จะรู้ได้ไงว่าสายสะดือพันคอลูก มีวิธีแก้หรือไม่ ลูกจะปลอดภัยไหม

สายสะดือพันคอทารก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้บ่อย หลายคนสงสัยว่า จะรู้ได้ไงว่าสายสะดือพันคอลูก และจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การตั้งครรภ์ที่ราบรื่นเป็นสิ่งที่คุณแม่ทุกคนปรารถนา แต่ในคุณแม่บางรายอาจเกิดเรื่องไม่คาดคิดขึ้นได้ อย่างเช่น สายสะดือพันคอทารก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้บ่อย และเป็นเรื่องที่หลายคนสงสัยว่า จะรู้ได้ไงว่าสายสะดือพันคอลูก และหากสายสะดือพันคอทารก จะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างไรบ้าง เป็นอันตรายถึงชีวิตจริงหรือไม่ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสายสะดือพันคอทารกกันค่ะ

สายสะดือ คืออะไร

รกเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอาหาร ออกซิเจน และสารอาหารต่างๆ ระหว่างคุณแม่กับลูกน้อย รกจะเกาะติดอยู่กับผนังมดลูก ส่วนที่เชื่อมระหว่างรกกับลูกน้อยก็คือ สายสะดือ

สายสะดือทำหน้าที่ส่งผ่านทุกสิ่งที่ลูกน้อยต้องการเพื่อการเจริญเติบโตไปยังร่างกายของลูกน้อย โดยทั่วไป สายสะดือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร แต่ก็อาจสั้นหรือยาวกว่านั้นได้ ซึ่งความยาวของสายสะดือก็มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยเช่นกัน หากสายสะดือสั้นเกินไป อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ได้

 

สายสะดือของแต่ละคนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

สายสะดือแม้จะทำหน้าที่เหมือนกันในการเชื่อมต่อระหว่างคุณแม่กับลูกน้อย เพื่อส่งผ่านออกซิเจน สารอาหาร และนำของเสียออกจากร่างกายของลูกน้อย แต่สายสะดือของทารกแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน ดังนี้

  • ความยาว สายสะดือของแต่ละคนมีความยาวไม่เท่ากันบางคนอาจสั้น บางคนอาจยาว สายสะดือที่ยาวกว่า มีโอกาสพันคอได้มากกว่าสายสะดือที่สั้น เนื่องจากสายสะดือที่ยาวมีโอกาสเคลื่อนไหวและพันรอบตัวลูกน้อยได้ง่ายขึ้น
  • ขนาด ขนาดของสายสะดือก็แตกต่างกันไป โดยทั่วไปทารกตัวใหญ่จะมีสายสะดือที่ใหญ่ตามไปด้วย แต่ทารกที่สายสะดืออ้วน มักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องสายสะดือพันคอ ในขณะที่สายสะดือเล็กๆ กลับมีโอกาสพันคอได้มากกว่า
  • การพันรอบตัว สายสะดืออาจพันรอบตัวลูกน้อยได้หลายแบบ บางคนอาจพันรอบคอ บางคนอาจพันรอบตัวส่วนอื่นๆ 

การที่สายสะดือยาวหรือสั้น ขนาดใหญ่หรือเล็ก ไม่ได้บ่งบอกถึงสุขภาพของลูกน้อยเสมอไป แต่คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของลูกน้อยอย่างใกล้ชิดค่ะ

สายสะดือพันคอ คืออะไร

สายสะดือพันคอทารก  (Nuchal cord) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยเกิดจากสายสะดือพันรอบคอของทารกในขณะที่อยู่ในครรภ์ แม้จะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้บ่อย แต่ก็เป็นสิ่งที่คุณแม่หลายท่านกังวลใจ เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สายสะดือพันคอเกิดจากอะไร

สาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดสายสะดือพันคอยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้สายสะดือพันรอบคอโดยบังเอิญ โดยปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะนี้ได้แก่

  1. ทารกดิ้นเยอะ การที่ทารกดิ้นมากและบ่อยครั้ง อาจทำให้สายสะดือพันรอบคอได้ง่ายขึ้น
  2. น้ำคร่ำมากเกินไป น้ำคร่ำมากเกินไปจะทำให้ทารกมีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวมากขึ้น จึงเพิ่มโอกาสที่สายสะดือจะพันคอด้
  3. สายสะดือยาว สายสะดือที่ยาวกว่าปกติจะเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสพันรอบตัวทารกได้มากขึ้น
  4. โครงสร้างสายสะดือผิดปกติ สายสะดือที่มีความอ่อนหรือผิดปกติ อาจพันกันเองหรือพันรอบตัวทารกได้ง่าย
  5. การตั้งครรภ์แฝด การตั้งครรภ์แฝดหรือมากกว่านั้น อาจทำให้มีพื้นที่ในครรภ์จำกัดลง และทารกแต่ละคนอาจเคลื่อนไหวมาชนกัน ทำให้เกิดการพันของสายสะดือได้

