ว่า โนโรไวรัส (Norovirus) ส่งผลให้เด็กเล็กมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนค่อนข้างรุนแรง ยิ่งถ้าภูมิต้านทานต่ำอาการอาจหนัก และร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้นการรู้เท่าทันไวรัสชนิดนี้ ย่อมช่วยให้สามารถดูแลป้องกันลูกน้อย และทำการรักษาได้ทันท่วงที
หลังจากอากาศบ้านเราเริ่มเข้าฤดูหนาว ก็จะพบว่าลูกน้อย มีอาการติดเชื้อที่ทำให้ท้องเสีย ซึ่งมีการระบาดมากในเด็ก ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวลใจ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้มาจากเชื้อแบคทีเรีย แต่มีต้นเหตุจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า โนโรไวรัส (Norovirus) ส่งผลให้เด็กเล็กมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนค่อนข้างรุนแรง ยิ่งถ้าภูมิต้านทานต่ำอาการอาจหนัก และร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้นการรู้เท่าทันไวรัสชนิดนี้ ย่อมช่วยให้สามารถดูแลป้องกันลูกน้อย และทำการรักษาได้ทันท่วงที
บทความนี้ พญ.กฤตพร พรไพศาลสกุล กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลนวเวช จะมาให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโนโรไวรัส พร้อมทั้งให้คำแนะนำตั้งแต่การสังเกตอาการเบื้องต้น ไปจนถึงการป้องกันเชื้อไวรัสชนิดนี้ เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถดูแลและรับมือ เมื่อเกิดความผิดปกติกับบุตรหลานได้อย่างทันท่วงที
โนโรไวรัส คืออะไร
โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร ไวรัสชนิดนี้ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว แม้ร่างกายได้รับเชื้อในปริมาณเพียงเล็กน้อย ที่สำคัญเชื้อไวรัสทนต่อความร้อนและน้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้ดี ดังนั้นเมื่อเกิดการปนเปื้อนของโนโรไวรัสในอาหารและน้ำดื่ม จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน และสามารถติดต่อกันได้ง่าย บางรายอาจจะมีไข้อยู่ 1-3 วัน อาการจะคล้ายกับอาหารเป็นพิษมาก และใช้เวลาเพียงไม่นานในการแพร่กระจายเชื้อ บางครั้งป่วยพร้อมกันทั้งครอบครัว หรือระบาดในโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก ไวรัสนี้พบการระบาดได้มากในฤดูหนาว ติดต่อได้ง่ายในสภาพอากาศเย็น และทำให้เกิดโรคได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ อาการที่พบบ่อย หากได้รับเชื้อโนโรไวรัสภายใน 24–48 ชั่วโมง ได้แก่
- ปวดท้อง และถ่ายเหลวเป็นน้ำ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดศีรษะ มีไข้ต่ำ
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- อ่อนเพลีย
การตรวจและการรักษา
การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อโนโรไวรัส ทำได้โดยการเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อส่งตรวจพิเศษกับห้องปฏิบัติการ หากพบว่าติดเชื้อโนโรไวรัส แพทย์จะทำการดูแลรักษาตามอาการเป็นสำคัญ หากเด็กมีภูมิต้านทานที่ดี อาการจะดีขึ้นและหายได้เองภายใน 2–3 วัน
แต่หากเด็กเกิดการขาดน้ำอาจทดแทนด้วยการดื่มน้ำเกลือแร่ หรือการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด รับประทานอาหารอ่อนๆ หรือให้ยาแก้อาเจียนและยาแก้ปวดท้อง แต่ถ้าเด็กภูมิต้านทานต่ำ มีอาการรุนแรงถึงขั้นถ่ายตลอดเวลา ต้องนำส่งโรงพยาบาลทันที และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะอาจเกิดการช็อก ความดันต่ำ และเสียชีวิตได้
การติดต่อของโรค
เชื้อโนโรไวรัสสามารถติดต่อได้ง่ายจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ด้วยพฤติกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้
- รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโนโรไวรัส พบบ่อยในน้ำดื่ม น้ำแข็ง ผักผลไม้สด หอยนางรม เป็นต้น
- เด็กจับหรือสัมผัสกับสิ่งของที่มีเชื้อโนโรไวรัส แล้วเอานิ้วเข้าปาก
- สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง
วิธีป้องกันการติดเชื้อ
การดูแลใส่ใจเรื่องความสะอาดคือ หัวใจสำคัญของการป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส ได้แก่
- ก่อนทานหรือหยิบจับอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
- การล้างมือให้สะอาดต้องล้างด้วยน้ำสบู่ โดยให้น้ำไหลผ่านไม่ต่ำกว่า 15 วินาที
- ดื่มน้ำที่สะอาด เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และสดใหม่
- หลีกเลี่ยงการหยิบจับหรือทำอาหารให้ผู้อื่น
- ใช้ช้อนกลางหากต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
เพราะเชื้อโนโรไวรัสสามารถติดต่อได้ง่าย และปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน รวมถึงยังไม่มียาที่กำจัดเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ ทางที่ดีจึงควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเรื่องของการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด ที่สำคัญการล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง คือหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ห่างไกลจากเชื้อโนโรไวรัส
โรงพยาบาลนวเวช มุ่งมั่นให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและเข้าถึงง่าย พร้อมดูแลสุขภาพของเด็ก อย่างเข้าอกเข้าใจ ด้วยบริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมทุกช่วงวัย และทีมแพทย์เฉพาะทาง หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Children’s Health Center) โรงพยาบาลนวเวช โทร.02 483 9999 www.navavej.com
สื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น จำกัด โทร. 0 2354 3588 www.incom.co.th
อุษณีย์ ถาวรกาญจน์ โทร.081 984 5500 Email : usanee@incom.co.th
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :
เรื่องน่ารู้ของ “โพรไบโอติกกับระบบทางเดินอาหาร”
โรคนิ่ว คืออะไร? เป็นนิ่วเกิดจากอะไร สาเหตุและวิธีการป้องกัน
โรคภูมิแพ้อาหาร แพ้อาหาร คืออะไร สาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษา