ห่วงอนามัย คุมกำเนิด อีกหนึ่งทางเลือก ของคนไม่ชอบกินยา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับสาว ๆ หลาย ๆ คนที่ต้องการคุมกำเนิด ต่างมองหาวิธีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถคุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็มักจะพบเจอผลข้างเคียงที่ดูจะไม่ค่อยสบอารมณ์กับสาว ๆ เท่าที่ควร โดยเฉพาะผลข้างเคียงที่ส่งผลต่อรูปร่าง ดังนั้นการคุมกำเนิดด้วย ห่วงอนามัย จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่มีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดอาการข้างเคียงจากการทานยาคุมกำเนิดอีกด้วย

 

ห่วงอนามัย คืออะไร?

ห่วงอนามัย หรือห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine Device หรือ IUD) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กเอาไว้ใส่เข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในระยะยาว ซึ่งจะมีลักษณะหลากหลายแตกต่างกันออกไป เช่น

  • ห่วงอนามัยรูปทรงตัวที (T-shaped IUD)
  • ห่วงอนามัยรูปทรงตัวยู (U-shaped IUD) จะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับร่ม
  • ห่วงอนามัยรูปทรงตัววาย (Y-shaped IUD) ซึ่งบางครั้งก็อาจจะรวมกลุ่มกับตัวทีได้เช่นกัน

ซึ่งห่วงอนามัยเหล่านี้จะมีความกว้างอยู่ที่ 18-32 มิลลิเมตร และมีความยาวไม่เกิน 36 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับลักษณะรูปทรงของห่วงอนามัย

 

ห่วงอนามัยมีแบบไหนให้เลือกบ้าง?

นอกจากในเรื่องของรูปทรงของห่วงอนามัยแล้ว ตัวห่วงอนามัย ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ห่วงอนามัยชนิดเคลือบสารทองแดง

ห่วงอนามัยชนิดนี้ จะมีลวดทองแดงพันอยู่รอบ ๆ อุปกรณ์ ซึ่งตัวทองแดง จะทำการปล่อยสารของตัวมันออกมา ทำให้เยื่อบุมดลูกเกิดการอักเสบ ส่งผลให้ไข่ที่ตกออกมานั้น ไม่สามารถทำการปฏิสนธิ และฝังตัวในผนังมดลูกได้ จึงทำให้สามารถคุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งห่วงอนามัยชนิดนี้ ยังมีอายุการใช้งานได้นานถึง 10 ปี เลยทีเดียว

 

ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมนโพรเจสติน

ห่วงอนามัยชนิดนี้จะเปลี่ยนจากลวดทองแดงมาเป็นการเคลือบฮอร์โมนโพรเจสตินเอาไว้แทน ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายผลิตมูกในช่องคลอดมากกว่าปกติ ทำให้สเปิร์มเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ยากขึ้น ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับ ยาคุมกำเนิดทั่วไป

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ยาคุมฮอร์โมนต่ำ ช่วยลดผลข้างเคียงได้ดีกว่ายาคุมแบบปกติจริงไหม?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีใส่ห่วงอนามัย

ห่วงอนามัยจำเป็นจะต้องใส่โดยแพทย์ หรือพยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น โดยแพทย์อาจจะแนะนำให้รับประทานยาบรรเทาอาการปวดในช่วง 2 – 3 ชั่วโมง ก่อนจะทำการใส่ห่วงอนามัย เพราะการใส่อาจจะทำให้เกิดอาการปวดเกร็งบริเวณท้องได้

ผู้ที่เข้ารับการใส่ห่วงอนามัยจะต้องขึ้นนั่งขาหยั่ง เพื่อให้ทางแพทย์ หรือพยาบาล ทำการนำท่อขนาดเล็กที่บรรจุห่วงอนามัยสอดเข้าไปภายในช่องคลอด จากนั้นค่อย ๆ ดันห่วงอนามัยเข้าสู่บริเวณมดลูก แล้วจึงนำท่อออกมา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โดยจะมีเชือกที่ยึดติดกับห่วงอนามัยยื่นออกมาจากช่องคลอด ประมาณ 1 – 2 นิ้ว เอาไว้สำหรับการถอดห่วงอนามัยออกเมื่อต้องการนั่นเอง ในช่วง 1 – 2 วันแรกหลังจากใส่ห่วงอนามัย อาจจะมีอาการปวดเกร็ง หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด แต่อาการเหล่านั้นจะหายไปเองในระยะเวลาสั้น ๆ

