักเยอะ

  • การเฝ้าระวังติดตามอาการ

ในกรณีที่ความรุนแรงของโรคไม่รุนแรง จะมีการเฝ้าติดตามอาการ โดยการประเมินคุณภาพในการนอนหลับในทุก ๆ 6 เดือนหรือบ่อยกว่านั้น

  • การดูแลสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องสำคัญในการนอนหลับ เช่น การหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ หรือมลภาวะต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ และโรคภูมิแพ้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การจัดท่าเวลานอน

ท่าทางการนอนเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ถ้าหากนอนไม่ถูกหลัก ก็อาจจะทำให้เกิดการอักเสบในการหายใจได้

  • การใส่อุปกรณ์ที่จมูก

การใช้อุปกรณ์เสริมนี้ จะสามารถช่วยเพิ่มความดันในทางเดินหายใจในขณะหลับได้

 

การป้องกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับในทารก

ในเบื้องต้น หากเด็กมีอาการภูมิแพ้อยู่แล้ว ผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อหาวิธีการ และทำการรักษาโดยเร็ว และถ้าหากเด็ก ๆ เป็นหวัด ก็ควรได้รับการรักษาจนกว่าจะหายเช่นกัน ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก ๆ ที่มีอาการของภูมิแพ้ เช่น การว่ายน้ำ โดยควรรอให้เด็ก ๆ มีอายุประมาณ 8 ปีขึ้นไปก่อน เพราะเด็กเริ่มมีภูมิต้านทานที่ดีขึ้นนั่นเองค่ะ

 

โดยสรุปแล้ว ภาวะหยุดหายใจขณะหลับทารก เป็นภาวะที่มีความอันตราย และคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยให้ดีในทุกการนอนของลูก ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ถ้ามี ควรรีบเข้ารับการปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาให้เร็วที่สุด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ภาวะไฮโปสปาเดีย (Hypospadias) คืออะไร อันตรายต่อทารกเพศชายแค่ไหน

โรคในทารกแรกเกิด โรคที่พบบ่อย ทารก 0-1 ปี ปัญหาทารกแรกเกิดที่พบบ่อย การแก้ไขเบื้องต้น

โรคต้อหินในเด็ก ทารกเป็นโรคต้อหิน ลูกเป็นโรคต้อหินได้ตั้งแต่เล็ก ถ้าแม่ไม่ระวัง

ที่มา : 1

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Woraya Srisoontorn