เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร การที่เด็กอมมือนั้นเป็นพฤติกรรมที่ปกติหรือไม่ เรามาดูกันค่ะ ว่า เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร ลูกจะเลิกได้จริงหรือ
เด็กอมมือ เทคนิคช่วยให้ลูกเลิกอมนิ้วมือ
เด็กอมมือ เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร
ส่งเสริมกิจกรรมการเล่นหยิบ จับ กล้ามเนื้อมือของเด็กตามวัย เช่น ต่อบล็อก ต่อจิ๊กซอว์ เป็นต้น
คุณแม่อาจจะพาลูกนั่งรถเข็นเดินเล่น และอาจจะนำของเล่นมาเล่นนอกบ้าน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศไม่ให้ลูกเบื่อ
คุณพ่อคุณแม่อาจจะพาลูกนั่งรถเข็นเดินเล่น และอาจจะนำของเล่นมาเล่นนอกบ้าน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศไม่ให้ลูกเบื่อ
สำหรับทารกที่ชอบดูดนิ้ว หรือกัดผ้าห่มก่อนนอนให้หากิจกรรมทำก่อนนอนเพื่อให้เค้าผ่อนคลาย
จับมือลูกออกจากปากทันที ที่ลูกเผลอเอามือ หรือสิ่งของเข้าปาก ซ้ำ ๆ ทุกครั้ง
การที่ ดุ หรือ ด่า จะทำให้ลูกยิ่งกลัว ไม่มั่นใจ เกิดอาการเครียดและเป็นสาเหตุทำให้ลูกยิ่งดูดนิ้วมากขึ้น
คุณพ่อคุณแม่ควรชมลูก เวลาที่ลูกไม่ได้ดูดนิ้ว เพื่อให้เขารู้สึกว่าถ้าไม่ดูดนิ้วแล้วคุณพ่อคุณแม่จะหันมาให้ความสนใจ และเห็นเขาเป็นเด็กน่าชื่นชม
การใช้ผ้าหรือเทปพันที่นิ้ว การดัดแปลงชุดนอนให้แขนเสื้อยาวมากเกินปกติ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับเด็กที่ต้องการเลิกนิสัยดูดนิ้วและต้องการตัวช่วยให้เค้าไม่เผลอเอานิ้วเข้าปาก โดยเฉพาะตอนนอน
หมั่นตัดเล็บลูกให้สั้น และล้างมือลูกให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าลืมสังเกตด้วยว่าที่มือของลูกมีอาการอักเสบ คัน หรือเป็นแผลจากการดูดนิ้วหรือไม่
สาเหตุที่ทารกชอบอมนิ้วมือ
เด็กอมมือ เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร
เป็นพฤติกรรมที่พบได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาเมื่อมีอายุครรภ์ 18 สัปดาห์ วัยทารกและก่อนวัยเรียน และอาจมีต่อเนื่องจนถึงวัยเรียน ส่วนใหญ่หลังอายุ 2 – 4 ปี เด็กมักจะค่อย ๆ เลิกดูดนิ้วไปเอง แต่บางคนอาจดูดนิ้วต่อไปอีกระยะหนึ่งซึ่งมักจะดูดเฉพาะก่อนนอนไปจนอายุ 5 – 6 ปี เด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี ไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่มีผลกระทบในด้านต่างๆ เพราะเด็กสามารถพัฒนาการควบคุมตนเองได้และเลิกดูดนิ้วไปได้ในที่สุด
- พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ ( Learned habit / behavior ) เด็กวัยทารกอายุประมาณ 4 -6 สัปดาห์เอามือเข้าปากโดยบังเอิญแล้วเรียนรู้ว่าการดูดนิ้วจึงทำให้เกิดความสุข ความพอใจ ความเพลิดเพลิน ( Gratification ) จึงทำให้พฤติกรรมดังกล่าวอีก
- เด็กจะดูดนิ้วเพื่อเป็นการกระตุ้นตนเอง ( Self – stimulation ) เมื่อรู้สึกเบื่อ อยู่คนเดียว ถูกทอดทิ้ง หรือไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมจากผู้เลี้ยงดู
- เด็กดูดนิ้วเพื่อเป็นการปลอบตนเอง ( Self – soothing ) เมื่อไม่สุขสบายกาย เช่นหิว ง่วง หรือป่วย เมื่อไม่สบายใจหรือมีความเครียด ความกังวล เช่นการเข้าโรงเรียน การย้ายที่อยู่ การมีน้อง
ดูดนิ้วนานส่งผลอย่างไร
- ปัญหาเกี่ยวกับช่องปากและฟัน ที่พบได้มากที่สุด เช่นอการสบของฟัน การบาดเจ็บของเยื่อบุช่องปาก รูปหน้าผิดปกติ
- ปัญหาเกี่ยวกับนิ้วมือและเล็บ เช่น การติดเชื้อ นิ้วผิดรูป การที่ทารกดูดตลอดหรือบ่อย ๆ ทำให้เกิดโรคนิ้วเปื่อย หากไม่มีการติดเชื้อก็จะหายไปเองได้ เมื่อลูกเลิกดูดแต่หากมีการติดเชื้อหรือว่าแพ้น้ำลายตัวเอง ก็ต้องพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยใช้ยา
- ปัญหาด้านจิตใจ ได้แก่ ปัญหาความสัมพันธ์โดนเพื่อนล้อ โดนพ่อแม่ตำหนิหรือลงโทษ
เลิกดูดนิ้วแล้ว กลับมาดูดอีก
เด็กที่เลิกดูดนิ้วแล้ว แต่กลับมาดูดใหม่คุณพ่อคุณแม่ต้องลองหาสาเหตุ ว่าอาจมีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการถดถอย หรือเด็กมีความเครียด เช่น เมื่อมีน้องใหม่ เจ็บป่วย สูญเสีย คนในครอบครัว ย้ายบ้าน ย้ายโรงเรียนของเล่นชิ้นโปรดหายไป หรือเกิดมีความเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่เกิดกับเด็กหรือไม่เพราะการกลับมาดูดนิ้วแบบนี้จะส่งผลเสีย และไม่ใช่เป็นการดูดตามพัฒนาการอย่างในวัยทารก
การตัดเล็บสำหรับทารก