การใส่ห่วงอนามัย สามารถทำได้ทุกเมื่อที่ต้องการ หากแต่แพทย์มักจะแนะนำให้มาใส่ห่วงอนามัยในช่วงที่มีประจำเดือนมา เพื่อลดอาการเจ็บปวดจากการสอดใส่ เนื่องจากเป็นช่วงที่ปากมดลูกมีการขยายตัวออกมากที่สุด

ห่วงอนามัยจะมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดทันทีหลังจากใส่เข้าไปแล้ว แต่สำหรับกรณีที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมนในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน อาจจะต้องรออย่างน้อย 7 วัน การคุมกำเนิดถึงเริ่มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่

 

วิธีดึงห่วงอนามัยออก

การนำห่วงอนามัยออกจากมดลูกต้องทำโดยแพทย์หรือพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเช่นเดียวกับการใส่ ห้ามพยายามนำออกด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงกับมดลูกหรือช่องคลอดได้ วิธีนำห่วงอนามัยออกมานั้นใช้เวลาไม่นาน หลังจากขึ้นนั่งบนขาหยั่ง แพทย์จะใช้คีมคีบสอดเข้าไปในช่องคลอดแล้วค่อย ๆ คีบห่วงอนามัยออกมา ทั้งนี้ ผู้หญิงอาจมีอาการปวดเกร็งท้องหรือมีเลือดออกทางช่องคลอดประมาณ 1-2 วัน ก่อนจะหายเป็นปกติ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : คุมกำเนิด แบบไหนดี ? …วิธีคุมกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ ที่วัยรุ่นควรรู้!

 

ข้อดี ข้อเสีย ของการใช้ห่วงอนามัย

แน่นอนว่าของทุกอย่างมักจะมีทั้งข้อดี และข้อเสียในตัวของมัน ดังนั้น หากคุณคิดจะตัดสินใจคุมกำเนิดด้วยการใช้ห่วงอนามัย ก็ลองดูเปรียบเทียบ และชั่งน้ำหนักดู

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ข้อดีของการคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัย

  • การคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัยไม่ว่าจะเป็นประเภทไหน ก็ถือว่าเป็นการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการคุมกำเนิดแบบอื่น ๆ
  • มีอายุการใช้งานยาวนาน ซึ่งสามารถใช้ได้ 3 – 10 ปี เลยทีเดียว
  • ไม่จำเป็นจะต้องดูแลรักษามาก เพียงแค่หมั่นสังเกตเส้นด้ายที่ต่อออกมาจากห่วงอนามัย ว่ายังคงอยู่สมบูรณ์ หรือให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอย่างสม่ำเสมอ
  • สามารถนำห่วงอนามัยออกได้ตลอดเมื่อต้องการ (แต่จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกจากทางแพทย์ และพยาบาลมาก่อน)
  • หากต้องการหยุดคุมกำเนิด ก็สามารถทำได้ทันทีหลังจากดึงห่วงอนามัยออกจากร่างกาย
  • โอกาสเสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูกน้อยกว่าการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ๆ
  • ไม่ต้องกังวลเรื่องการลืมทานยา
  • ไม่เกิดผลข้างเคียงจากตัวยาคุมกำเนิด

 

ข้อเสียของการคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัย

  • ผู้ใช้ไม่สามารถใส่ห่วงอนามัยได้ด้วยตัวเอง
  • ค่าใช้จ่ายนับสูง เมื่อเทียบกับการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ๆ
  • ผู้ใช้อาจเสี่ยงกับอาการติดเชื้อในช่วง 3 สัปดาห์แรก หลังจากใส่ห่วงอนามัย (แต่ก็พบเคสนี้ได้น้อยมาก)
  • อาจจะทำให้เกิดรู หรือบาดแผลบริเวณมดลูกได้
  • หากเกิดการตั้งครรภ์ระหว่างการใช้ห่วงอนามัย ก็อาจจะส่งผลให้ครรภ์เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
  • ห่วงอนามัยมีโอกาสหลุดออกมานอกช่องคลอดได้ หากไม่ได้รับการดูแลให้ดี
  • ไม่สามารถป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ปลอดภัยหรือไม่ และกินอย่างไรให้ปลอดภัย

 

 

ความเสี่ยงจากการใช้ห่วงอนามัย

การคุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัยนั้นค่อนข้างปลอดภัย แต่ในบางกรณีอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงทางสุขภาพบางประการ ดังนี้

  • ประจำเดือนลดลง หญิงที่ใช้ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมนอาจมีประจำเดือนน้อยลง เนื่องจากฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะส่งผลให้มดลูกสร้างเยื่อบุมดลูกน้อยลง แต่ไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพและประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดแต่อย่างใด
  • เสี่ยงต่อการแท้ง การตั้งครรภ์ในขณะที่มีห่วงอนามัยอยู่ภายในมดลูกอาจทำให้เสี่ยงแท้งบุตรได้ ดังนั้น หากตรวจพบว่าตั้งครรภ์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อนำห่วงอนามัยออกทันที
  • เกิดการติดเชื้อ การใช้ห่วงอนามัยไม่ถูกสุขลักษณะอาจทำให้ติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน และอาจมีภาวะแทรกซ้อนจนส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ในอนาคต

 

ใส่ห่วงอนามัยแล้วมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ?

หญิงที่ใส่ห่วงอนามัยสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบใด ๆ เนื่องจากห่วงอนามัยจะถูกใส่เข้าไปภายในมดลูก ฝ่ายชายอาจรู้สึกถึงปลายเชือกของห่วงอนามัยได้ แต่จะไม่รู้สึกถึงตัวอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม หากใส่ห่วงอนามัยแล้วรู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งเดิม แพทย์จะตรวจดูและขยับห่วงอนามัยให้กลับเข้าที่ แต่ในกรณีที่อาการผิดปกติดังกล่าวไม่ได้เกิดจากห่วงอนามัย แพทย์จะตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดเพื่อให้การรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

 

ห่วงอนามัยมีโอกาสหลุดไหม ?

โดยปกติแล้วห่วงอนามัยจะอยู่ภายในมดลูกได้โดยไม่หลุดหรือเคลื่อนที่ การที่ห่วงอนามัยหลุดออกมาจากช่องคลอดนั้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่อาจเสี่ยงเกิดขึ้นกับบุคคลกลุ่มต่อไปนี้

  • หญิงที่ไม่เคยมีบุตร
  • มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
  • มดลูกมีลักษณะหรือขนาดผิดปกติ
  • ผู้ที่ใส่ห่วงอนามัยทันทีหลังคลอดบุตรหรือหลังแท้งบุตรในช่วงไตรมาสที่ 2
  • มีเนื้องอกในมดลูก

ทั้งนี้ ห่วงอนามัยมักหลุดออกมาในช่วงมีประจำเดือน จึงควรหมั่นสังเกตที่ผ้าอนามัย และตรวจดูว่ายังมีเชือกอยู่ภายในช่องคลอดหรือไม่ หากสงสัยว่าห่วงอนามัยหลุดไปหรือเคลื่อนตัวออกตำแหน่ง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและแก้ไข

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ยาคุมกำเนิดแบบฉีด อีกหนึ่งทางเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ที่ได้ผลดี!

10 ข้อ ควรรู้เกี่ยวกับยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

ยาคุมแบบแปะ สามารถคุมกำเนิดได้จริง หรือแค่ราคาคุย

ที่มา : pobpad

บทความโดย

Arunsri Karnmana