รับมือ!!อาการคออักเสบในเด็กให้ถูกวิธี

ลูกเป็นไข้ไม่สบายแต่ละที วุ่นกันทั้งบ้านเพราะเจ้าหนูยังสื่อสารได้ไม่เก่งนัก บางทีเป็นออะไร เจ็บปวดตรงไหนก็ยังไม่สามารถบอกได้ แต่ที่แน่ๆ หากมีอาการเจ็บคอ สังเกตได้ว่าจะไม่ยอมทานอาหารหรือดูดนม คอจะแดง ไอ บางทีก็มีหนองอีกด้วย รับมือ!!อาการคออักเสบในเด็กให้ถูกวิธี ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการคออักเสบที่พบในเด็กทั่วไปมีกี่ประเภท

คออักเสบที่พบในเด็กแบ่งออกเป็น 5 ประเภท

ประเภทที่ 1 คออักเสบร่วมกับไข้หวัดซึ่งพบได้บ่อย ๆ เกิดจากเชื้อไวรัสคออักเสบแบบนี้เด็กจะเจ็บคอไม่มากแต่จะมีอาการน้ำมูกไหล  ไอ และจามร่วมด้วย

ประเภทที่ 2 เป็นคออักเสบชนิดที่คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่า  ในคอของลูกจะมีอาการบวมแดงและจะเจ็บคอมาก  มักจะเป็นในเด็กอายุ 4 ขวบไปแล้ว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชนิดสเตร็ป

ประเภทที่ 3  เป็นคออักเสบชนิดที่คอแดง  เจ็บ และมี ฝ้าขาวหรือจุดหนองในลำคอ  มีไข้สูงมาก  บางครั้งอาจสูงถึง 39 องศาเซลเซียส   มีต่อมน้ำเหลืองโตที่คอ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชนิดสเตร็ป  เช่นกัน

ประเภทที่ 4 เป็นอาการของโรคตีบ แสดงออกด้วยการเจ็บคอ  แต่โรคคอตีบจะไม่เจ็บคอมากนักและไข้ไม่สูง  โรคนี้จะพบได้ในเด็กที่ไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ   ปัจจุบันประเทศของเราเกิน 90% มีการฉีดวัคซีนโรคคอตีบ  ไอกรน  บาดทะยัก  ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขแล้ว  ดังนั้น  จึงพบโรคคอน้อยลงแต่ไม่ควรประมาท  ควรฉีดวัคซีนตามที่คุณหมอนัดอย่างเคร่งครัด

ประเภทที่ 5 เป็นคออักเสบที่พบในเด็กเล็ก  ขวบปีแรกลูกจะมีอาการเจ็บคอมาก และจะเห็นเป็นตุ่มพองใสหรือแผลเล็ก ๆในปากทั่วทั้งเพดาน  กระพุ้งแก้ม  และมีไข้สูงตามไป   ด้วยที่สำคัญอาการที่สังเกตง่ายคือ จะมีน้ำลายไหลย้อย   เนื่องจากกลืนน้ำลายไม่ได้เพราะจะเจ็บคอมาก  อาการนี้มักจะเป็นอยู่ 3 – 4 วันจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามควรพาไปพบคุณหมอจะดีที่สุดค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รับมือ!!อาการคออักเสบในเด็กให้ถูกวิธี

พญ.ประมวล  สุนากร  กล่าวถึง  การดูแลโรคคออักเสบในเด็กไว้ว่า

1. คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกที่เป็นคออักเสบได้ด้วยตนเอง คือ ประเภทที่ 1 คออักเสบร่วมกับไข้หวัด โดยทำให้อาการทุเลาลงได้ ด้วยการให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ จะเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นก็ได้นะคะ  แต่ทางที่ดีควรเป็นน้ำอุ่นจะดีกว่า  แต่เด็กบางคนชอบน้ำเย็น  ในที่นี้หมายถึง  เย็นแบบอุณหภูมิห้อง ไม่ใช่น้ำใส่น้ำแข็งหรือน้ำจากตู้เย็นค่ะ  หรือถ้าลูกมีไข้สูงก็ให้ทานยาลดไข้ หรือถ้ามีอาการไอก็ให้ทานยาแก้ไอร่วมด้วย  ซึ่งเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้

2. คออักเสบชนิดเป็นตุ่มพอง มีไข้สูง ในประเภทนี้ ในเบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่อาจให้ทานยาลดไข้ และดูแลในเรื่องอาหารการกิน ควรเป็นอาหารเหลวหรืออาหารที่มีความเย็น  ได้แก่  ไอศกรีม  นมเย็น  น้ำหวาน  เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด และทานง่ายขึ้น  ที่สำคัญให้ดื่มน้ำมาก ๆ   ตามปกติอาการเจ็บคอรุนแรง จะเป็นอยู่ 2 – 3  หลังจากที่ไข้ลดลง   อาการเจ็บคอจะเริ่มดีขึ้น  แต่โดยทั่วไปจะเป็นในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่อาการเช่นนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอจะดีกว่าค่ะ เพื่อให้วินิจฉัยว่ามีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่

3. คออักเสบชนิดมี ฝ้าขาวซึ่งอาจจะเป็นโรคคอตีบได้ อาการเช่นนี้ต้องพบคุณหมออย่างเดียวเลยค่ะ เพื่อหาต้นตอขอโรคที่แท้จริง  เพราะหากเป็นโรคคอตีบจริง  หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายมาก  เพราะอาจมีการอุดตันทางเดินหายใจ

4. ต่อมทอลซิลอักเสบ มักจะมีไข้สูงและลำคออักเสบร่วมกัน กรณีที่ป่วยเป็นต่อมทอลซิลอักเสบบ่อย ๆ คุณหมอมักจะยังไม่แนะนำให้ตัด เพราะเด็กอายุ 4 – 5 ขวบ ขนาดของต่อมทอลซิลอักเสบจะค่อย ๆ มีขนาดเป็นปกติ  เมื่ออายุ 8 – 11 ปี ขนาดของต่อมทอลซิลจะค่อย ๆเล็กลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ  ลูกมีต่อมทอนซิลโตเรื้อรัง เป็นเพราะอะไร?

สำหรับกรณีที่ต่อมทอลซิลมีความผิดปกติ  คือ  มีขนาดใหญ่มากจนถึงขั้นอุดตัน ทำให้เด็กกลืนอาหารลำบากหรือหายใจไม่สะดวก   คุณหมอจึงจะพิจารณาให้ตัดออกเป็นราย ๆ ไป ซึ่งมีเด็กจำนวนน้อยที่จะเป็นดังนั้น หากลูกของคุณแม่มีขนาดต่อมทอลซิลที่ใหญ่แต่ไม่มีอาการใด ๆ ที่ผิดปกติก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ

ได้ทราบถึงวิธีการดูคออักเสบของลูกแล้วนะคะ ในเบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลได้ตามที่คุณหมอแนะนำไว้  ซึ่งส่วนใหญ่อาการคออักเสบควรจะพาลูกไปพบคุณหมอจะดีกว่า  เพื่อตรวจดูและป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่จะเป็นอันตรายต่อไป

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือ “คุยกับหมอเด็กยามลูกป่วย” โดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเด็ก

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ลูกอักเสบติดเชื้อเกือบช็อก เพราะโดนกวาดยา

โรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาล