ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายไหม อาการพบได้บ่อยที่พ่อแม่ต้องรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะแหวะนมในทารก ถือเป็นปัญหากวนใจที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องเผชิญ แต่บางครั้งก็อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลใจไม่น้อย เพราะกลัวว่าลูกจะได้สารอาหารไม่เพียงพอ หรือมีอาการผิดปกติใด ๆ ที่เป็นอันตรายต่อทารก วันนี้ theAsianparent จะพามาดูกันว่า แท้จริงแล้วอาการแหวะนม ลูกแหวะนม เกิดจากอะไรกันแน่ เป็นอันตรายไหม และมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

 

ภาวะแหวะนมในทารก คืออะไร

อาการแหวะนม คือ การที่ทารกบ้วนหรือสำรอกนมออกมาหลังกินนมเสร็จ ซึ่งเกิดจากการที่ระบบย่อยอาหารของลูกน้อยยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้กล้ามเนื้อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารปิดสนิทไม่ดี เมื่อลูกกินนมหรือกินอาหารมากเกินไปกว่าที่กระเพาะจะรับได้ ก็อาจทำให้น้ำนมไหลย้อนกลับออกมาทางปากหรือจมูก โดยอาจมีลักษณะเป็นลิ่มคล้ายกับเต้าหู้

 

สาเหตุของการแหวะนมในทารก

ทารกแรกเกิดมักมีอาการแหวะนมบ่อย เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้น้ำนมไหลย้อนกลับมาบ่อย ๆ รวมถึงการที่ทารกมีกระเพาะอาหารและท้องที่เล็ก เมื่อให้นมลูกในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจทำให้น้ำนมไหลย้อนกลับขึ้นมาได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ภาวะแหวะนมในทารกยังอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดื่มนมหรือทานอาหารที่มากเกินไป การนอนหงายเป็นเวลานาน การรับประทานของเหลวมากเกินไป การกลืนอากาศเข้าไปขณะดื่มนม การดื่มนมเร็วเกินไป และการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งบางครั้ง การที่ลูกแหวะนมก็อาจเป็นสัญญาณของโรคหรือภาวะผิดปกติที่มีความรุนแรงได้ เช่น

  • ภูมิแพ้อาหารแฝง ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิด
  • ภาวะไพลอรัสตีบ (Pyloric Stenosis) ซึ่งเป็นภาวะที่กระเพาะอาหารไม่สามารถลำเลียงสารอาหารไปยังลำไส้เล็ก
  • หลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis) เป็นโรคที่เม็ดเลือดขาวชนิดอีโลสิโนฟิลจีบตัวบริเวณหลอดอาหารจนทำให้หลอดอาหารเกิดความเสียหาย
  • โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) ที่ส่งผลให้หลอดอาหารเกิดการระคายเคือง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการเมื่อลูกแหวะนม

เมื่อลูกมีภาวะแหวะนม คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากอาการดังนี้

  • ลูกร้องไห้งอแงหลังกินนมเสร็จ
  • ลูกแหวะนมออกมาทางปากและจมูก
  • ลูกนอนบิดตัวไปมา นอนไม่หลับ เพราะมีอาการไม่สบายท้อง
  • ลูกแหวะของเหลวออกมา โดยอาจมีลักษณะเป็นลิ่มคล้ายกับเต้าหู้

 

ลูกแหวะนมอันตรายไหม

โดยทั่วไปแล้ว อาการแหวะนมมักพบได้บ่อยหลังลูกกินนมเสร็จ และมักไม่เป็นอันตรายและไม่ส่งผลต่อสารอาหารที่ลูกได้รับหลังแหวะเสร็จแล้ว ลูกยังสามารถดูดนมได้ปกติ อารมณ์ดี และเจริญเติบโตเหมือนปกติ แต่หากลูกแหวะนมออกมาโดยมีสิ่งเจือปนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีเลือดปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ มีสีเหลืองของน้ำดีปน อ้วกพุ่ง หรือน้ำหนักไม่เพิ่ม ก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะอันตรายได้ ดังนั้น หากลูกมีอาการเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน โดยเฉพาะทารกที่แหวะนมแล้วมีน้ำนมไหลออกมาจากจมูกจนสำลัก คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีรับมือเมื่อลูกเกิดอาการแหวะนม

หากลูกมีอาการแหวะนม คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีรับมือเหล่านี้เพื่อช่วยลดการแหวะนมของลูกน้อย

  • เลือกโภชนาการย่อยง่ายอย่างนมแม่ เนื่องจากนมแม่ดีที่สุด เพราะเป็นนมย่อยง่าย เหมาะสมกับระบบลำไส้ของลูก และยังมี MFGM และ DHA ที่ช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อเซลล์ประสาท ทำให้พัฒนาการสมองของลูกดียิ่งขึ้น
  • กรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูก โดยแพทย์อาจจะแนะนำโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนหรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่ย่อยง่าย
  • ไม่ปล่อยให้ลูกหิวนมมากเกินไป เพราะจะทำให้ลูกรีบกินและกินมากกว่าปกติ จนส่งผลให้อากาศเข้าไปในท้อง จนเกิดอาการแหวะนมได้
  • ขณะป้อนนมลูก ให้จับศีรษะลูกตั้งตรงหรือสูงกว่าลำตัว เพราะการป้อนนมอาจเสี่ยงต่อการแหวะนมได้มากกว่า
  • ในระหว่างการป้อนนมหรือหลังป้อน ให้จับลูกไล่ลมราว ๆ 3-5 นาที
  • หลังให้นมลูกเสร็จแล้ว จับลูกนั่งตรง ๆ ก่อนประมาณ 20-30 นาที ก่อนให้ลูกนอน
  • พยายามไม่ให้ลูกเคลื่อนไหวแรง ๆ หลังกินนม เพราะอาจทำให้เกิดอาการแหวะขึ้นมา
  • เลือกไซซ์จุกนมที่ไม่ใหญ่และเล็กจนเกินไป เพราะจะทำให้น้ำนมไหลเร็วจนลูกรีบดูด หรือดูดลมเข้าไปแทน
  • ใช้เบาะนอนหรือหมอนกันกรดไหลย้อน เพราะหมอนเหล่านี้ถูกออกแบบให้มีองศาการนอนที่เหมาะสม ช่วยป้องกันอาการแหวะนมและกรดไหลย้อนได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาวะแหวะนมในทารก

  • ภาวะแหวะนมในทารกช่วงแรกเกิด – 4 เดือน ถือเป็นเรื่องปกติของทารก เพราะกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารและกระเพาะยังทำงานได้ไม่เต็มที่
  • เมื่อกล้ามเนื้อของทารกเริ่มแข็งแรงและปรับตัวได้ การกินของลูกจะดีขึ้น ส่งผลให้ภาวะแหวะนมจะหายไปเอง
  • หากลูกมีภาวะแหวะนมร่วมกับอาเจียนต่อเนื่อง อาจเกิดความผิดปกติในช่องท้อง
  • หากลูกมีภาวะแหวะนมบ่อย เช่น แหวะทุกครั้งหลังดื่มนม อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหูรูดหย่อนได้ ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • หากลูกมีภาวะแหวะนมเป็นเวลานาน และน้ำหนักลดลงเรื่อย ๆ ก็อาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้ ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

ภาวะแหวะนมในทารก เป็นอาการทั่วไปที่พบได้ในเด็กแรกเกิด เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารลูกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้ลูกเกิดอาการแหวะนมขึ้นมาบ่อย ๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีรับมือข้างต้นเพื่อบรรเทาอาการแหวะนมของลูกได้ แต่ถ้าหากทำตามแล้วอาการแหวะของลูกยังไม่ดีขึ้น รวมถึงมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาต่อไป

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

ทารกอ้วก อาเจียนบ่อย แต่ไม่มีไข้ ลูกเป็นอะไรกันแน่?

วิธีจับลูกเรอ ให้ได้ผลชะงัด ทำไมต้องทำให้ลูกเรอ? มาดูกัน!

ที่มา : hellokhunmor, Punnita, Rakluke

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khattiya Patsanan