X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พ่อแม่ต้องรู้! 4 เคล็ดลับทำให้ลูกมีเงินแสนได้ตั้งแต่ก่อนเรียนจบ

บทความ 5 นาที
พ่อแม่ต้องรู้! 4 เคล็ดลับทำให้ลูกมีเงินแสนได้ตั้งแต่ก่อนเรียนจบ

อนาคตของลูกเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพ่อแม่ ยุคนี้พ่อแม่ทุกคนจะต้องสตรอง และพร้อมรับมือทางการเงินให้กับลูกไว้ล่วงหน้ากันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้ลูกมีเงินเก็บก่อนเรียนจบ พ่อแม่จะต้องสอนให้ลูกรู้จักเก็บเงิน เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาและนำไปต่อยอดในอนาคตได้

ทางที่ดีที่สุด พ่อแม่ยุคใหม่จะต้องวางแผนให้ลูกเริ่มต้นออมเงินด้วยตัวเองก่อน แล้วการทำให้ลูกมีเงินเก็บได้ตั้งแต่ก่อนเรียนจบ ก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ไม่ว่าจะช่วงอายุไหนก็ทำได้ ถ้าทำตาม 4 ขั้นตอนนี้

 

1. ช่วงประถม : ฝึกให้ลูกเก็บเงินค่าขนมเป็นเงินออม

นี่เป็นวิธีแรกที่สามารถเริ่มทำได้ง่ายๆ ตั้งแต่ลูกยังเด็ก โดยพ่อแม่เองจะต้องช่วยปลูกฝังให้ลูกหัดออมเงิน ด้วยการลองเริ่มจากเงินเล็กๆ น้อยๆ อย่างค่าขนมก่อนเป็นอันดับแรก และต้องตั้งเป้าหมายในการเก็บเงินให้ได้อย่างน้อยๆ ถึงหลักหมื่นก็ยังดี นี่แหละเป็นโอกาสดีที่คุณจะได้ฝึกให้ลูกรู้จักออมเงินด้วยตัวเอง เริ่มด้วยการสอนให้ลูกหักเงินส่วนหนึ่งจากค่าขนมมาเก็บออม เพื่อสะสมเป็นเงินก้อนเอาไว้ใช้ในการเรียน หรือใช้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในอนาคตได้ เช่น

— ให้ลูกเก็บเงินค่าขนมวันละ 20 บาท ตั้งแต่ ป.1 จนถึง ป.6 ก็จะสะสมได้เป็นเงินก้อนราวๆ (20บาท  x 365วัน x 6ปี) = 43,800 บาท โอ้โห! เห็นมั้ยว่าแค่เก็บเงินวันละเล็กวันละน้อย ก็สามารถรวมเป็นเงินก้อนโตได้เลยนะเนี่ย

 

ช่วงประถม-ฝึกให้ลูกเก็บเงินค่าขนมเป็นเงินออม

 

2. ช่วงมัธยม : สนับสนุนให้ลูกทำงานพิเศษ

เมื่อลูกของคุณโตพอที่จะสามารถทำงานพิเศษได้แล้ว พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้ว่า กว่าจะหาเงินมาได้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพื่อให้เขารู้จักการออมเงินด้วยการหารายได้พิเศษในช่วงปิดเทอม หรือหลังเลิกเรียน ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กๆ น้อยๆ อย่าง พนักงานร้านขายของ พนักงานเสิร์ฟ ก็ช่วยเปิดประสบการณ์ให้เขาได้เรียนรู้ พร้อมสร้างรายได้เสริมไปในตัวด้วย เช่น

— ถ้าทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 40 บาท คิดเป็น 320 บาท/วัน และทำงาน 5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน หรือ 12 สัปดาห์ จะได้เงินจากทำงานพิเศษช่วงปิดเทอมทั้งหมด (320บาท x5วัน x12สัปดาห์) = 19,200 บาท แค่ไม่กี่เดือนก็มีเงินเก็บไว้ใช้สบายๆ เลยล่ะ  

 

ช่วงมัธยม-สนับสนุนให้ลูกทำงานพิเศษ

 

3. ช่วงมหาวิทยาลัย : ออกเงินทุนให้ลูกทำธุรกิจออนไลน์

ในยุคดิจิตอลที่ทุกพื้นที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ใครๆ ก็เข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกสบาย และรวดเร็วชนิดติด 4G แค่อยู่บ้านก็ยังช้อปปุ๊บ โอนปั๊บได้เลย ถ้าลูกของคุณเริ่มมีเงินเก็บจำนวนหนึ่งแล้ว ลองมองหาช่องทางสนับสนุนให้ลูกหารายได้ โดยเริ่มต้นจากการทำธุรกิจออนไลน์เป็นงานอดิเรกก็เป็นวิธีที่ดีเหมือนกันนะ แนะนำให้พ่อแม่ลงขันออกเงินลงทุนก้อนแรก ให้ลูกจัดการและบริหารธุรกิจด้วยตัวเอง เช่น

— เริ่มด้วยธุรกิจขายเสื้อผ้าแฟชั่น ใช้เงินลงทุน 5,000 บาท ซื้อสินค้าจำนวน 2 โหล(24 ตัว) ซื้อราคาส่งตัวละ 150 บาท (24 ตัว x 150 บาท) = 3,600 บาท + ค่าจิปาถะ 1,400 บาท ขายตัวละ 300 บาท (24 ชิ้น x 300บาท) = 7,200 บาท/เดือน คิดเป็นกำไร 2,200 บาท/เดือน นี่แค่เดือนแรกก็ได้กำไรมาเก็บไว้เป็นเงินออมหรือเป็นเงินต่อยอดธุรกิจต่อไปได้แล้ว

ลองคิดต่อว่า ถ้าทำธุรกิจ 1 ปี โดยลงทุนเท่าเดิม หักลบแล้วจะได้กำไรถึง (2,200 บาท x12เดือน) = 26,400 บาท/ปี เลยทีเดียว  

 

ช่วงมหาวิทยาลัย-ออกเงินทุนให้ลูกทำธุรกิจออนไลน์

 

4. ต่อยอดอนาคต : ซื้อประกันชีวิตแบบทุนการศึกษาตั้งแต่ลูกยังเด็ก

นอกจากจะฝึกให้ลูกรู้จักเก็บเงินด้วยตัวเองแล้ว พ่อแม่ยังช่วยต่อยอดการออมเงินให้ลูกตั้งแต่เขายังเด็กได้ จริงๆ แล้ว รู้มั้ยว่า? การซื้อประกันชีวิตเป็นทุนการศึกษาให้ลูก ก็เป็น 1 ในวิธีการออมเงินที่คุ้มค่าไม่แพ้กันเลยล่ะ และนอกจากจะได้รับเงินคืนตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ ซึ่งมีทั้งระหว่างปีและเมื่อครบระยะเวลาเอาประกันภัยแล้ว ยังได้รับเงินปันผลตามเงื่อนไขด้วยนะ จะได้เตรียมไว้เป็นของขวัญวันจบการศึกษาให้กับลูก เพื่อเป็นทุนต่อยอดได้ในอนาคต

 

มาดูตัวอย่างผลประโยชน์ความคุ้มครองของประกันชีวิตจากพรูเด็นเชียล แผนพรูสไมล์ 133 โดยกำหนดผู้เอาประกันเพศชาย อายุ 20 ปี โดยจ่ายเบี้ยประกันภัย 10 ปี แค่ปีละ 10,793 บาท (ทุนประกันภัย 100,000 บาท)

— ปีแรก จ่าย 10,793 บาท

— ปีที่ 2-10 จ่ายปีละ 10,793 บาท ได้เงินคืน ปีละ 1% ของทุนประกันภัย = 1,000 บาท x 9 ปี = 9,000 บาท

— ปีที่ 11-14 ไม่มีการจ่ายเบี้ยประกันภัย ได้เงินคืน ปีละ 1% ของทุนประกันภัย = 1,000 บาท x 4 ปี = 4,000 บาท

— ปีที่ 15 ได้เงินก้อนคืน 120% = 120,000 บาท

รวมจ่ายเบี้ยประกันภัย 10 ครั้ง เป็นเงินทั้งหมด 107,930 บาท ได้เงินคืน  (9,000+4,000+120,000) = 133,000 บาท

*หมายเหตุ เบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับ เพศและอายุ ของผู้เอาประกันชีวิตด้วย

ที่สำคัญไม่เพียงแต่จะได้เงินก้อนเพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาเท่านั้น ยังได้ผลประโยชน์และความคุ้มครองอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ในกรณีที่เสียชีวิต ยังได้รับความคุ้มครองชีวิตไม่น้อยกว่า 100% ของทุนประกันภัย  และยังสามารถนำเบี้ยประกันภัยที่จ่ายจริงไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากรได้ไม่เกิน 100,000 บาท อีกด้วย

 

ต่อยอดอนาคต-ซื้อประกันชีวิตแบบทุนการศึกษาตั้งแต่ลูกยังเด็ก

 

เพราะความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด การเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินให้กับลูก ก็ถือเป็นการรักษาความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่ง ดังนั้นถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกมีเงินเก็บก้อนโตล่ะก็…ลองทำตาม 4 วิธีง่ายๆ ที่แนะนำไปข้างต้น จะช่วยให้ลูกรักของคุณมีเงินเก็บเป็นทุนก่อนเรียนจบ เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาหรือนำไปใช้ต่อยอดได้ในอนาคต
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ประเทศไทย

และศึกษาแผนประกันเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารพันธมิตรของเรา:

ธนาคารยูโอบี  ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด   และ  ธนาคารธนชาต

 

 

PURDENTIAL

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • พ่อแม่ต้องรู้! 4 เคล็ดลับทำให้ลูกมีเงินแสนได้ตั้งแต่ก่อนเรียนจบ
แชร์ :
  • จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

    จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

  • จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

    จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว