โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นอย่างไร รุนแรงแค่ไหน ประกันครอบคลุมหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคออฟฟิศซินโดรม รุนแรงหรือไม่ หากคุณมีอาการปวดหลัง ปวดบ่า อาจเป็นสัญญาณบอกว่าคุณอาจเป็นออฟฟิศซินโดรม วันนี้เรานำวิธีการสังเกตอาการและป้องกัน ไปดูกันเลย

 

โรคออฟฟิศซินโดรมคือโรคอะไร ?

ออฟฟิศซินโดรม Office syndrome คือ อาการปวดของกล้ามเนื้อ เนื่องจากใช้งานหนักหรือใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณนั้นเป็นประจำ ทำให้เกิดอาการปวดสะสมเรื่อย ๆ จนส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง การที่ปล่อยไว้นาน ๆ ทำให้ร่างกายเกิดการชาบริเวณ แขน มือ เมื่อปล่อยไว้นานจะทำให้เส้นประสาทถูกกดทับกันอย่างต่อเนื่อง

 

โรคออฟฟิศซินโดรม อันตรายหรือไม่

ออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นอย่างดี ข้อมูลเชิงสถิติโดยโรงพยาบาลสมิติเวช พบว่า สถิติผู้ป่วยที่เป็นออฟฟิศซินโดรม คือคนที่ทำงานในออฟฟิศ ซึ่งโรคออฟฟิศซินโดรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับคนทำงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ หลายชั่วโมงต่อวัน และเป็นพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำทั้งวัน เมื่อมีอาการปวดหรือเมื่อยชาตามร่างกายนาน ๆ ใครที่เป็นออฟฟิศซินโดรมอาจส่งผลอันตรายเกี่ยวกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้ ดังนี้

  • เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท
  • กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง
  • เส้นประสาทผิดปกติมีความตึงของเส้นประสาท
  • นิ้วล็อก
  • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ
  • ปวดหลังจากท่าทางที่ผิดปกติ
  • หลังยึดติดในท่าแอ่น
  • กล้ามเนื้อแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 31 ออกกำลังกายหลังคลอด ทำได้แค่ไหน ?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการออฟฟิศซินโดรม เป็นอย่างไร

ออฟฟิศซินโดรมอาการ ที่พบได้บ่อย มีดังนี้

  • มีอาการปวดหัวเรื้อรัง

ออฟฟิศซินโดรมอาการ ที่พบเจอทั่วไป คือ มีอาการปวดหัวเรื้อรัง หรือมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย สาเหตุมาจากการเครียด หรือใช้สายตาเป็นเวลานาน หรือในการทำงานที่มีสภาพแวดล้อมที่วุ่นวาย สาเหตุเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเครียดสะสมไม่รู้ตัว

 

  • มีอาการปวดตึงที่คอ บ่า และไหล่ เรื้อรัง

วิธีสังเกตง่าย ๆ เลยก็คือ หากเป็นคนที่ทำงานอยู่แต่กับหน้าคอมพิวเตอร์มากกว่า 8 ชั่วโมง แล้วมีอาการปวดคอ ปวดบ่า มีอาการตึงอยู่บ่อย ๆ หันแล้วรู้สึกลำบากไม่สบายตัว แสดงว่าเป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • มีอาการปวดหลัง 

เป็นอาการแรก ๆ เลยก็ว่าได้ เนื่องจากสาเหตุของโรคนี้คือการที่เรานั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือต้องยืนเป็นเวลานาน และผู้หญิงคนไหนที่ใส่ส้นสูงเป็นเวลานาน ๆ ก็คงหลีกเลี่ยงได้ยาก

 

  • ปวดแขน มีอาการมือชา นิ้วล็อก

อาการเหล่านี้เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือ เกิดจากการที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทจนเกิดพังผืด เมื่อทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วล็อก หรือข้อมือล็อกได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • มีอาการปวดตึงที่ขา เหน็บชา

อาการออฟฟิศซินโดรม ให้ลองสังเกตว่าเป็นเหน็บชาบ่อยหรือไม่ หรือขาไม่ค่อยมีแรง อาการเหล่านี้สาเหตุเกิดจากการนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เส้นเลือดไหลเวียนผิดปกติ ส่งผลให้ขาไม่มีแรง และอาจทำให้ทรุดเดินไม่ได้

 

โรคออฟฟิศซินโดรมมีกี่ระยะ

  • ระยะที่ 1 : เป็นอาการแรก ๆ ที่ทำงานไปสักระยะแล้วจะปวดตึง ๆ แต่เมื่อลุกเดินหรือพักก็จะหายได้เอง
    • การแก้ไข : เดินพักผ่อนเป็นระยะ ๆ , ออกกำลังกายหรือขยับเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ , นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • ระยะที่ 2 : อาการปวดจะดีขึ้น หลังจากที่นอนพัก แต่สักพักก็อาจจะมีอาการปวดตึง ๆ อยู่
    • การแก้ไข : เปลี่ยนท่าทางการนั่ง หรือยืน ในการทำงาน , เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง
  • ระยะที่ 3 : มีอาการปวดมากถึงแม้จะแทบไม่ได้ทำงาน หรือใช้กล้ามเนื้อส่วนที่ปวด พักแล้วอาการก็ไม่ทุเลาลง
    • การแก้ไข : เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง ปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท่าออกกำลังกายคนท้อง ลดอาการปวดหลัง ท่าบริหารง่ายๆ ทำได้บนที่นอน (มีคลิป)

 

วิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

  • การฝังเข็ม 

ใช้เข็มที่เล็กปักลงไปในกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง ใช้วิธีปลายเข็มสะกิดกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อบรรเทาอาการลง

 

  • กระตุ้นด้วยแม่เหล็กความเร็วสูง 

กระตุ้นบริเวณที่มีอาการปวดด้วยคลื่นแม่เหล็ก เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงต่อการใช้งาน

 

  • ทำกายภาพบำบัด และการออกกำลังกาย 

ใช้อุปกรณ์กายภาพบำบัด ร่วมกับการออกกำลังกาย โดยมีนักกายภาพบำบัดสอนและออกกำลังกาย เพื่อฟื้นฟูร่างกาย ให้เหมาะสมของร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการปวดในแต่ละคน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ออฟฟิศซินโดรมมีวิธีการป้องกันอย่างไร

  • ปรับเปลี่ยนท่านั่งให้เหมาะสมเวลาทำงาน
  • ไม่ทำงานในท่าเดิมเกิน 50 นาที – 1 ชั่วโมง ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้แนะนำให้หยุดเดินพักเพื่อผ่อนคลายประมาณ 10 – 15 นาที
  • เปลี่ยนอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อลดอาการเจ็บปวดในเวลาทำงาน อาจจะหาหมอนมาดันหลังเพื่อให้นั่งหลังตรงขึ้น หรือปรับเก้าอี้ให้ต่ำลงไม่ให้ก้มดูคอมพิวเตอร์มากเกินไป
  • ออกกำลังกายเพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณที่ใช้งานหนัก
  • ยืดกล้ามเนื้อก่อนทำงาน ระหว่างทำงาน และหลังจากการทำงาน
  • ลุกเดินเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

บทความที่เกี่ยวข้อง :Lockdown Brain Fog อยู่บ้านนานจนสมองตื้อ ส่งผลต่อสุขภาพสมองและจิตใจ

 

จุดเด่นของประกัน ครอบคลุมออฟฟิศซินโดรมหรือไม่

ประกันสังคม ครอบคลุมโรคออฟฟิศซินโดรม 

การใช้สิทธิ์ประกันสังคมก็สามารถใช้ในการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน หากได้รับการตรวจว่าเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม จะได้เข้ารับการรักษาตามที่แพทย์สั่ง

  • ยื่นแบบ กท. 16 ต่อสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่ทำงาน หรือภูลำเนาของนายจ้าง
  • เข้ารับการรักษาตามโรงพยาบาลที่เลือกได้เลย

เมื่อคิดจะเลือกประกันเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองทั้งที ก็ควรเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับตัวเอง และครอบคลุมต่อการรักษาสุขภาพร่างกายมากที่สุด

 

ประกันเพราะห่วงใย คุ้มครองสุขภาพ 

  • เหมาจ่ายสูงสุด 3 แสนบาท
  • ครอบคลุมทั่วโลก
  • คุ้มครองจนถึงอายุ 80 ปี
  • คุ้มครองชีวิต อุบัติเหตุ สุขภาพ

ประกันเพราะห่วงใย Health Supreme

  • เหมาจ่ายสูงสุดถึง 100 ล้านบาท
  • ครอบคลุมทั่วโลก
  • คุ้มครองจนถึงอายุ 80 ปี
  • เบี้ยประกันหักลดหย่อนภาษีได้

 

ที่มา : samitivejchinatown.com , bumrungrad.com,thaiinterhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง :

เหตุผลที่ไม่ควรทำงานจากบนที่นอน 6 ผลกระทบเมื่อ Work From Home บนเตียง

เยียวยาจิตใจ Healing Mind กับการปรึกษาสุขภาพจิตออนไลน์ เทรนด์ที่กำลังมาแรง 

14 ประกันสุขภาพเด็ก เปรียบเทียบประกันสุขภาพให้ลูก เลือกตัวไหนดี ตัวไหนคุ้ม

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong