หมอนรองกระดูกเสื่อม อาการและข้อสังเกตที่ควรรู้

lead image

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น ร่างกายที่เคยแข็งแรงก็ย่อมมีอ่อนแอลงไปบ้าง และหนึ่งในโรคที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้หมอนรองกระดูกทำงานได้น้อยลงเท่านั้น มาดูอาการ และข้อสังเกต ของ หมอนรองกระดูกเสื่อม ที่เราควรรู้กน

 

หมอนรองกระดูกเสื่อม คืออะไร?

หมอนรองกระดูกเสื่อม เป็นอาการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูก หรือ เป็นชั้นเนื้อเยื่อ ที่อยู่ระหว่างข้อกระดูกสันหลัง โดยหมอนรองกระดูกนี้ ทำหน้าหน้าที่ในการลดแรงกระแทก และกระจายน้ำหนักตัว ที่จะส่งผ่านมายังกระดูกสันหลัง ซึ่งจะช่วยให้คนเราเคลื่อนไหวร่างกายในท่าทางต่าง ๆ ได้ ซึ่งโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมนี้ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น การนั่งในท่าเดิมนาน ๆ น้ำหนักตัวที่มาก เป็นต้น โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม อาจมีความรู้สึกเจ็บปวดได้ตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงมาก จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

หมอนรองกระดูกเสื่อม

สาเหตุของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

หมอนรองกระดูก มีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ น้ำ ซึ่งเมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สัดส่วนของน้ำจะค่อย ๆ ลดลง ทำให้หมอนรองกระดูกมีความยืดหยุ่นลดลง และไม่สามารถทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกปวด และอาการอื่น ๆ ตามมา

 

หมอนรองกระดูกเสื่อม อาจะเกิดได้ตั้งแต่อายุ 30-40 ปี จากนั้นอาการจะแย่ลงเรื่อย ๆ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โดยผู้ที่มีอายุ 60 ปี เป็นต้นไป มักมีอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมเกือบจะทุกคน แต่บางคนอาจไม่มีอาการเจ็บปวดให้เห็นแต่อย่างใด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การได้รับบาดเจ็บบริเวณหลัง หรือ การทำกิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดแรงกระทบต่อหมอนรองกระดูกซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น การยกของหนักเป็นประจำ การเล่นกีฬา จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมได้ รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ การมีน้ำหนักตัวเกิดเกณฑ์ การสูบบุหรี่หนัก การไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น

 

อาการของโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

  • ปวดบริเวณหลังส่วนล่าง อาจปวดลามไปถึงขา และสะโพกได้
  • หากมีอาการปวดบริเวณลำคอ อาจปวดลามไปที่แขน
  • ปวดมากหากต้องก้ม เอี้ยวตัว หรือ เอื้อม
  • ปวดมากขึ้น หากต้องนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ
  • อาการปวดอาจเป็น ๆ หาย ๆ โดยอาจเกิดการปวดเรื้องรังมากเป็นเดือน
  • กล้ามเนื้อแขน ขา เกิดความอ่อนแรง และมีความรู้สึกขาที่ขา หรือ แขน
  • อาการปวดอาจทุเลาหรือหายไป หากมีการออกกำลังกาย
  • เกิดอาการเจ็บ หลังจากที่ได้รับอุบัติเหตุ เช่น ตกจากที่สูง รถชน หรือ ได้รับแรงแระแทก เป็นต้น

 

หมอนรองกระดูกเสื่อมได้อย่างไร?

หมอนรองกระดูกเสื่อม อาจเกิดได้ที่กระดูกสันหลังทุก ๆ ส่วน แต่ส่วนมากมักพบบ่อยบริเวณเอว และคอ อีกทั้งผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม อาจทำให้เกิดภาะวความเสี่ยงของหลายโรค ได้แก่ โรคข้อเสื่อม โรคกระดูกทับเส้นประสาท และ โรคโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดแรงกดต่อกระดูกสันหลัง และเส้นประสาท เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด และกระทบกับการทำงานของเส้นประสาท

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

  • การประคบร้อน หรือ ประคบเย็น

การรักษาที่ง่ายที่สุด คือ การใช้การประคบร้อน ไม่ว่าจะเป็นการประคบร้อน หรือ ประคบเย็น ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวด รู้สึกดีขึ้นได้ โดยปกติแล้ว การประคบร้อนจะช่วยลดการอักเสบ ที่เป็นสาเหตุของการปวด และการประคบเย็น สามารถช่วยลดอาการปวดได้

 

  • การทำกายภาพบำบัด

ผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการทำกายภาพบำบัด โดยขอคำแนะนำจากนักกายภาพ เกี่ยวกับการออกกำลังกาย หรือ การทำกายภาพบำบัดด้วยท่าทางต่าง ๆ เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้อาการปวด และอาการอักเสบลดลง หรือหายได้ การทำกายภาพบำบัด เช่น การยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นจะต้องทำเป็นประจำเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • การใช้ยารักษา

การใช้ยารักษา ผู้ป่วยสามารถเลือกใช้ยาได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับอาการที่เป็น ได้แก่ ยาบรรเทาอาการปวด เช่น พาราเซดามอล ยาแก้อักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน โดยแพทย์อาจใช้ยาที่มีฤทธิ์รุนแรงกว่านี้ หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อย่างไรก็ตาม ก่อนใช้ยาควรอ่านคำเตือนในฉลาก และปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกรหรือแพทย์ อย่างเคร่งงัด

 

  • การผ่าตัด

หากผู้ป่วยมีภาวะที่รุนแรงของโรค เมื่อรักษาเบื้องต้นแล้ว อาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษา ด้วยการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของข้อกระดูกบริเวณนั้น ๆ หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียม ซึ่งจะเป็นการเอาหมอนรองกระดูกที่เสื่อมออก แล้วแทนที่ด้วยหมอนรองกระดูกเทียมแทน

 

การป้องกันหมอนรองกระดูกเสื่อม

เนื่องจากสาเหตุของอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม เกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่การหลีกเลี่ยงปัจจัยอื่น ๆ ก็อาจมีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมได้ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หมั่นออกกำลังกายบ่อย ๆ เป็นต้น สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อยู่แล้ว ต้องลดกิจกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการทำให้อาการของโรคทรุดลง 

 

หมอนรองกระดูกเสื่อม เป็นโรคที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรค คือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรคแย่ลงได้

 

ที่มาข้อมูลpobpad

บทความที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สาเหตุอาการและการป้องกันรักษา

ปลายประสาทอักเสบ โรคระบบประสาทส่วนปลายคืออะไร?

ปวดหลัง เป็นสัญญาณร้ายบอกโรคหรือไม่ อยากรู้ต้องอ่านบทความนี้ !!

บทความโดย

Waristha Chaithongdee