ชั้นบรรยากาศ มีกี่ชั้น? มารู้จักชั้นบรรยากาศของโลกกันเถอะ!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โลกของเรามีบรรยากาศที่คอยปกคลุมผิวโลก และเป็นเกราะป้องกันรังสีอันตรายจากดวงอาทิตย์ และวัตถุต่าง ๆ นอกโลก เด็ก ๆ อาจยังไม่รู้ว่าบรรยากาศในโลกของเรานั้น แบ่งออกเป็นหลายชั้นด้วยกัน วันนี้ theAsianparent จะพาน้อง ๆ มารู้จัก ชั้นบรรยากาศ ว่าแต่ละชั้นเรียกว่าอะไร และมีหน้าที่อะไรบ้าง พร้อมแล้ว ไปเรียนรู้กันเลย

 

ชั้นบรรยากาศ คืออะไร

ชั้นบรรยากาศ (Layers of The Atmosphere) คือ ส่วนที่ปกคลุมผิวโลก โดยมีขอบเขตจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1,000 กิโลเมตร โดยบริเวณที่ใกล้ระดับน้ำทะเลนั้น จะมีอากาศที่มีความหนาแน่นมาก ซึ่งความหนาแน่นของอากาศจะค่อย ๆ ลดลง เมื่อสูงขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ชั้นบรรยากาศทำหน้าที่เหมือนเกราะป้องกันรังสีที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ และวัตถุต่าง ๆ นอกโลก เช่น อุกกาบาต เป็นต้น ซึ่งภายในชั้นบรรยากาศนั้น จะประกอบไปด้วยอากาศ ไอน้ำ และความร้อน

 

ส่วนประกอบของชั้นบรรยากาศ

บรรยากาศมีส่วนประกอบสำคัญ คือ แก๊สชนิดต่าง ๆ ฝุ่นละออง ไอน้ำ และอื่น ๆ โดยบรรยากาศของโลกนั้น มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 3 ส่วน ดังต่อไปนี้

1. แก๊สไนโตรเจน 78.08% แก๊สออกซิเจน 20.94% แก๊สอาร์กอน 0.93% แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 0.03% และอื่น ๆ อีก 0.2% ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่มีอากาศแห้งจริง ๆ เพราะอากาศโดยทั่วไปจะมีไอน้ำปะปนอยู่ประมาณ 0-4%

2. ไอน้ำ เป็นการระเหยของน้ำจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งการระเหยจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณไอน้ำในอากาศ และพื้นที่ผิวหน้า ไอน้ำมีส่วนทำให้เกิดฝน พายุ ลม ฟ้าแลบ และฟ้าร้อง

3. อนุภาคที่เป็นของแข็งขนาดเล็ก ได้แก่ ฝุ่นละออง และควันไฟ โดยอาจเป็นอนุภาคที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ หรือเกิดขึ้นจากธรรมชาติ สามารถแพร่กระจายขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้โดยตรง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ระบบสุริยะ คืออะไร? เรียนรู้เรื่องราวของดาวเคราะห์ เสริมพัฒนาการเด็ก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บรรยากาศต่างจากอากาศอย่างไร

โดยทั่วไปแล้วบรรยากาศ (Atmosphere) จะหมายถึง อากาศในที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลก โดยจะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800 - 1,000 กิโลเมตร บรรยากาศนั้นจะมีความหนาแน่นในระดับต่ำ และมีความเจือจางในระดับสูง ส่วนอากาศ (Air) จะหมายถึง อากาศที่อยู่ในบริเวณจำกัด หรืออากาศที่ปกคลุมบริเวณที่กำหนดขอบเขตได้ เป็นส่วนที่อยู่เหนือตำแหน่งผิวโลก เช่น อากาศในบ้าน อากาศในห้องเรียน อากาศบริเวณภูเขา ชายหาด หรือบนพื้นดิน เรียกได้ว่าเป็นอากาศที่อยู่รอบตัวเรานั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประโยชน์ของบรรยากาศ

อย่างที่เราทราบกันดีว่าบรรยากาศมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยทำให้เกิดกระบวนการในการดำรงชีวิต เช่น การหายใจ การมองเห็น หรือการได้ยินเสียง เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้เหมาะสมแก่การดำรงชีวิต รวมทั้งยังช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเลต และป้องกันอุกกาบาต และวัตถุต่าง ๆ นอกโลกได้อีกด้วย

 

ชั้นบรรยากาศ มีกี่ชั้น

โดยปกติแล้วชั้นบรรยากาศจะแบ่งออกได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นชั้นบรรยากาศ 4 ชั้น หรือชั้นบรรยากาศ 5 ชั้น แต่หลัก ๆ แล้วจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์นั้น สามารถแบ่งชั้นบรรยากาศออกเป็น 5 ชั้น ดังต่อไปนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere)

