เทศกาลเด็กร้องไห้ Naki Sumo เด็กคนไหนร้องไห้ก่อน คนนั้นชนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่ละประเทศ ก็มีเทศกาลประจำปีแตกต่างกันออกไป หากพูดถึงวันหรือเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ประเทศไทยเราก็คงจะมีวันเด็ก ที่ดูจะเป็นวันสำหรับเด็ก แต่ในวันนี้ เราจะมาพูดถึงเทศกาลหนึ่งที่น่าสนใจของประเทศญี่ปุ่นกัน เทศกาลนี้มีชื่อว่า Naki Sumo เทศกาลเด็กร้องไห้ ซึ่งเป็นเทศกาลแข่งทำ เด็กร้องไห้ เทศกาลนี้คืออะไร มีที่มาจากไหน มาอ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยค่ะ

 

เทศกาล Naki Sumo คืออะไร

Naki Sumo เป็นเทศกาลของประเทศญี่ปุ่น มาจากคำว่า Naku Ko Wa Sodatsu ที่แปลว่า เด็กที่ร้องไห้จะอ้วนท้วม โดยเทศกาลนี้ มีมานานแล้วมากกว่า 400 ปี เกิดจากความเชื่อที่ว่า เด็กที่ร้องไห้จะเป็นเด็กที่โชคดี มีความสุข แข็งแรง สุขภาพดี และอุดมสมบูรณ์ รวมทั้ง คนญี่ปุ่นยังเชื่อกันอีกว่า เทศกาลนี้ช่วยเด็กขับไล่ปีศาจ และความชั่วร้ายออกไปให้พ้นตัว ในตอนนี้ หลาย ๆ คนคงนึกภาพนักซูโม่จับเด็กทุ่มลงบนพื้น เพื่อทำให้เด็กร้องไห้ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่แบบนั้น เทศกาลนี้ นักซูโม่ 2 คน จะต้องแข่งกันอุ้มเด็ก และหาวิธีทำให้เด็กร้องไห้ให้ไวที่สุด และนานที่สุด เด็กคนไหนทำได้ก็ชนะไป แต่หากเด็กทั้ง 2 คน ร้องไห้ออกมาพร้อมกัน กรรมการก็จะดูว่า เด็กคนไหนร้องไห้ดังและนานมากกว่า

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กร้องไห้บนเครื่องบิน รบกวนผู้โดยสารคนอื่นจนโดนด่า ถ้าเป็นคุณจะทำยังไง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เทศกาลเด็กร้องไห้ จัดขึ้นที่ไหน

โดยปกติแล้ว เทศกาล Naki Sumo จะถูกจัดขึ้นที่วัดหลาย ๆ แห่งในประเทศญี่ปุ่น แต่วัดที่โด่งดังและคนนิยมไปร่วมงานกันคือ วัดเซ็นโซจิ ซึ่งตั้งอยู่ในย่านอาซากุสะ กรุงโตเกียว ส่วนใหญ่เทศกาลนี้จะจัดขึ้นใกล้ ๆ กับวันเด็กของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็คือวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี

 

แต่ก็ไม่ใช่ว่าใครจะทำกันได้ หรือไม่ใช่ว่าจะไปจับเด็กที่ไหนมาแข่งกันก็ได้ แต่พ่อแม่ของเด็ก จะต้องสมัครใจให้เด็กลงแข่ง รวมทั้งต้องจ่ายเงินค่าสมัครคนละ 15,000 เยน (หรือประมาณ 4 พันกว่าบาท) โดยจะได้เครื่องรางของขลังเป็นของแถมจากวัด ซึ่งบรรยากาศการแข่งขันทุกครั้ง ก็มักจะเต็มไปด้วยเสียงเชียร์จากพ่อแม่ หรือญาติ ๆ ของเด็กจากขอบสนาม บางครอบครัวก็เตรียมกล้องมาถ่ายเด็ก เพื่อเก็บภาพความประทับใจไปด้วย ซึ่งในปี 2018 มีทารกที่เกิดใหม่มากกว่า 160 คน เข้าร่วมเทศกาลนี้กันอย่างคับคั่ง ในแต่ละปี พ่อแม่ชาวญี่ปุ่นจะแข่งกันลงทะเบียน เพื่อให้ลูกน้อยของตัวเองเข้าร่วมงานให้ได้ ซึ่งบางทีถึงกับต้องจับสลาก เพื่อลุ้นว่าเด็กคนไหนจะได้รับเลือกเข้าร่วมงานกันเลยทีเดียว

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกงอแง ร้องไห้โยเย อาจเป็นเพราะผื่นผ้าอ้อมทำให้ลูกรักไม่สบายตัว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การทำ เด็กร้องไห้ สำหรับหลายคนอาจไม่ใช่เรื่องดี แต่สำหรับคนญี่ปุ่น ถือเป็นการขับไล่วิญญาณชั่วร้าย (ภาพจาก Getty Image TV)

 

พิธีกรรมในปัจจุบัน

ก่อนเริ่มการแข่งขัน นักบวชจะเปิดพิธีด้วยการสวดมนต์ เพื่ออธิษฐานให้ทารกแต่ละคนเติบโตเป็นเด็กที่แข็งแรง และเจ้าหน้าที่ของศาลเจ้า ก็จะทำหมวกคาบูโตะสี่แฉก ให้เด็กแต่ละคนสวมใส่ระหว่างการแข่งขัน และมอบของขวัญ และของที่ระลึก ให้กับพ่อแม่ของเด็ก ๆ ทั้งนี้ เด็กที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน จะต้องเป็นเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 ถึง 18 เดือนเท่านั้น และเเม้ว่าพ่อแม่ของเด็ก ๆ จะต้องจ่ายเงินค่าสมัคร เพื่อให้เด็กได้เข้าร่วมการแข่ง แต่ผู้ชมทั่วไป สามารถเข้ามาชมเทศกาลนี้ได้ฟรี ไม่เสียตังค์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วนการแข่งขัน ก็จะถูกจัดขึ้นบนเวทีซูโม่กลางแจ้ง โดยนักซูโม่ที่เข้าร่วมการแข่ง จะเป็นนักซูโม่มืออาชีพ หรือจะเป็นมือสมัครเล่นก็ได้ ส่วนวิธีที่นักซูโม่ใช้ เพื่อทำให้เด็ก ๆ ร้องไห้ ก็จะต่างกันออกไป บางคนชูเด็กขึ้นไปบนอากาศและตะโกนเสียงดังใส่เด็ก ในขณะที่บางคน อาจจะทำหน้าตาน่ากลัว ทำหน้าตาบู้บี้ หรือใส่หน้ากากแปลก ๆ เพื่อทำให้เด็กตกใจกลัวจนร้องไห้ และตะโกนคำว่า Naki ! ดัง ๆ ซึ่งแปลว่า ร้องไห้ ! ในภาษาญี่ปุ่น

 

เด็กร้องไห้ ไวกว่า นานกว่า และดังกว่า จะเป็นผู้ชนะ (ภาพจากเพจ Taito: Spirit of Tokyo)

เทศกาล Naki Sumo โด่งดังไปทั่วโลก นอกจากพ่อแม่ชาวญี่ปุ่นจะส่งลูก ๆ ของตัวเองลงแข่งแล้ว ก็ยังมีพ่อแม่ของเด็ก ๆ จากต่างประเทศ ที่บินมาญี่ปุ่น เพื่อให้ลูก ๆ ของตัวเองเข้าร่วมเทศกาลนี้ในแต่ละปีด้วย แต่ก็นับว่าเป็นที่น่าเสียดาย ที่เทศกาล Naki Sumo ถูกยกเลิกในปี 2020 เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ส่วนในปีนี้ ยังไม่มีรายงานการจัดงานที่แน่ชัด หากคุณพ่อคุณแม่คนไหน มีแพลนจะพาเด็ก ๆ เที่ยวญี่ปุ่นอยู่แล้วล่ะก็ จะลองไปในช่วงเดือนเมษายน หรือเดือนพฤษภาคม ก็ไม่น่าเสียหายอะไร เพราะอาจมีโอกาสพาเด็ก ๆ ไปดูเทศกาลดี ๆ แบบนี้ หรือหากน้อง ๆ ยังอายุน้อยอยู่ หรือมีอายุอยู่ระหว่าง 6 ถึง 18 เดือน จะลองพาน้อง ๆ ลองเข้าร่วมงานด้วยก็ยังได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :
ลูกกลัวเข็ม เห็นกี่ทีก็ร้องไห้งอแง แก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไงดี?
ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 70
แม่ร้องไห้ แต่ไม่อยากให้ลูกเห็นและเครียดตามไปด้วย ควรจัดการอย่างไร?

ที่มา : jgbthai , ripleys , atlasobscura , allthatsinteresting ,  wikipedia

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Kanokwan Suparat