ในช่วงของการตั้งครรภ์แน่นอนว่า ไม่มีอะไรสำคัญ มากไปกว่า ความปลอดภัยของแม่กับลูกน้อยในครรภ์ แต่คุณแม่หลายคน ก็อาจจะมีกิจวัตรประจำวัน ที่ชอบออกไปวิ่ง ออกกำลังกายเป็นประจำ แม้แต่ตอนท้อง ก็ยังรู้สึกอยากจะออกไปวิ่งจนทนไม่ไหว! ในวันนี้ เราจะมาหาคำตอบกันว่า คนท้องวิ่งได้ไหม มาดูคำตอบกันค่ะ
ไขข้อสงสัย คนท้องวิ่งได้ไหม คนท้องออกกำลังกายได้ไหม ?
ในช่วง ของการตั้งครรภ์แน่นอนว่า ไม่มีอะไรสำคัญ มากไปกว่า ความปลอดภัยของแม่กับลูกน้อยในครรภ์ ตอนท้องแล้วออกกำลังกายได้ไหม คนท้องวิ่งได้ไหม ได้ยินมาว่าวิ่งแล้วจะมดลูกต่ำจริงหรือเปล่า มาหาคำตอบกันค่ะ !
-
คนท้องวิ่งได้ไหม ?
คำตอบคือ คนท้องสามารถ “วิ่งได้ค่ะ” การวิ่งนั้นสามารถช่วยให้ร่างกายของเรานั้นแข็งแรง ทั้งแม่และลูก แต่ก็ควรวิ่งเบา ๆ การวิ่งนั้น จะช่วยส่งเสริมความหนาแน่นของกระดูก ส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด รวมถึง ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงยังช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และ ช่วยแม่ให้รับมือกับการคลอดได้ดีอีกด้วย
นอกจาก นี้การวิ่งยังช่วยและมีผลดีมาก ๆ ต่อจิตใจ เพราะการวิ่งจะทำให้เรารู้สึกมั่นใจและมีอิสระรวมถึงมีสมาธิได้ดีอีกด้วย เพราะฉะนั้นจึงสามารถพูดได้ว่าการวิ่งมีผลดีต่อร่างกายแม่ท้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ลู่วิ่งไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี มีประสิทธิภาพเยี่ยม โปรแกรมครบครัน คุ้มค่าคุ้มราคา
มดลูกต่ำเพราะการวิ่งจริง ๆ หรือ?
อาจ ฟังดูไร้สาระ แต่โอกาสที่จะ เกิดขึ้นมันก็มี แม้จะน้อยมาก ก็ตาม คาดกันว่ามีผู้หญิงราวร้อยละ 30 ที่พบปัญหามดลูกต่ำ ความรุนแรงของอาการมีตั้งแต่ทำให้เกิดความไม่สบายบริเวณนั้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การวิ่ง ไปจนถึงมดลูกโผล่ออกมาจากช่องคลอดจริง ๆ
อันที่จริงการวิ่งไม่ได้ทำให้เกิด ปัญหา มดลูกต่ำ แต่เป็นเพราะแรงที่กดกับมดลูกต่างหากที่ทำให้อาการแย่ลง มดลูกของคุณได้รับการโอบอุ้มโดยกล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างกระดูกก้นกบและกระดูกหัวหน่าว หากกล้ามเนื้อเหล่านี้อ่อนแอลง มดลูกก็อาจหย่อนได้ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่อ่อนแอก็ทำให้มดลูกต่ำได้เช่นกันในระยะยาว คุณอาจสังเกตได้ถึงแรงกดดันถ่วง ๆ หนัก ๆ บน กระเพาะปัสสาวะของคุณ
คุณผู้หญิงที่มีความเสี่ยงมดลูกต่ำ คือคนที่
ภาวะมดลูกต่ำ นั้นเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน ที่อยู่ในภาวะหย่อนยานเสื่อมสภาพ โดยอาจจะมีสาเหตุมาจากการคลอดลูกบ่อยครั้ง หรือการที่ทารกในครรภ์ตัวใหญ่ รวมไปถึง การเข้าสู่ภาวะวัยทอง ที่มีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ หรือในกรณีที่คุณแม่มีอาการท้องผูกบ่อยครั้ง หรือเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดการเบ่งอุจจาระแรง ๆ จนทำให้เกิดการอักเสบได้ด้วย นอกจากนี้ แม้แต่การมีน้ำหนักตัวมาก รวมถึงโรคเนื้องอกในมดลูก หรือการที่มีประสบการณ์เคยผ่าตัดมดลูกมาก่อน ก็อาจเป็นสาเหตุได้เช่นกัน โดยสามารถสรุปอาการความเสี่ยงมดลูกต่ำได้แบบสั้น ๆ ดังนี้
- มีความตึงตัวของกล้ามเนื้ออ่อนแอเนื่องจากมีอายุมากขึ้น
- มีประวัติคนในครอบครัวมีปัญหามดลูกต่ำ
- ขาดเอสโตรเจน
- ครั้ง ก่อนคลอดยาก ทำให้เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ ได้รับความเสียหาย
- มีอาการท้องผูกบ่อยครั้ง
- มีความเสี่ยงของโรคเนื้องอกในมดลูก
- มีประสบการณ์เคยผ่าตัดมดลูกมาก่อน
คุณสามารถวิ่งได้ระหว่างกำลังตั้งครรภ์ใกล้คลอดหรือไม่?
หากคุณ ไม่ได้มีปัญหากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ และ มดลูกต่ำ คุณยังสามารถวิ่งได้ แต่คุณต้องได้รับการอนุญาตจากคุณหมอแล้วนะ แต่อย่างไรก็ตามหากคุณไม่ได้เคยวิ่งมาก่อน การจะมาวิ่งเอาช่วงตั้งท้องไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไหร่นัก ช่วงตั้งท้องไม่ใช่ช่วงที่เหมาะกับการเตรียมร่างกายเพื่อวิ่งมาราธอนและวิ่งเร็ว ๆ เลย
แต่หากคุณเป็นนักวิ่งอยู่แล้วก่อนตั้งท้อง คุณยังสามารถวิ่งได้ แต่คุณต้องปรับกิจวัตรบ้าง เพื่อให้แน่ใจว่าการตั้งครรภ์ของคุณจะไม่มีความเสี่ยง คุณควรหันมาวิ่งช้า ๆ และแน่นอนว่าการวิ่งต้องภายใต้การดูแลแนะนำของคุณหมอด้วย
หลังคลอดแล้ว จะกลับมาวิ่งเลยได้รึเปล่า?
ผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นต่างกันไปในเรื่องดังกล่าว แต่ว่ากันโดยทั่วไปแล้ว การใช้แรงมาก ๆ ในช่วงสองสามวันหลังจากคลอดลูกมาแล้วไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย คุณควรให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นกลับมาแข็งแรงอีกครั้งหนึ่งก่อน แม้กระทั่งนักวิ่งมืออาชีพยัง เจอปัญหากล้ามเนื้อบริเวณนั้น อ่อนแอลงและอาจมีปัญหามดลูกต่ำได้เหมือนกันหลังคลอด
ดังนั้นอย่า เพิ่งหักโหมที่จะวิ่ง หลังคลอดเลยเร็วเกินไป ค่อย ๆ ปรับตัวกลับมาหากิจวัตรการออกกำลังกายไปเรื่อย ๆ ในระยะหกสัปดาห์แรกหลังคลอดดีกว่า ให้มดลูกได้พักฟื้น และหดตัวกลับมาเป็นปกติได้ก่อนที่คุณจะกลับมาวิ่ง อย่าลืมการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานนะ กล้ามเนื้อเหล่านี้สามารถ หดตัวเพื่อหยุดการปัสสาวะได้ คุณควรบริหารกล้ามเนื้อตรงนี้บ่อย ๆ โดยการขมิบแล้วปล่อยเพราะการทำเช่นนี้ก็ช่วยป้องกันปัญหามดลูกต่ำได้เช่นกัน
โดยสรุปแล้ว คุณแม่สามารถวิ่งออกกำลังกายได้นะคะ ถ้าหากไม่มีปัญหากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ และ มดลูกต่ำ และควรได้รับการอนุญาตจากแพทย์ผู้ดูแลแล้วเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ไม่ได้เคยวิ่งมาก่อน ก็ไม่แนะนำเท่าไรนะคะ เพราะว่าช่วงเวลาที่ตั้งท้อง ไม่ใช่ช่วงที่เหมาะกับการวิ่งเร็ว ๆ เลย ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์นั่นเองค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
10 ท่าออกกำลังกายคนท้อง ทุกไตรมาส พร้อมวิธีลดน้ำหนักหลังคลอด
ออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย พิลาทิส ดีหรือไม่
5 สถานที่เรียนโยคะคนท้อง ในกรุงเทพฯ แม่ท้องแข็งแรงคลอดง่าย
ที่มา : healthline