ชั้นบรรยากาศ โทรโพสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศที่เราอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศชั้นล่างสุด โดยจะมีระดับความสูงประมาณ 0-12 กิโลเมตรจากพื้นดิน ชั้นบรรยากาศชั้นนี้จะมีอุณหภูมิที่ค่อย ๆ ลดลงตามระดับความสูง ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีอุณหภูมิลดลงประมาณ 6.5 องศาเซลเซียสต่อกิโลเมตร ถือเป็นชั้นบรรยากาศที่มีความหนาแน่น และมีไอน้ำมาก มีการเคลื่อนที่ของอากาศทั้งแนวระดับ และแนวดิ่ง ทำให้ชั้นบรรยากาศชั้นนี้มีความแปรปรวน ทำให้เกิดลักษณะลมฟ้าอากาศต่าง ๆ เช่น หมอก เมฆ ฝน พายุ ลม และหิมะ เป็นต้น ถือเป็นชั้นบรรยากาศที่มีความสำคัญทางอุตุนิยมวิทยาเป็นอย่างมาก

 

2. สตราโทสเฟียร์ (Stratosphere)

สตราโทสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศที่ขึ้นไปจนถึงระดับความสูง 50 กิโลเมตรจากพื้นโลก ซึ่งจะมีระยะความสูงมากขึ้นจากชั้นโทรโพสเฟียร์ ทำให้มีอุณหภูมิที่สูงขึ้นไปด้วย เพราะเป็นชั้นบรรยากาศที่มีโอโซนดูดกลืนรังสี UV เอาไว้ ทำให้มีอุณหภูมิที่สูง และมีแก๊สโอโซนในปริมาณมาก โดยชั้นบรรยากาศชั้นนี้จะมีความสงบมากกว่าชั้นโทรโพสเฟียร์ เพราะไม่มีเมฆ ฝน และมีมวลความหนาแน่นของอากาศที่น้อยกว่า

 

3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere)

มีโซสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือชั้นสตราโตสเฟียร์ขึ้นไป จนถึงระดับความสูง 80 กิโลเมตรจากพื้นโลก ซึ่งชั้นบรรยากาศชั้นนี้จะกลับมามีอุณหภูมิที่สูงเมื่อมีระยะความสูงมากขึ้น เหมือนกับชั้นโทรโพสเฟียร์ เพราะมีระยะทางที่ห่างจากชั้นโอโซนซึ่งเป็นชั้นดูดความร้อน โดยความหนาแน่นในชั้นบรรยากาศนี้จะมีน้อยมากเพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น แต่ก็มากพอที่จะเผาไหม้ดาวตก และช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ อุณหภูมิในชั้นนี้จะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ - 120 องศาเซลเซียส

บทความที่เกี่ยวข้อง : วัฏจักรน้ำ คืออะไร? พาลูกเรียนรู้ กับวิทยาศาสตร์จากสิ่งรอบตัวกันเถอะ

 

 

4. เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere)

ชั้นบรรยากาศ เทอร์โมสเฟียร์ คือ ชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือชั้นมีโซสเฟียร์ขึ้นไป จนถึงระดับความสูง 700 กิโลเมตรจากพื้นโลก อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศชั้นนี้จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงความสูง 100 กิโลเมตรแรก หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลง ทำให้บรรยากาศชั้นนี้มีความร้อนจากดวงอาทิตย์มาก มีอุณหภูมิประมาณ   227-1,727 องศาเซลเซียส รวมถึงยังเป็นชั้นที่มีแก๊สต่าง ๆ ที่เป็นประจำไฟฟ้า เช่น ไอออน ซึ่งช่วยในการสะท้อนคลื่นวิทยุ และมีประโยชน์ต่อการสื่อสาร ทำให้ชั้นบรรยากาศชั้นนี้มีดาวเทียมอยู่มาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. เอกโซสเฟียร์ (Exosphere)

ชั้นบรรยากาศชั้นนี้ เป็นชั้นบรรยากาศชั้นนอกสุดที่คอยห่อหุ้มโลก มีความสูงตั้งแต่ 700 กิโลเมตรขึ้นไป ซึ่งบรรยากาศในชั้นนี้จะไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนระหว่างบรรยากาศ และอวกาศ ทำให้ยากที่จะกำหนดได้ว่ามีขอบเขตเท่าใด นอกจากนี้ บรรยากาศชั้นนี้จะมีโมเลกุลของแก๊สน้อยมาก มีอากาศเจือจาง และมีแก๊สที่เบา เช่น แก๊สฮีเลียม และแก๊สไฮโดรเจน

 

ชั้นบรรยากาศมีความสำคัญต่อโลกของเราเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยทำให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแล้ว ยังช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้มีความเหมาะสมกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกจากนี้ ชั้นบรรยากาศทั้ง 5 ชั้นยังช่วยกรองรังสี UV ป้องกันอุกกาบาต และวัตถุจากนอกโลกอีกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รุ้งกินน้ำ เกิดจากอะไร? การเกิดรุ้งกินน้ำ ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เด็ก ๆ ควรรู้!

ห่วงโซ่อาหาร คืออะไร สำคัญกับระบบนิเวศแค่ไหน ความรู้เสริมสำหรับหนูน้อย

จันทรุปราคา คืออะไร? เกิดขึ้นได้บ่อยแค่ไหน มีลักษณะพิเศษอย่างไร มาค้นหาคำตอบกัน

ที่มา : nstda, sciplanet, Campus Star, 4, Mahidol

บทความโดย

Sittikorn Klanarong