ลูกเป็นโรคแอลดี LD คือ ? รักษาได้หรือไม่ ทำยังไงดีเมื่อลูกเป็นเด็ก LD

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วัยเด็ก คือ วัยแห่งความร่าเริง สดใส สนุกสนานและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แต่ถ้าลูกของคุณพ่อคุณแม่เกิดมีปัญหาทางด้านการบกพร่องทางการเรียนรู้ขึ้นมาหรือที่เรียกว่า โรคแอลดี (LD) คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำอย่างไร วันนี้เราจะพามาดูกันว่าโรค LD คือ อะไร เด็กแอลดีมีแนวทางการรักษาอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ที่นี่

 

LD คือ โรคอะไร ?

โรคแอลดี หรือ LD ย่อ มา จาก คำว่า Learning Disorder หรือในภาษาไทยเรียกว่า โรคการเรียนรู้บกพร่อง เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณ และเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง แม้ว่าเด็กจะมีระดับสติปัญญา และความสามารถด้านอื่น ๆ เป็นปกติดีก็ตาม โรคแอลดี หรือ LD มักจะนำมาซึ่งปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ ซึ่งพบร่วมกันได้ถึงร้อยละ 40 – 50 เช่น โรคสมาธิสั้น ความบกพร่องด้านภาษา และการสื่อสาร ปัญหาการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เป็นต้น

 

เด็กแอลดี LD มีกี่ชนิด ?

LD มีทั้งหมด 3 ชนิดได้แก่

  1. ความบกพร่องทางด้านการอ่าน เด็กมีความบกพร่องในการจดจำพยัญชนะ สระ และขาดทักษะในการสะกดคำ จึงอ่านหนังสือไม่ออก หรืออ่านช้า อ่าน ออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้
  2. ความบกพร่องทางด้านการเขียน สะกดคำ เด็กมีความบกพร่องในด้านการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง บางครั้งเรียงลำดับอักษรผิด จึงเขียนหนังสือ และสะกดคำผิด ทำให้ไม่สามารถแสดงออกผ่านการเขียนได้ตามระดับชั้นเรียน
  3. ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์ เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ คือ ไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้

 

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นเด็ก LD ? สงสัยว่าลูกเป็น LD

คุณอุไรวรรณ เจริญถาวรพานิช คอลัมนิสต์และคุณแม่จากครอบครัวเด็ก LD ได้ให้คำแนะนำและการเยียวยาสำหรับครอบครัวที่มีลูกเป็น LD ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ควรให้ลูกเรียนร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนปกติ เพื่อฝึกให้ลูกมีทักษะทางสังคมด้วย แต่ต้องหาโรงเรียนที่เข้าใจลูก และคุณพ่อคุณแม่ต้องทำโฮมสคูลหรือสอนทวนทั้งบทเรียนและเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวันให้ลูกทุกวันหลังเลิกเรียน ยกเว้นแต่ว่าลูกมีอาการหนักมากอาจให้เรียนแบบโฮมสคูลที่บ้านไปเลย
  • เยียวยาผ่านการปฏิบัติธรรม ปิดเทอมให้พาลูกเข้าค่ายธรรมะ ฝึกนั่งสมาธิ เดินจงกรม เด็กที่อายุน้อยเพียง 6-7 ขวบก็สามารถทำได้แล้ว
  • ใช้ศิลปะหรือกิจกรรมยามว่างอื่น ๆ ในการเยียวยา เด็ก LD หลายคนแม้จะไม่ได้โดดเด่นในด้านการเรียนทางวิชาการเหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ แต่ก็มีความสามารถพิเศษของตนเองโดยคุณพ่อคุณแม่ต้องหาให้เจอด้วย
  • พ่อแม่ แพทย์ ครูที่โรงเรียน ต้องคุยกัน ต้องให้ความร่วมมือกันทั้งสามฝ่ายด้วย ลองพาลูกไปเข้ากลุ่มรวมตัวของครอบครัวที่มีบุตร LD เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันด้วย
  • ที่สำคัญที่สุด คือพ่อแม่ต้องเข้าใจลูกอย่าคิดว่าลูกผิดปกติ อย่าคิดแค่ว่าลูกอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เพราะในหลายบริบทลูกคือเด็กทั่ว ๆ ไป เขาสามารถเป็นหัวหน้าชั้น ปฏิบัติธรรมได้ ทำงานศิลปะที่สวยงามได้

 

ความรู้สึกและพฤติกรรมของเด็ก LD หรือเด็กแอลดี

ข้อมูลจากโรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวถึงความรู้สึกที่เด็กแอลดี มีตัวเองไว้ว่า เด็กมักรู้สึกว่าตนเองเรียนไม่ฉลาด และไม่เก่ง เมื่อถูกบังคับให้ทำงานซ้ำ ๆ หรือเรียนพิเศษ ก็จะต่อต้านการเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน เด็กแอลดีมักฉลาดพูด และสามารถโต้ตอบได้ดี แต่พอให้อ่าน เขียน คำนวณ กลับทำไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ที่ไม่เข้าใจ จะดุลูกว่าเป็นเด็กขี้เกียจ ดื้อ เกเร เด็กบางคนรู้สึกอายที่ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ แต่ไม่อยากให้ใครรู้ จึงปฏิเสธที่จะทำ อีกทั้งความรู้สึกที่ว่าตัวเองด้อยกว่าเพื่อน ก็เป็นปมในใจ และส่งผลให้แสดงออกทางพฤติกรรมเหล่านี้

  • หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน
  • ไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จ ทำงานสะเพร่า
  • ความจำไม่ดี เรียนแล้ว ลืมง่าย
  • รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้
  • ไม่มั่นใจในตนเอง มักตอบว่า “ทำไม่ได้” “ไม่รู้”
  • อารมณ์ ขึ้น ๆ ลง ๆ หงุดหงิดง่าย ไม่อดทน
  • ก้าวร้าวกับเพื่อน พี่น้อง ครู หรือพ่อแม่
  • ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง

 

รู้เร็ว รักษาได้

การช่วยเหลือ เด็กแอลดี หรือ เด็กที่เป็นโรคแอลดี ทำได้ด้วยการตรวจหาให้เจอเร็วที่สุด หรือตั้งแต่ยังมีอาการไม่มาก หากลูกมีอาการสมาธิสั้น จดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ไม่ต่อเนื่อง ซุกซนเกินกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด และหุนหันพลันแล่น ใจร้อนคอยไม่เป็น พ่อแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา ซึ่งจะต้องใช้ยา หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ ทั้งสองวิธีควบคู่กัน หากไม่ทำการรักษาจะส่งผลให้มีพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเป็นสมาธิสั้นทำยังไง? กิจกรรมแก้โรคสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน

 

 

แนวทางการช่วยเหลือทางการแพทย์

  • พาลูกไปพบคุณหมอ คุณหมอจะทำการซักประวัติอย่างละเอียดจากคุณพ่อคุณแม่ มีแบบสอบถามให้คุณครูของเด็กตอบ มีการวัดระดับเชาวน์ปัญญา วัดความสามารถทางการเรียนด้านต่าง ๆ
  • ตรวจร่างกายและทดสอบทางจิตวิทยา และผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
  • ให้ความรู้ความเข้าใจ ช่วยเหลือเด็ก และครอบครัวทางด้านจิตใจ
  • ถ้าเด็กมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น สมาธิสั้น ซึมเศร้า คงต้องให้ยาเพื่อรักษาโรคเฉพาะ
  • การบำบัดทางเลือกอื่น ๆ เช่น ศิลปะบำบัด การกระตุ้นระบบประสาทและความรู้สึก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แนวทางการช่วยเหลือทางด้านการศึกษา

  • โรงเรียนควรจัดทำแผนการเรียนรายบุคคลให้สอดคล้องกับระดับความบกพร่องของเด็ก แต่ละด้านโดยทำความเข้าใจกับครูถึงปัญหาและความบกพร่องของเด็ก
  • เน้นการสอนเสริมในทักษะที่บกพร่อง เช่น การสะกดคำ อ่าน เขียนสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือตัวต่อครั้งละ 30 – 45 นาที สัปดาห์ละ 4 – 5 วัน
  • การช่วยอ่านบทเรียนให้ฟัง เพื่อให้เด็กได้เนื้อหา ความรู้ ได้เร็วขึ้น
  • การให้เวลาในการทำข้อสอบเพิ่มขึ้น เพื่อให้เด็กมีเวลาเพียงพอในการอ่านโจทย์ และเขียนตอบ จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น
  • ส่งเสริมทักษะด้านอื่น ๆ ที่เด็กสนใจ เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

 

แนวทางการช่วยเหลือของครอบครัว

  • อธิบายให้เด็กและครอบครัวทราบถึงปัญหาและความบกพร่องเฉพาะด้านของเด็ก รวมทั้งความรู้สึกของเด็กที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
  • เปลี่ยนพฤติกรรมจากการตำหนิ ลงโทษ เป็นความเข้าใจ และสนับสนุนในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก
  • ชื่นชมเมื่อเด็กทำสำเร็จแม้ในเรื่องเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
  • หากเด็กได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ และรักษาตามแนวทางที่ถูกวิธี ลูกของคุณพ่อคุณแม่จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและสามารถหายได้นะคะ เพียงแต่ต้องอาศัยความรักและความเข้าใจ รวมถึงการให้กำลังใจลูกในทุก ๆ ทาง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไม่อยากให้ลูกสมาธิสั้น ต้องอ่านเรื่องนี้ พ่อแม่คลิกสิถ้าไม่อยากเสียใจ

 

 

รายชื่อสถาบันที่สามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตของเด็ก

  • โรงพยาบาลมนารมย์ โทรศัพท์  02-725-9595, 02-399-2822
  • สถาบันราชานุกูล โทรศัพท์ 0-2248-8900  สายด่วน โทร. 0-2245-4696
  • โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ โทรศัพท์ 02-3843381-3
  • คลินิกโรคการเรียนรู้บกพร่อง โรงพยาบาลรามาธิบดี โทรศัพท์ 02-201-1235, 02-201-1245
  • โรงพยาบาลศิริราช หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โทรศัพท์ 0-2419-7000 ต่อ 7422-3
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โทรศัพท์ 0-2256-5183
  • โรงพยาบาลภูมิพล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โทรศัพท์ 0-2534-7306
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ภาควิชาการศึกษาพิเศษ โทรศัพท์ 02-6641000 ต่อ 5631

 

การดูแลเด็กที่เป็นโรคแอลดี LD ควรได้รับการเอาใจใส่จากพ่อแม่อย่างใกล้ชิด เพราะหากพ่อแม่หรือครูไม่เข้าใจตัวเด็ก ก็อาจทำให้การช่วยเหลือได้ล่าช้า ดังนั้น หากลูกของคุณมีภาวะความบกพร่องทางการเรียน ก็ควรพาเขาไปรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ และอย่าลืมให้ความรักและกำลังใจให้แก่ลูกด้วยนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทำอย่างไรเมื่อเด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ ?

โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีโรคอะไรบ้าง มาเช็คอาการกัน !

พ่อแม่รู้ไหม…ส่งลูกเข้าโรงเรียนเร็วเกินไปอาจทำให้ ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น !

ที่มา : thaipsychiatry, manarom, โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา