X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แฝดร่วมไข่ ความมหัศจรรย์ของแฝดหน้าเหมือนหรือ "ฝาแฝดกระจกเงา”

บทความ 5 นาที
แฝดร่วมไข่ ความมหัศจรรย์ของแฝดหน้าเหมือนหรือ "ฝาแฝดกระจกเงา”

“mirror-image twins” หรือฝาแฝดกระจกเงาคืออะไร? ไปอ่านกันเลยค่ะ

แฝดร่วมไข่ คือ ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวผสมกับตัวอสุจิเพียงตัวเดียว แต่ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วเจริญเติบโตเป็นเอ็มบริโอในระยะแรกๆ เกิดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน จากนั้นแยกขาดออกจากกันแล้วเจริญเติบโตเป็นทารก และคลอดในเวลาใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่จะหน้าตาเหมือนกันจนแยกกันไม่ออก

 

 

mirror-image twins ฝาแฝดกระจกเงา

“ลูคัส” และ “ลูอี้” (Lucas and Louie) แฝดกระจกเงา ที่เหมือนกันราวส่องกระจกเงา

 

แฝดร่วมไข่ หรือ แฝดไข่ใบเดียวกัน

ฝาแฝดประเภทนี้มักจะมีรูปร่าง หน้าตาเหมือนกัน เพศเดียวกัน อุปนิสัยใจคอและความสามารถคล้ายกันเมื่อได้รับการเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ในบางครั้งฝาแฝดร่วมไข่ซึ่งเกิดจากเอ็มบริโอที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน แต่ไม่แยกออกจากกันโดยเด็ดขาด ทำให้ทารกที่คลอดออกมามีอวัยวะ บางส่วนติดกัน เช่น แฝดสยาม (Siamese twin) คู่แรกที่ชื่ออิน – จัน มีส่วนหน้าอกติดกันและมีตับเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่สามารถผ่าตัดแยกจากกันได้

 

แฝดร่วมไข่ ที่เหมือนกันจนถูกเรียกว่าเป็นฝาแฝดกระจกเงา

เรื่องราวมหัศจรรย์ของสามีภรรยาคู่หนึ่งนามว่า “ริชชี่” และ “แดเนียล” (Richie and Danielle) เมื่อฝ่ายแดเนียลตั้งครรภ์และไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจก็พบว่าเธอตั้งครรภ์ฝาแฝด และที่น่าตื่นเต้นคือ ลูกของทั้งคู่คือ “แฝดร่วมไข่” ซึ่งเป็นเพศชายทั้งคู่

ในปี 2013 คุณแม่แดเนียลให้กำเนิดลูกแฝดเพศชายที่สุขภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ทั้งคู่ตั้งชื่อให้น้องแฝดว่าว่า “ลูคัส” และ “ลูอี้” (Lucas and Louie) นอกจากเรื่องท่ายินดีนี้แล้ว หลังจากที่คุณหมอตรวจอย่างละเอียดก็พบว่าแฝดคู่นี้มีความพิเศษจนทำให้คุณพ่อและคุณแม่ตื่นเต้นไปกับเรื่องนั่นคือ

ฝาแฝดลูคัสและลูอี้ มีผมสีบลอนด์และดวงตาสีฟ้าเหมือนกันไม่มีผิดเพี้ยน ซึ่งยากมากที่จะแยกออกว่าใครเป็นใคร ยิ่งไปกว่านั้น ลูคัสและลูอี้ ยังเป็นฝาแฝดเคสพิเศษที่พบได้น้อยมาก เรียกว่า “Mirror-Image Twins” หมายความว่าแฝคคู่นี้กันราวเหมือนเป็นกระจกเงาซึ่งกันและกัน ทั้งหัวใจ ม้าม และตับของลูคัสจะอยู่ด้านขวาของร่างกายในขณะที่ของลูอี้จะอยู่ด้านซ้าย เมื่อเขาทั้งสองคนยืนหันหน้าเข้าหากัน จะปรากฏเป็นเหมือนภาพสะท้อนของกันและกันนั่นเอง

 

mirror-image twins ฝาแฝดกระจกเงา 1

 

Mirror-Image Twins หรือฝาแฝดกระจกเงา นั้นพบได้น้อยมาก เป็นแฝดร่วมไข่ที่ตัวอ่อนแยกตัวกันช้ากว่าปกติ ทั้งสองคนจะมีรูปร่างหน้าตาที่เหมือนกันทุกกระเบียดนิ้ว  มี DNA เดียวกัน และลายนิ้วมือแทบจะไม่แตกต่างกัน แต่จะมีบางอย่างที่ตรงกันข้าม เช่น คนหนึ่งเขียนมือขวา อีกคนเขียนมือซ้าย ปัจจุบันนี้แฝดน้อยมีอายุ 8 ปีทั้งคู่แข็งแรงและสนิทกันมาก คุณพ่อริชชี่บอกว่า “ทั้งลูคัสและลูเหมือนมีสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า”