เล็บมือและเล็บเท้าของทารก จะค่อนข้างนิ่มและยาวเร็วกว่าเล็บของผู้ใหญ่ หากปล่อยให้เล็บยาว อาจไปขีดข่วนผิวหนังของทารกเองหรือคนรอบข้าง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถตัดเล็บทารกได้ ใช้วิธีที่คล้ายกับของผู้ใหญ่ โดยเริ่มจากล้างมือและเท้าของทารกให้สะอาดในระหว่างอาบน้ำ จากนั้นค่อย ๆ ตะไบเล็บให้สั้น หรืออาจใช้กรรไกรตัดเล็บสำหรับเด็กค่อย ๆ ตัดด้วยความระมัดระวัง แต่ไม่ควรใช้กรรไกรตัดเล็บของผู้ใหญ่ เพราะมีขนาดใหญ่เกินนิ้วของทารก และอาจตัดโดนนิ้วหรือทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
โรคมือเท้าปาก จากน้ำลาย
เด็กอมมือ เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร
ส่วนใหญ่ได้รับเชื้อไวรัสทางการหายใจ ไอ จามรดกัน การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผลหรืออุจจาระของผู้ป่วยเกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้ พบบ่อยในเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี สำหรับประเทศไทยพบการระบาดตลอดทั้งปีแต่จะมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝนและช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีตุ่มน้ำใสขอบแดงขึ้นที่บริเวณปาก มือ และเท้า
ป้องกันโรคมือเท้าปาก
- รักษาความสะอาด หมั่นล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร ใช้ช้อนกลาง
- หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ
- ผู้เลี้ยงดูเด็ก ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย
- สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วม ที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ
- เมื่อพบเด็กที่ป่วยหรือมีอาการของโรคนี้ แนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์และหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ (ระหว่างนี้ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่นสระว่ายน้ำ และห้างสรรพสินค้า)
ล้างมืออย่างถูกวิธี
- ล้างมือด้วยน้ำสะอาด
- ใช้สบู่ในปริมาณที่เพียงพอต่อการล้างมือในแต่ละครั้ง
- ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างถูกันและกัน โดยสลับกันถู
- ใช้ฝ่ามือข้างซ้ายถูหลังมือข้างขวา โดยสอดนิ้วเข้าไปถูง่ามนิ้วทำสลับกันกับมืออีกข้าง
- ถูฝ่ามือด้วยการไขว้นิ้วมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันคล้ายท่าประสานมือ
- ใช้นิ้วทั้งสี่ของมือทั้งสองเกี่ยวกันในท่ามือหนึ่งคว่ำมือหนึ่งหงาย เพื่อถูหลังนิ้วมือด้วยฝ่ามืออีกข้าง
- ใช้มือข้างซ้ายจับนิ้วโป้งข้างขวาแล้วหมุนไปมา ทำซ้ำแบบเดียวกันกับนิ้วโป้งข้างซ้าย
- ถูปลายนิ้วเข้ากับฝ่ามือของอีกข้างในท่าหมุนเป็นวงกลมกลับไปกลับมาบนฝ่ามือ
- ล้างสบู่ออกด้วยน้ำ
- เช็ดมือให้แห้งดีด้วยกระดาษชำระสำหรับเช็ดมือ
- อาจใช้กระดาษชำระที่เช็ดมือปิดก๊อก เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อโรคอีกครั้ง
วิธีสอนให้ลูกล้างมือ
การล้างมือให้สะอาด ปราศจากเชื้อโรค ควรทำอย่างน้อย 20 วินาที แต่เด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาล้างมือเพียงไม่กี่วินาที กิจกรรมสนุก ๆ ระหว่างการล้างมือจะช่วยให้ลูกเพลิดเพลินและล้างมือได้นานขึ้น เช่นให้ลูกร้องเพลงง่าย ๆ ช้า ๆ หนึ่งรอบ หรือร้องเร็ว ๆ สัก 2 รอบ ให้ลูกนับ 1-20 หรือ 1-10 อย่างช้า ๆ หรือใช้นาฬิกาทรายช่วยจับเวลาให้น่าตื่นเต้น
- ทำสภาพแวดล้อมให้อำนวยต่อลูก
การหาเก้าอี้ให้ยืนมีผ้าเช็ดมือพร้อมสบู่ที่สามารถเอื้อมถึงได้ จะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนสามารถทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้เหมือนผู้ใหญ่ ทำให้เกิดความภูมิใจ และไม่รู้สึกว่าการล้างมือเป็นเรื่องยากลำบากเต็มใจล้างมือมากขึ้น
หาสบู่ที่มีกลิ่นหอมหรือขวดใส่สบู่เหลวรูปตัวการ์ตูนที่ลูกโปรดปราน เพื่อดึงดูดให้การล้างมือรื่นเริงกว่าเดิม
ที่มา : (thaihealth),(si.mahidol),(pobpad)
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
พัฒนาการด้านร่างกาย : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
อยู่บ้านก็เล่นได้ : 15 กิจกรรมแสนสนุกอยู่บ้านก็เพิ่มทักษะให้ลูกได้
พ่อแม่ 4 ประเภท ที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมดีหรือก้าวร้าว คุณเป็นพ่อแม่แบบไหน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!