สายสะดือพันคอ ตอนกี่เดือน

จากการศึกษาพบว่า ยิ่งทารกอยู่ในครรภ์นานขึ้น โอกาสที่สายสะดือจะพันรอบคอก็จะยิ่งสูงขึ้น 

  • อายุครรภ์ 20 สัปดาห์: มีโอกาสประมาณ 6% ที่ทารกจะมีสายสะดือพันคอ
  • อายุครรภ์ 42 สัปดาห์: โอกาสจะเพิ่มขึ้นเป็น 29%

สิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติม พบว่า ทารกเพศชายมีแนวโน้มที่จะมีสายสะดือพันคอมากกว่าทารกเพศหญิงนอกจากนี้ยังพบอีกว่า หากทารกไม่มีสายสะดือพันคอขณะอยู่ในครรภ์ โอกาสที่สายสะดือจะพันคอขณะคลอดก็มีน้อยมาก

  • สายสะดือพันคอ 1 รอบ พบได้บ่อย 20-34%
  • สายสะดือพันคอ 2 รอบ พบได้ 2.5-5%
  • สายสะดือพันคอ 3 รอบ  พบได้ 0.2-0.3%

สายสะดือพันคอมีกี่แบบ 

สายสะดือพันคอ มี 2 แบบหลักๆ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. พันคอแบบหลวม สายสะดือพันรอบคอของทารกแบบหลวมๆ ซึ่งทารกยังสามารถเคลื่อนไหวได้อิสระ และอาจคลายออกได้เองตามธรรมชาติในระหว่างตั้งครรภ์ แบบนี้มักไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อทารก และอาจคลายออกเองได้ก่อนคลอด
  2. พันคอแบบแน่น สายสะดือพันรอบคอของทารกแบบแน่น ทำให้ทารกเคลื่อนไหวได้จำกัด และไม่สามารถคลายออกได้เอง จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ เนื่องจากอาจส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดและออกซิเจนไปยังทารกได้ ทำให้ทารกขาดอากาศหายใจ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ทำไมสายสะดือพันคอถึงเป็นอันตราย?

การที่สายสะดือพันรอบคอของทารก อาจทำให้การไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนไปยังสมองของทารกลดลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกได้ และในบางกรณี อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

สายสะดือพันคนทารก ป้องกันได้ไหม?

แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันสายสะดือพันคอได้โดยตรง แต่การดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์และการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณหมอสามารถตรวจพบภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้เร็วขึ้น และสามารถวางแผนการคลอดที่เหมาะสมที่สุด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะรู้ได้ไงว่าสายสะดือพันคอลูก

จะรู้ได้ไงว่าสายสะดือพันคอลูก คุณแม่สามารถสังเกตการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้ดังนี้ค่ะ

  • นับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้น โดยทั่วไป คุณแม่ควรนับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นในช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น หลังทานอาหาร หรือช่วงเวลาก่อนนอน หากพบว่าจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นลดลงอย่างผิดปกติ หรือไม่มีการเคลื่อนไหวเลย หลัง28สัปดาห์เป็นต้นไป แนะนำให้รีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด
  • สังเกตความแรงของการดิ้น นอกจากจำนวนครั้งแล้ว คุณแม่ควรสังเกตความแรงของการดิ้นด้วย หากรู้สึกว่าการดิ้นของลูกน้อยเบาลง หรือไม่มีแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์
  • รูปแบบการดิ้น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดิ้น เช่น ดิ้นน้อยลงในช่วงเวลาที่เคยดิ้นบ่อย หรือดิ้นไม่เป็นจังหวะ อาจเป็นสัญญาณเตือน

จะรู้ได้ไงว่าสายสะดือพันคอลูก แพทย์มีวิธีการตรวจหลายอย่างเพื่อประเมินภาวะสายสะดือพันคอ เช่น

  • การอัลตร้าซาวด์ วิธีนี้แพทย์สามารถสังเกตเห็นสายสะดือที่พันรอบคอทารกได้ชัดเจน
  • การตรวจฟังเสียงหัวใจของทารก หากสายสะดือพันคอแน่น อาจทำให้เสียงหัวใจของทารกผิดปกติ เช่น ช้าลง เร็วขึ้น หรือมีเสียงรบกวน
  • การตรวจ NST (Non-stress test) เป็นการตรวจที่ใช้ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทารกขณะที่ทารกเคลื่อนไหว หากอัตราการเต้นของหัวใจไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของทารก อาจบ่งบอกถึงปัญหาได้

หากแพทย์ตรวจพบว่าสายสะดือพันคอ แพทย์จะพิจารณาถึงความรุนแรงของภาวะ และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด หรือการผ่าตัดคลอดในกรณีที่จำเป็น

สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าทั้งคุณแม่และลูกน้อยปลอดภัยค่ะ

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อลูกน้อย หากสายสะดือพันคอ

แม้ว่าสายสะดือพันคอจะพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด และในหลายกรณีอาจไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง แต่ก็มีโอกาสที่สายสะดือจะพันแน่นจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกได้

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากสายสะดือพันคอ ได้แก่

  • การขาดออกซิเจน เมื่อสายสะดือพันคอแน่น อาจทำให้การไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนไปยังทารกลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะสมอง
  • อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ การขาดออกซิเจนอาจทำให้หัวใจของทารกเต้นผิดปกติได้
  • ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อาจพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปริมาณน้ำคร่ำลดลง ทารกเคลื่อนไหวน้อยลง การเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR) หรือแม้กระทั่งการคลอดก่อนกำหนด
  • ภาวะ tCAN (tight cord around neck syndrome) ในกรณีที่สายสะดือพันคอแน่นมาก อาจทำให้เกิดภาวะ tCAN ซึ่งเป็นภาวะที่ค่อนข้างรุนแรง อาการของภาวะนี้ ได้แก่ รอยแดงหรือรอยม่วงที่ผิวหนังบริเวณคอ ใบหน้า และดวงตา รอยถลอกบนผิวหนังบริเวณที่สายสะดือพัน ผิวหนังซีดหรือเขียวคล้ำ

เมื่อสายสะดือพันคอทารกต้องทำอย่างไร มีวิธีแก้หรือไม่

การพบว่าสายสะดือพันคอทารก ไม่ได้หมายความว่าต้องผ่าคลอดเสมอไปค่ การตัดสินใจว่าจะคลอดแบบใดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความแน่นของสายสะดือ อัตราการเต้นของหัวใจทารก และสภาวะโดยรวมของทั้งแม่และลูก

โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะพิจารณา ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. การติดตามอาการ หากสายสะดือพันคอไม่แน่นมาก และทารกยังคงมีสุขภาพแข็งแรงดี แพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่มาตรวจครรภ์บ่อยขึ้น เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกและสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกอย่างใกล้ชิด
  2. การตรวจอัลตร้าซาวด์ การตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นประจำจะช่วยให้แพทย์ประเมินสถานการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง และตรวจสอบว่าสายสะดือยังคงพันคออยู่หรือไม่ หรือคลายออกไปแล้ว
  3. การตรวจ NST (Non-stress test) เป็นการตรวจเพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกขณะที่ทารกเคลื่อนไหว เพื่อประเมินว่าทารกได้รับออกซิเจนเพียงพอหรือไม่
  4. การผ่าคลอด หากสายสะดือพันคอแน่นมาก หรือทารกมีอาการผิดปกติ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือการเคลื่อนไหวลดลง แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และลูก

การคลอดทารกที่มีสายสะดือพันคอจะแตกต่างจากปกติอย่างไร

การคลอดทารกที่มีสายสะดือพันคอนั้นอาจมีความแตกต่างจากการคลอดปกติเล็กน้อย เนื่องจากสายสะดือที่พันรอบคอของทารกอาจส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดและออกซิเจนไปยังทารกได้

  1. แพทย์จะทำการตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจทารกอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาการคลอด เพื่อให้แน่ใจว่าทารกได้รับออกซิเจนเพียงพอ
  2. แพทย์อาจช่วยปรับท่าของทารกเพื่อลดแรงกดที่สายสะดือ หรือคลายสายสะดือที่พันรอบคอออก
  3. หากอัตราการเต้นของหัวใจทารกลดลง หรือมีสัญญาณบ่งบอกว่าทารกกำลังขาดออกซิเจน แพทย์อาจต้องตัดสินใจดำเนินการอย่างรวดเร็ว เช่น การใช้เครื่องมือช่วยหายใจ หรือการผ่าคลอด
  4. ในบางกรณี การคลอดทารกที่มีสายสะดือพันคออาจใช้เวลานานขึ้น เนื่องจากแพทย์ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการคลอดทารกออกมา

เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดกับลูกน้อยในครรภ์ คุณแม่ควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หมั่นสังเกตอาการของลูกน้อย หากรู้สึกว่าลูกน้อยดิ้นน้อยลง หรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ และที่สำคัญ ความเครียดอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณและลูกน้อย คุณแม่ควรหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอค่ะ

ที่มา : WedMD , helloคุณหมอ , สูติศาสตร์ล้านนา , ไทยรัฐ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ภาวะครรภ์เป็นพิษ อันตรายมากไหม อาการครรภ์เป็นพิษ ดูแลตัวเองอย่างไร

คนท้องกินอะไรลูกฉลาด อาหารเสริมสมองลูก ที่แม่ตั้งครรภ์ห้ามพลาด !

คนท้องเป็นตะคริว ต้องกินอะไร ? วิธีป้องกันและบรรเทาอาการ