อาหารตามวัย เด็กแต่ละเดือนกินอะไรได้บ้าง ถ้าลูกแพ้อาหารจะดูยังไง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับรายการ TAP Ambassador ของเราในสัปดาห์นี้ มาพร้อมกับประเด็นที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านให้ความสนใจ โดยหัวข้อในวันนี้คือ อาหารตามวัย เด็กแต่ละเดือนกินอะไรได้บ้าง ถ้าลูกแพ้อาหารจะดูยังไง ซึ่งในวันนี้  theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมาไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กันกับคุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

ควรจัดอาหารตามช่วงวัย ให้ลูกอย่างไรบ้าง หรือแบ่งช่วงอายุการกินอย่างไรบ้าง

แบ่งเป็นทุก ๆ 2 เดือน โดยควรเริ่มให้ลูกทานอาหารเสริมได้ในช่วง 4 – 6 เดือน ไม่ควรเริ่มเร็วกว่า 4 เดือน และไม่ควรเริ่มช้ากว่า 6 เดือน โดยสาเหตุที่ไม่ควรเริ่มเร็วกว่า 4 เดือนเนื่องจากน้ำย่อยของเด็กยังไม่พร้อม และตัวเด็กเองที่ยังนั่งไม่ได้ รวมไปถึงกระบวนการกลืนและการเคี้ยวของตัวเด็กนั้นยังไม่สมบูรณ์พอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กมีโอกาสที่จะเสี่ยงลำไส้อุดตันได้เช่นกัน โดยกุมารแพทย์ที่ดูแลเรื่องการฉีดวัคซีนจะมีการประเมินให้ว่าเด็กเริ่มมีความพร้อมในการทานเมื่อไร โดยเด็กจะต้องเริ่มนั่งได้ เริ่มที่อยากเอาของเข้าปาก และรวมถึงทำท่าเคี้ยวได้ โดยเด็กพวกนี้จะถือว่ามีความพร้อม และนั่งได้อย่างมั่นคง คอตั้งตรงได้

บทความที่น่าสนใจ : 20 ไอเดีย อาหารสำหรับเด็ก ข้าวลูกวัยเตาะแตะ ทำง่ายๆ ได้สุขภาพ

 

ในส่วนของเด็กอายุ 6 – 8 เดือน อาหารที่เด็กวัยนี้ทานได้ จะเริ่มจากการบดละเอียดก่อน เพื่อให้เด็กปรับตัวมีความคุ้นเคยกับอาหารที่เริ่มมีเนื้อ มีผิวสัมผัส หลังจากนั้นในช่วงอายุ 8 – 10 เดือน จึงค่อย ๆ ปั่นอาหารให้หยาบขึ้น และเมื่อเด็กมีอายุ 10 เดือนขึ้นไป ก็สามารถที่จะให้เริ่มทานโจ๊กข้นหรือข้าวนิ่มได้ โดยในเรื่องของอาหารนั้น จะไม่เชื่อในเรื่องของการเทสอาหารกันแล้ว เช่น 1 สัปดาห์แรกให้ทานข้าว ส่วนสัปดาห์ถัดมาให้ทานตำลึง เป็นต้น เพราะกว่าเด็กจะได้สารอาหารที่ต้องการ ก็อาจทำให้เด็กขาดสารอาหารได้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่าในปัจจุบันจึงให้เด็กทานอาหารครบ 5 หมู่ได้ตั้งแต่มื้อแรกเลย

 

ภาพจาก freepik.com

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากเป็นเด็กในช่วง 8 – 10 เดือน อาหารควรที่จะเพิ่มความหยาบและกากใยขึ้น โดยประมาณ 6 เดือนอาจจะเริ่มทานไข่แดงก่อน และเมื่ออายุ 7 – 8 เดือนจึงค่อย ๆ เริ่มทานไข่ขาว เพราะจากวิจัยพบว่าเด็กที่แพ้ไข่ ส่วนใหญ่มักจะแพ้ไข่ขาวมากกว่าไข่แดง จึงให้เด็กเริ่มทานไข่แดงก่อน อีกทั้งในไข่แดงยังมีธาตุเหล็กด้วย ส่วนหลังจากนั้น 10 เดือนมักจะไม่พบปัญหาอะไรแล้ว

หากเป็นอาหารทะเล ที่ตามความเชื่อพบว่าควรทานหลังเด็กอายุ 1 ขวบ ซึ่งจริง ๆ แล้วอาหารทะเลสามารถทานได้เลย เพราะในปลาหลาย ๆ ชนิดจะพบไอโอดีนและโอเมก้าที่มีประโยชน์กับเด็ก แต่หากที่บ้านแพ้อาหาร หรือมีประวัติภูมิแพ้ในบ้าน อาจจะเว้นไปทานหลัง 1 ขวบได้

 

หากเริ่มมื้อแรกด้วยกล้วยผสมข้าวบดให้ลูก จะมีปัญหาอะไรตามมาไหม

หากเป็นกล้วยที่ผสมข้าวบด เป็นอาหารที่ลูกอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปทานได้ แต่อาจจะทำให้ลูกขาดสารอาหารได้ เพราะกล้วยก็เป็นคาร์โบไฮเดรต รวมถึงข้าวก็เป็นคาร์โบไฮเดรตเช่นกัน จะทำให้ลูกได้สารอาหารเพียงแค่หมู่เดียวเท่านั้น และทำให้ลูกขาดโปรตีน ไขมัน วิตามิน และธาตุเหล็กได้ และถ้าหากเด็กขาดธาตุเหล็ก ก็จะทำให้การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อนั้น เติบโตได้อย่างไม่เต็มที่ และรวมถึงเรื่องของสมอง ทำให้มีสมาธิสั้นได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นธาตุเหล็กและแคลเซียมเป็นสิ่งที่สำคัญ และควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกดื่มนม UHT วันละ 1 – 2 กล่อง และทานอาหารที่หลากหลาย จะมีปัญหาด้านความสูงหรือไม่

อันที่จริง อาหารหลักของเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ขวบขึ้นไปคือข้าว ยิ่งถ้าลูกกินข้าวได้อย่างเต็มที่นั่นถือเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ โดยเด็กในวัยนี้ ควรดื่มนมเพียงแค่ 2 – 3 กล่องต่อวันเท่านั้น เพราะถ้าหากกินมากเกินไป จะทำให้ลูกอ้วนได้ แต่อยากเน้นในเรื่องการดูโภชนาการจากตารางข้างกล่องนม ว่ามีธาตุเหล็ก และแคลเซียมที่มากพอไหม โดยธาตุเหล็กควรจะมีปริมาณ 20 – 30% ขึ้นไป สำหรับแคลเซียมควรจะมีปริมาณอยู่ที่ 20 – 30% ขึ้นไปเช่นกัน

 

จะแนะนำคุณยายเรื่องการให้ลูกชิมอาหารต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง

ในกรณีที่เด็กอายุก่อน 1 ขวบ อย่าให้เด็กทานอะไรที่ไม่ควร เพราะมีข่าวเด็กที่เสียชีวิตในหลาย ๆ เคส เพราะภูมิต้านทานของเด็กยังไม่แข็งแรง หากเป็นเด็กที่อายุมากกว่า 1 ขวบขึ้นไป ก็อาจจะพอชิมอาหารที่รสไม่จัดเกินไป เพราะในเด็ก การทำงานของไตจะเริ่มใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ในช่วง 2 ขวบขึ้นไป เพราะฉะนั้นเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบจึงควรเลี่ยงอาหารที่มีผงชูรส เกลือ น้ำปลา หรืออาหารจำพวกรสจัดทั้งหลาย

สำหรับวิธีการพูดกับผู้ใหญ่ มักจะขึ้นกับแต่ละบ้าน จะไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แต่หากพูดคุยโดยเอาผลประโยชน์ของเด็กเป็นที่ตั้ง ผู้ใหญ่มักจะฟัง และแนะนำว่าไม่ควรไปค้านแบบหัวชนฝา ซึ่งถ้าหากจะทักก็ควรจะเริ่มด้วยการชม เพื่อให้เขาเปิดใจ แล้วจึงค่อย ๆ แนะนำ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาพจาก freepik.com

 

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้อาหาร และควรดูแลลูกอย่างไร

จริง ๆ เรื่องของการแพ้อาหาร แบ่งออกง่าย ๆ เป็น 2 แบบ คือ แพ้สัมผัส และกินเข้าไปแล้วแพ้ ซึ่งหลาย ๆ คนจะเป็นในลักษณะที่ว่า กินนมวัวครั้งแรก แล้วนมวัวหยดใส่แขนแล้วทำให้ผื่นขึ้นได้ ส่วนวิธีการสังเกต สังเกตได้ดังนี้ หากเป็นการกินเข้าไปแล้วแพ้ จะทำให้เกิดผื่นขึ้น และลักษณะของผื่นจะมีการกระจายทั่วตัว ไม่ได้ไปกระจุกอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ตัวคุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องคอยจดด้วยว่าให้ลูกทานอะไรไปบ้าง ในช่วงแรกของการเริ่มทานข้าว ในส่วนของการแพ้แบบสัมผัส ต้องระวังในการสังเกตลูกว่าไปโดนอะไรมา โดยวิธีการที่จะพิสูจน์ได้ดีที่สุดคือ หยุดกินอาหารนั้นไปก่อน 2 – 4 สัปดาห์ จนผื่นหาย จึงกลับมากินใหม่ ถ้าพบว่าผื่นขึ้นใหม่มากกว่า 2 ครั้ง แสดงว่าเด็กน่าจะแพ้อาหาร หรือในปัจจุบันจะมีการเทสอาการแพ้อาหาร โดยวิธีการเจาะเลือดก็ได้เช่นกัน

บทความที่น่าสนใจ : การแพ้นมวัว และแพ้อาหารในเด็ก เป็นยังไงบ้าง? สิ่งที่พ่อแม่หลายคนควรรู้!

 

สำหรับ อาหารตามวัย เด็กแต่ละเดือนกินอะไรได้บ้าง ถ้าลูกแพ้อาหารจะดูยังไง นั้น พ่อแม่ควรศึกษาว่าเด็กแต่ละวัย วัยไหนควรหรือห้ามกินอะไรบ้าง ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะในเด็กแต่ละวัย จะมีความพร้อมในเรื่องของการเคี้ยว การกลืน ความพร้อมของน้ำย่อย รวมถึงภูมิต้านทานที่ต่างกันตามวัย และในเรื่องของรสชาติ อย่างอาหารรสจัด ไม่ควรรีบฝึกให้ลูกทาน ยิ่งช้าได้ ยิ่งดี ถ้าอยากให้ลูกอายุยืน ควรเริ่มตั้งแต่อาหารที่ดี และโภชนาการที่ครบส่วน ครบ 5 หมู่ตั้งแต่วันนี้

 

คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ :

การกระตุ้นสมองลูกน้อย เทคนิคสร้างความฉลาดให้ลูก ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่

ปัญหาลูกกินข้าวยาก ปัญหาหนักอกของพ่อแม่ ทำอย่างไรให้ลูกทานข้าว

อาการชัก และ โรคลมชักในเด็ก ส่งผลอย่างไรกับสมองของลูก

 

ที่มา : คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ

เจ้าของเพจ เรื่องเด็ก ๆ by หมอแอม

บทความโดย

watcharin