MRI หรือ Magnetic Resonance Imaging คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างภาพอวัยวะภายในร่างกาย โดยอาศัยหลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ แล้วนำสัญญาณที่ได้นั้นมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้ได้ภาพอวัยวะภายในของร่างกายเช่น สมอง กระดูกสันหลัง ตับ ไต ข้อ ที่มีความคมชัดและแม่นแยน ทั้งยังสามารถแยกเนื้อเยื่อของร่างกายที่ปกติและผิดปกติออกจากกันได้อีกด้วย
เครื่องmriคือ
และด้วยการพัฒนาทางด้านเทคนิคทำให้ MRI มีความว่องไวมากที่จะตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ ส่วนใหญ่แล้วการตรวจ MRI ของทารกในครรภ์นั้น สามารถตรวจหาความผิดปกติได้ในไตรมาส 2 และ 3 แต่ไม่แนะนำให้ตรวจในไตรมาสแรกเนื่องจาก
1. ทารกในครรภ์อยู่ในช่วงสร้างอวัยวะของร่างกาย อาจมีความเสี่ยงต่อการได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามากขึ้น
2. ทารกในครรภ์มีขนาดเล็กเกินไป ทำให้ตรวจหาความผิดปกติได้ยาก ซึ่งระยะนี้จะนิยมตรวจด้วยการตรวจอัลตร้าซาวด์เนื่องจากมีความละเอียดมากกว่า
อย่างไรก็ตาม MRI ก็สามารถทำได้ในทุกไตรมาส ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
ข้อห้ามของการตรวจ MRI สำหรับหญิงมีครรภ์
ข้อห้ามของการตรวจก็เหมือนกับข้อห้ามทั่วไปในการตรวจ MRI ยกตัวอย่างเช่น มีคลิปของเส้นเลือดโป่งพองในสมอง ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ผู้ที่กลัวที่แคบ หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาส 3 อาจรู้สึกไม่สบายหากนอนหงายเวลาตรวจเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งสามารถช่วยได้ด้วยการตรวจในท่านอนตะแคง
สรุป
ตามคำแนะนำของ Safety Committee of the Society for Imaging (3) MRI สามารถตรวจในหญิงตั้งครรภ์ได้ หากการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่สามารถให้ข้อมูลเพียงพอแต่การวินิจฉัยและการวางแผนการรักษา หรือหากการตรวจอื่นๆจำเป็นที่จะต้องใช้ลำแสงเอกซเรย์ ผู้ป่วยควรได้รับการแจ้งให้ทราบว่าถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการตรวจ และต้องมีใบยินยอมเข้ารับการตรวจทุกราย ทำให้ MRI มีบทบาทในการวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์ที่การตรวจอัลตร้าซาวด์วินิจฉัยได้ลำบาก เช่น การตรวจหาความิดปกติของสมอง และความพิการของทารกในครรภ์
ที่มา: RMC
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!