X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ชาไทยเครื่องดื่มดั้งเดิม ชาไทยมาจากไหน จากอดีตสู่เมนูยอดฮิตแพร่หลายทั่วโลก

บทความ 3 นาที
ชาไทยเครื่องดื่มดั้งเดิม ชาไทยมาจากไหน จากอดีตสู่เมนูยอดฮิตแพร่หลายทั่วโลก

Thai Tea  หรือ ชาไทยเครื่องดื่มดั้งเดิม ที่เรารู้จักกันดี ชาไทยมีที่มาอย่างไรทำไมวันนี้ชาไทยถือเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ไม่ใช่แค่คนไทยหลงไหลได้ปลื้มแต่รสชาตินี้กลับโด่งดังไกลไปทั่วทุกมุมโลก วันนี้เราจะมาหาคำตอบ พร้อมบอกเล่าเรื่องราวความมาของ ชาไทย รวมถึงความน่าสนใจ และย้อนรอยไปถึงอารยธรรมในการดื่มชาของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กันค่ะ

ต้องบอกเลยว่า ชาไทย ถือเป็นเมนูยอดฮิตไม่ว่าผ่านไปกี่ยุคสมัยก็ยังนำมาดัดแปลงอยู่ในเมนูเครื่องดื่มของร้านเครื่องดื่มในยุคปัจจุบัน ถึงแม้จะมีเมนูที่มีการผสมผสานมากขึ้น แต่ก็มักจะมีเมนู ชาไทย ไว้ให้ลิ้มลองเช่นกัน  ถ้าเราจะพูดถึงความนิยมในการดื่มชา คนไทยนิยมดื่มชากันมาตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบันการดื่มชาก็ยังได้รับความนิยมเหมือนเช่นเคย ไม่เปลี่ยนแปลง

ชาไทยเครื่องดื่มดั้งเดิม

ชาไทยเครื่องดื่มดั้งเดิม

ชาไทยเครื่องดื่มดั้งเดิม ส่วนหนึ่งก็คงมาจากวัฒนธรรมจากชาวจีน ซึ่งเห็นได้ชัดว่า คนไทยเชื้อสายจีนที่อพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ในสมัยโบราณก็จะนิยมดื่มชาที่มีต้นตำรับมาจากประเทศจีน ด้วยการนำยอดใบชามาตากแห้งและนำมาผ่านกระบวนการต้ม ดื่มเพื่อบำรุงสุขภาพร่างกาย แต่ในปัจจุบันความหลากหลายของวัฒนธรรม การดื่มชา ในประเทศไทยก็มีมากขึ้น โดยเฉพาะชานม หรือชาไข่มุกที่มีตำแบบมาจากประเทศไต้หวัน ตลอดจนชาที่มีต้นตำหรับมาจากประเทศญี่ปุ่น เช่นเดียวกัน

ในสมัยก่อนนั้นชาไทยมีการนำเข้าใบชาจากต่างประเทศ แต่ในปัจจุบันประเทศไทยของเราได้มีการดัดแปลงพันธุกรรมของใบชา และปลูกขึ้นเองภายในประเทศนั่นเอง แล้วชาไทยสีส้มนี้มีที่มาอย่างไรในประเทศไทย ไปหาคำตอบกันค่ะ