 

อยากได้ลูกแฝดทำไง: อยากได้ลูกแฝดทำไง

 

เรามารู้จักฝาแฝดให้มากขึ้นกว่านี้ดีกว่าค่ะ

1. ฝาแฝดแท้ (Identical twins)

แฝดร่วมไข่ อย่างที่กล่าวข้างต้น เกิดจากการผสมของไข่ใบเดียวกับอสุจิเพียงตัวเดียว ฝาแฝดประเภทนี้มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ

  • เหตุผลที่แฝดร่วมไข่เหมือนกัน
    เนื่องจากฝาแฝดร่วมไข่เกิดจากไข่ใบเดียวกับอสุจิเพียงตัวเดียว ระยะเวลาที่กำลังเจริญเติบโตเป็นเอ็มบริโอในช่วงแรก เอ็มบริโอเกิดการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหรือมากกว่า แล้วแยกขาดออกจากกัน แต่ละส่วนเจริญไปเป็นฟีตัสและทารก จนกระทั่งคลอดออกมาในเวลาใกล้เคียงกัน

 

2. ฝาแฝดเทียม (Fraternal twins)

แฝดต่างไข่ เกิดจากไข่ 2 ฟอง ผสมกับอสุจิ 2 ตัว หรือมากกว่านั้น ฝาแฝดประเภทนี้มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ และเป็นเพศเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ มีมากกว่า 2 คนก็ได้

  • ทำไมฝาแฝดต่างไข่มีรูปร่างลักษณะไม่เหมือนกัน
    เพราะฝาแฝดต่างไข่เกิดจากไข่มากกว่า 1 ฟอง และอสุจิมากกว่า 1 ตัว โดยไข่แต่ละฟองจะผสมกับอสุจิแต่ละตัว เวลาในการปฏิสนธิเกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน ไข่ที่ได้รับการผสมก็จะเจริญไปเป็นเอ็มบริโอ ฟีตัส และทารก จนกระทั่งคลอดออกมาในเวลาใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่คู่สามีภรรยามักจะทำการผสมเทียมลูกแฝดประเภทนี้

 

mirror-image twins ฝาแฝดกระจกเงา 2

 

ฝาแฝดเป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์


ทั้งที่เรื่องการมีลูกแฝดถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์ และส่วนใหญ่ต้องการมีลูกฝาแฝดเทียม เพื่อความน่ารัก หรือสะดวกในการตั้งครรภ์ครั้งเดียวแต่ได้ลูกถึง 2-3 คน บางครั้งเลือกเพศได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การมีลูกฝาแฝดทางการแพทย์ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติของการตั้งครรภ์ เพราะตามปกติร่างกายของคนเราจะมีกลไกภายในที่ควบคุมให้มีการเจริญเติบโต และการตกไข่รอบละ 1 ใบ ทำให้มีการตั้งครรภ์ และคลอดทารกคราวละมากกว่า 1 คน ดังนั้นการที่ร่างกายของคนเรามีโอกาสตั้งครรภ์ และคลอดทารกคราวละมากกว่า 1 คน จึงถือเป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์แบบหนึ่ง

 

ข้อดีของการมีลูกฝาแฝด

1. ตั้งครรภ์ครั้งเดียวมากกว่า 1 คน

สมัยนี้ด้วยเวลาและความไม่สะดวกของคุณแม่ที่ต้องทำงาน การตั้งครรภ์ทีเดียวได้ลูก 2 คน หรือหลายคน ทำให้หลายคนมองว่าเป็นความโชคดี จึงนิยมผสมเทียมทำลูกแฝดมากขึ้น

บทความจากพันธมิตร
IVF ICSI (อิ๊กซี่) มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
IVF ICSI (อิ๊กซี่) มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service

 

2. ลูกแฝดน่ารักน่าเอ็นดู

เหมือนเป็นความมหัศจรรย์ที่ใครๆ เห็นก็ต้องหลงรัก ยิ่งคนเป็นคุณพ่อคุณแม่แค่เห็นลูกของตนเองโตขึ้นพร้อมๆ กัน ก็ยิ่งมีความสุข และเห็นลูกมีเพื่อนที่เติบโตไปด้วยกัน

 

3. ลูกแฝดไม่เหงา

การมีลูกแฝดทำให้ลูกๆ มีเพื่อนเล่น เป็นพี่น้องที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นที่ปรึกษาซึ่งกันและกัน เติบโตไปด้วยกัน จึงนับเป็นความโชคดีในเวลาเดียวกันด้วย