ชาดำในชาไทย

ชาดำในชาไทย

ถ้าพูดถึง ชาไทย เราจะนึกถึงลักษณะ ชาแบบไหนกันน้า แต่ที่แน่ๆ ชาไทยหรือที่รู้จักกันแพร่หลายว่า ชาเย็น เป็นชาที่ถูกคิดค้นหรือทำขึ้นโดยคนไทยเอง ซึ่งผงชาไทย มีเอกลักษณ์เฉพาะ  ซึ่งโดดเด่นด้วย สีส้มเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยส่วนใหญ่จะมีวัตถุดิบมาจาก ใบชาซีลอน ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศศรีลังกา และนำมาประยุกต์ แต่งสี เติมกลิ่นให้มีรสชาติที่หอม หวาน กลมกล่อม อร่อยถูกปากคนไทย อย่างเช่น ชาไทย ที่ทุกคนได้เห็นกันในปัจจุบันนี้นั่นเอง โดยในปัจจุบัน ใบชา ปลูกขึ้นเองภายในประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ชา จึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจยอดนิยมที่โด่งดังไปทั่วโลก และจากเดิมที่มีการนำใบชามาตากแห้ง ก่อนนำมาต้มดื่ม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นเนื่องด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป  จึงได้เปลี่ยนมาผลิตผงชาไทยสำเร็จรูปชงพร้อมดื่ม ชาไทยเครื่องดื่มดั้งเดิม สามารถชงดื่มได้ทั้งในน้ำร้อนและน้ำเย็น ซื้อได้ทั่วไปตามร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ในห้างสรรสินค้าทั่วไป ถือว่าเปลี่ยนไปตามยุคสมัยแต่ยังคงรสชาติดั้งเดิมไว้

 ชาไทย ดับร้อน สดชื่น มีสรรพคุณที่มากกว่าการแก้กระหาย

เมนู ชาไทยเครื่องดื่มดั้งเดิม ถือเป็นเมนูยอดฮิต และได้รับความนิยมต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ด้วยรสชาติหอมหวาน ดับกระหาย สดชื่นซึ่งเหมาะกับหน้าร้อนในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าในต่างประเทศจะมีอากาศที่หนาว แต่ชาไทยก็ยังเป็นเครื่องดื่มที่ยังได้รับความนิยมเช่นกันในต่างประเทศ นอกจากรสชาติอร่อย ทำให้ร่างกายตื่นตัว และมีความสุขจากการดื่มชาแล้วนั้น ชาไทยมีสรรพคุณมากมายดังนี้

  •  ชาไทยให้พลังงาน

ชาไทยเป็นเครื่องดื่มที่จะให้พลังงานได้ดี ซึ่งประกอบไปด้วย ชาดำที่มีประมาณ 40 mg ของคาเฟอีนในแต่ละถ้วย (มากกว่าสองเท่าของปริมาณชาเขียว) ช่วยเพิ่มพลังทำให้ตื่นตัว

  • ชาดำส่วนผสมของชาไทยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ชาดำในชาไทยยังมีสารต้านอนุมูลอิสระในการต้านมะเร็งเช่นกัน สารต้านอนุมูลอิสระจะต่อสู้กับไวรัสและโรคในร่างกายได้ดีทำให้ผู้ดื่มชามีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วย ประกอบด้วยสาร thearubigen และ theaflavin ซึ่งไม่พบในชาเขียว แต่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเหมือนกับสิ่งที่พบในเครื่องดื่มของจีน แต่สิ่งที่ควรพึงระวังคือน้ำตาลที่อาจมากเกินความจำเป็นจนทำให้ประโยชน์ของชาดำลดหายไปค่ะ

  • ลดคอเลสเตอรอล

ชาดำที่อยู่ในชาไทยสามารถลดคอเลสเตอรอล แต่เน้นย้ำว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้ำตาลและนมต่ำ หากคนยังสามารถรักษาอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนอกจากการดื่มชาไทยแล้วโอกาสในการลดคอเลสเตอรอลยังดียิ่งขึ้น เมื่อคอเลสเตอรอลลดลงหัวใจจะมีสุขภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น

ที่มา : 1 2

บทความประกอบ :20 เมนูกาแฟ กาแฟแบบไหนเหมาะกับเรา

ร้านชาไทย

ร้านชาไทย

เรามาทราบข้อควรระวังในการดื่มชาไทยกันค่ะ

ต้องตรวจสอบอาการและโรคเฉพาะบุคคล แต่ต้องทราบว่าชาไทยไม่ใช่เครื่องดื่มที่เหมาะกับทุกคน สำหรับบางคน การดื่มชาอาจจะไม่เหมาะสมและอาจทำให้เกิดโทษได้มากกว่าประโยชน์ ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาไตทำงานบกพร่องหรือมีอาการไตวาย หรือ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ กระเพาะเป็นแผล รวมถึงคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ให้นมบุตร ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้ที่มีแนวโน้มเป็นโรคหัวใจ ผู้ที่มีไข้สูง ผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง รวมไปถึงเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบก็ไม่ควรดื่มชา ทั้งหมดนี้ควรศึกษารายละเอียดเพื่อสุขภาพที่ดีเฉพาะบุคคลค่ะ เราสามารถแบ่งรายละเอียดได้ดังนี้

  • ชาเย็นไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ไม่ควรดื่มชา เพราะคาเฟอีนจะทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หลอดเลือดหดตัวลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองและหัวใจได้ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เรียกได้ว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากยิ่งขึ้น
  • คาเฟอีนในตัวชา ยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ดังนั้นชาจึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะชาเย็นที่มีทั้งนมและน้ำตาล ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยเบาหวานค่ะ
  • ชาเย็นไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหานอนไม่ค่อยหลับ ซึ่งมีปัญหานอนหลับยาก หรือเป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง  ไม่ควรดื่มชาก่อนเข้านอน เพราะคาเฟอีนที่มีอยู่ในชาจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ตาตื่น ทำให้ไม่ง่วงนอน และลดระยะเวลาในการนอนหลับค่ะ
  • ในช่วงที่เราไม่สบาย มีไข้สูง ไม่ควรดื่มชาก็เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว เป็นสาเหตุทำให้ตัวร้อนมากยิ่งขึ้น และแทนนินยังทำให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาน้อย ทำอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นได้ง่าย

     ดังนั้นแม้ว่าชาไทยจะเป็นเมนูเครื่องดื่มยอดฮิต และมีรสชาติที่ยากจะลืมนั้น ก็ยังมีข้อจำกัดในการดื่มชาไทยเช่นกัน โดยแนะนำว่า การจะดื่มชาหรือกินชานั้น ต้องกินในปริมาณที่พอเหมาะ กับแต่ละวันนะคะ อร่อยได้แต่สุขภาพต้องไม่เสียค่ะ

บทความประกอบ :รวมสูตรเมนูเครื่องดื่มสดชื่น เครื่องดื่มแสนอร่อย เหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความจากพันธมิตร
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ไม่อยากให้ลูกตัวเล็ก ต้องอย่าพลาด 5 ขวบปีแรกช่วงเวลาสำคัญ มารู้จัก เคล็ดลับช่วยเสริมความสูง ให้ลูกได้ก่อนใคร!
ไม่อยากให้ลูกตัวเล็ก ต้องอย่าพลาด 5 ขวบปีแรกช่วงเวลาสำคัญ มารู้จัก เคล็ดลับช่วยเสริมความสูง ให้ลูกได้ก่อนใคร!
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
5 วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดเวลา
5 วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดเวลา

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Thippaya Trangtulakan

  • หน้าแรก
  • /
  • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
  • /
  • ชาไทยเครื่องดื่มดั้งเดิม ชาไทยมาจากไหน จากอดีตสู่เมนูยอดฮิตแพร่หลายทั่วโลก
แชร์ :
  • 5 เครื่องดื่มดีท็อกซ์สูตรเด็ด ทำเองง่าย ๆ ได้ที่บ้าน

    5 เครื่องดื่มดีท็อกซ์สูตรเด็ด ทำเองง่าย ๆ ได้ที่บ้าน

  • 20 เมนูเครื่องดื่มสำหรับเด็ก ประโยชน์เน้น ๆ เมนูเครื่องดื่ม กินได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

    20 เมนูเครื่องดื่มสำหรับเด็ก ประโยชน์เน้น ๆ เมนูเครื่องดื่ม กินได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 5 เครื่องดื่มดีท็อกซ์สูตรเด็ด ทำเองง่าย ๆ ได้ที่บ้าน

    5 เครื่องดื่มดีท็อกซ์สูตรเด็ด ทำเองง่าย ๆ ได้ที่บ้าน

  • 20 เมนูเครื่องดื่มสำหรับเด็ก ประโยชน์เน้น ๆ เมนูเครื่องดื่ม กินได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

    20 เมนูเครื่องดื่มสำหรับเด็ก ประโยชน์เน้น ๆ เมนูเครื่องดื่ม กินได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