 

 

mirror-image twins ฝาแฝดกระจกเงา 3

 

 

ข้อเสียของการมีลูกแฝด

1.เสี่ยงเรื่องสุขภาพก่อนและหลังคลอด

ทั้งเสี่ยงตอนตั้งครรภ์และขณะคลอด รวมถึงหลังคลอดลูก ทำให้ต้องมีการดูแลครรภ์เป็นพิเศษมากขึ้น และต้องให้แพทย์คอยตรวจเช็กเป็นระยะๆ ว่าการตั้งครรภ์ปกติหรือไม่

 

2. เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ด้วยความที่ต้องแบกลูกมากกว่า 1 คน จึงมีความลำบากมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่สบายตัว หายใจไม่ค่อยออก ยิ่งในช่วงตั้งครรภ์ช่วงไตรมาส 2-3 ขนาดท้องจะใหญ่มากขึ้น น้ำหนักมากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยในการแบกรับน้ำหนัก การเดินไปนั่นมานี่จึงลำบากมากขึ้นเช่นกัน

 

3. ค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกแฝดจะต้องซื้อสิ่งของต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงควรมีการวางแผนให้ดีกับเรื่องนี้ ใบบางครอบครัวอาจจะเป็นภาระที่หนักมากสำหรับรายจ่าย ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามเรื่องนี้

 

4.ระวังการเปรียบเทียบ

แม้จะเป็นฝาแฝดหน้าตาเหมือนกัน แต่ควรระมัดระวังไม่ให้ลูก 2 คน รู้สึกว่าคนนี้เหนือกว่า คนนี้ด้อยกว่า เพราะในบางครั้งการให้สิ่งหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง แล้วอีกหนึ่งคนไม่ได้ การเปรียบเทียบหรือความน้อยใจ ต้องวางแผนการเลี้ยงดูด้านจิตใจของเด็กๆ ให้ดีค่ะ

 

5.เวลาส่วนตัวของพ่อแม่น้อยลง

ความหนักหน่วงในการเลี้ยงดูลูกจะเพิ่มเป็น 2 เท่า เช่น ทั้งคู่อาจจะตื่นไม่พร้อมกันหรือทำอะไรไม่เหมือนกัน หรือพวกเขาต้องการพ่อแม่ในขณะที่เกิดความไม่พร้อม ทำให้ความวุ่นวายตามมา ทั้งนี้การจัดสรรเวลาให้ลูกแฝดแทบจะใช้เวลาคุณพ่อคุณแม่ไปแบบคูณ 2 นั่นเอง

 

6.ความคาดหวังโดยไม่ตั้งใจ

ในบางครั้งอาจเด็กฝาแฝดอาจทำให้เกิดความผิดหวัง คุณพ่อคุณแม่อาจจะหวังว่ามีลูกแฝดแล้วหน้าตาต้องเหมือนกันทุกอย่าง ขณะที่พ่อคลอดพบว่าหน้าตาอาจจะไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว จึงส่งผลให้เกิดความผิดหวัง หรือความคาดหวังว่าจะต้องเหมือนกันทั้งนิสัย และต้องทำอะไรพร้อมๆ กัน คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมว่า แม้จะเป็นฝาแฝด จะเกิดจากไข่ใบเดียวกันหรือต่างใบ นิสัยคนเราย่อมต่างกันเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องยอมรับ

 

 

บทความที่น่าสนใจ

ลุ้นแทบตาย เมื่อพี่น้องฝาแฝดช่วยกันพิชิตภารกิจเก็บจุกนม!

ท้องนี้ขอให้ได้ลูกชายมาเกิด อยากได้ลูกชายต้องกินอะไร ต้องทำอะไรเบอร์นี้

ทําไงให้มีลูกชาย 6 เคล็ดลับกระบวนท่าทำลูกชาย มีลูกชายท่าไหนดี

ที่มา: 1 , 2, 3 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ชื่นชนก เชื้อพันธุ์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แฝดร่วมไข่ ความมหัศจรรย์ของแฝดหน้าเหมือนหรือ "ฝาแฝดกระจกเงา”
แชร์ :
  • แม่คลอดลูกแฝดที่เกิดจากถุงน้ำคร่ำเดียวกัน (Momo Twins)

    แม่คลอดลูกแฝดที่เกิดจากถุงน้ำคร่ำเดียวกัน (Momo Twins)

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • แม่คลอดลูกแฝดที่เกิดจากถุงน้ำคร่ำเดียวกัน (Momo Twins)

    แม่คลอดลูกแฝดที่เกิดจากถุงน้ำคร่ำเดียวกัน (Momo Twins)

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว