เหงือกอักเสบ ลูกเหงือกอักเสบทำไงดี รักษาเบื้องต้นยังไงได้บ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การดูรักษาสุขภาพฟันของเด็กนั้น เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรทำ หากเด็กมีฟันที่ไม่สะอาด หรือเป็นโรคเกี่ยวกับฟัน อาจทำให้เขารับประทานอาหาร หรือใช้ชีวิตได้ลำบากมากขึ้น เหงือกอักเสบ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กได้ หากเด็กเหงือกอักเสบ คุณแม่จะช่วยลูกยังไงได้บ้าง ติดตามได้จากบทความนี้

 

 

เหงือกอักเสบ เกิดขึ้นได้อย่างไร

เหงือกอักเสบ คือ โรคเหงือกชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้บ่อย ๆ และไม่รุนแรง ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบที่เหงือก บวมแดง เนื่องจากเหงือกอักเสบเป็นโรคที่ไม่ได้มีความรุนแรงมาก โดยคนส่วนใหญ่จึงไม่ใส่ใจ และไม่มีการระมัดระวังมากนัก แต่แท้จริงแล้วการเป็นโรคเหงือกอาจจะนำไปสู่โรคอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงขึ้น และนำไปสู่การสูญเสียฟันได้ในที่สุด ดังนั้นจึงควรที่จะให้ความสำคัญและควรรักษาเหงือกให้เป็นอย่างดี

 

อาการเหงือกอักเสบ

อาการของเหงือกอักเสบ อาการโดยทั่วไปแล้วของคนที่เป็นเหงือกอักเสบ ได้แก่ มีเหงือกที่บวมแดง รู้สึกเจ็บบริเวณที่เหงือกอักเสบ กินอาหารได้ลำบาก มีเลือดออกขณะที่แปรงฟัน เหงือกร่น มีกลิ่นปาก ฟันห่าง หรือฟันหลุด ซึ่งอาการมีเหงือกที่บวมแดง รู้สึกเจ็บบริเวณที่เหงือกอักเสบ เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด หากคุณนั้นไม่ได้รับการรักษาก็อาจจะทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามขึ้นมาก็เป็นได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุของการเกิดเหงือกอักเสบ

สาเหตุของการเกิดเหงือกอักเสบ สาเหตุที่พบได้บ่อย ๆ ของเหงือกอักเสบเลยคือ การดูแลรักษาสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี จนทำให้เกิดคราบพลัคขึ้นได้ซึ่งไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ คราบพลัคเป็นคราบจุลินทรีย์ที่อยู่บนผิวฟันเปรียบเหมือนฟิล์มที่เคลือบฟันเอาไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยเชื้อแบคทีเรีย เมื่อคราบพลัคที่อยู่ที่ฟันยาวนานมากกว่า 2- 3 วัน ก็สามารถที่จะทำให้เกิดคราบหินปูนอยู่ตามร่องเหงือกได้ และหินปูนพวกนี้นั้นสามารถที่จะก่อตัวจากสารที่อยู่ในน้ำลายได้อีกด้วย ยิ่งมีคราบพลัคและหินปูนอยู่ที่ฟันยาวนานมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเหมือนทำให้เหงือกเกิดความระคายเคืองมากเท่านั้น เมื่อถึงเวลาเหงือกก็จะเกิดอาการบวมแดงและมีเลือดออก กลายเป็นเหงือกอักเสบในที่สุด นอกจากนี้ ยังสามารถที่จะส่งผลทำให้เกิดฟันผุได้อีกด้วย

ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดเหงือกอักเสบได้ อาจมีดังนี้

  • ปากและเหงือกแห้ง ซึ่งอาจเกิดจากการที่ดื่มน้ำน้อย หรือการหายใจทางปากแทนจมูก ทำให้แบคทีเรียเติบโตในช่องปากได้ไวมากยิ่งขึ้น
  • มีอาการบาดเจ็บในช่องปาก ที่อาจเกิดขึ้นขณะแปรงฟัน หรือรับประทานอาหาร
  • มีภาวะขาดสารอาหาร ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • กำลังรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อเหงือก
  • ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง
  • อาหารติดอยู่ที่ซอกเหงือกและฟัน
  • ยีนบางชนิดในร่างกายทำให้เหงือกอักเสบ
  • เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคเบาหวาน
  • สูบบุหรี่ หรือยาสูบ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ตัวช่วยบรรเทาอาการปวดฟันของลูก

 

เหงือกอักเสบทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ไหม

หากทำการปล่อยไว้และไม่ยอมรักษาอาการเหงือกอักเสบ เด็กอาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์ได้ ซึ่งมักที่จะทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ปวดโดยเฉียบพลันที่ปากหรือขากรรไกร

แบคทีเรียที่เกิดจากการอักเสบของเหงือก อาจจะทำการลามไปยังบริเวณฟันคุดและอาจจะทำให้เด็ก ๆ นั้นรู้สึกปวดกรามขึ้นมาได้ โดยฟันที่บริเวณนั้นอาจจะโดนแบคทีเรียทำการแทรกซึมเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ และเส้นประสาทโดยรอบได้ หากว่าเด็ก ๆ มีอาการเหงือกอักเสบและปวดกราม คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะพาลูก ๆ ไปพบแพทย์เพื่อที่จะทำการรักษาโดยด่วน

2. เหงือกบวมหรือมีเลือดออก

เหงือกบวมหรือมีเลือดออก โดยปกติแล้วเหงือกของเด็ก ๆ จะมีสีชมพู แต่เมื่อมีภาวะเหงือกอักเสบรุนแรงมากขึ้น เด็กจะมีเลือดออกตามไรฟันและเหงือก รวมทั้งยังมีเหงือกบวมโต และเปลี่ยนเป็นสีแดงอีกด้วย โดยเลือกมักที่จะออกขณะที่เด็กนั้นแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน ซึ่งเมื่อมีอาการเหล่านี้ถือว่าเป็นสัญญาณที่อันตรายมาก ๆ

3. มีกลิ่นปากเรื้อรัง

มีกลิ่นปากที่เรื้อรัง เป็นอีกหนึ่งอาการที่ไม่น่าพึงประสงค์ของเหงือกอักเสบ คือ กลิ่นปาก ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่มีแบคทีเรียในปากเยอะเกินไป และไม่ว่าจะพยายามที่จะแปรงฟันหรือใช้น้ำยาบ้วนปากแค่ไหน ก็ไม่สามารถที่จะช่วยดับกลิ่นปากได้ จนเกิดเป็นกลิ่นปากเรื้อรัง

4. ฟันหลุด 

เมื่อเหงือกอักเสบและรุนแรงขึ้น แบคทีเรียจะทำการเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ฟันจนเหงือกร่น ซึ่งอาจจะทำให้เด็ก ๆ นั้นฟันหลุดออกจากเหงือกได้ในทันที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ เด็ก ๆ ยังอาจมีเหงือกร่น เป็นหนองที่ฟันและเหงือก หรือมีวิธีการสบฟันที่เปลี่ยนไป โดยคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการที่เกิดกับน้อง ๆ หากน้อง ๆ มีอาการของโรคปริทันต์เหล่านี้ ควรรีบพาเขาเข้ารับการรักษากับแพทย์ทันที เพื่อป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นตามมา

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 ยาสีฟันสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เริ่มต้นสุขภาพฟันที่ดีด้วยยาสีฟันที่ปลอดภัย

 

 

วิธีรักษาเหงือกอักเสบในเด็กเบื้องต้น

ในเบื้องต้น คุณแม่สามารถบรรเทาอาการเหงือกอักเสบของน้อง ๆ ได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  1. บ้วนปากด้วยน้ำที่ผสมเกลือ เพราะเกลือจะช่วยกำจัดแบคทีเรียในช่องปากได้ โดยอาจทำ 3-4 ครั้งต่อวัน เพื่อให้อาการดีขึ้น
  2. ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพราะหากปากแห้ง อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเติบโตได้มากยิ่งขึ้น
  3. ซื้อแปรงที่มีขนนุ่ม เด็กจับได้ถนัด และมีขนาดหัวเล็ก เพื่อไม่ให้บาดเหงือก จนอาจเกิดแผลในช่องปากได้
  4. ซื้อแปรงสีฟันใหม่ให้ลูกทุก ๆ 3 เดือน เพราะแปรงสีฟันที่เก่าแล้วอาจเสื่อมสภาพ
  5. ให้เด็กแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง โดยใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ขนาดเท่าเม็ดถั่ว
  6. ควรให้เด็กแปรงฟันครั้งละ 3-5 นาที และคุณแม่ควรดูแลเด็ก ๆ ขณะแปรงฟัน เพื่อไม่ให้เด็กกลืนยาสีฟัน
  7. อาจให้เด็กแปรงฟันด้วยว่านหางจระเข้ด้วยก็ได้ เพราะผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ว่านหางจระเข้นั้น มีคุณสมบัติช่วยลดคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก
  8. เก็บแปรงสีฟันไว้ในที่ ๆ สะอาด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคเข้าถึงได้
  9. ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ เพื่อให้ช่องปากและฟันสะอาดอยู่เสมอ
  10. ให้เด็กเข้ารับการตรวจฟันกับทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน
  11. ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและแร่ธาตุ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของฟันและกระดูก เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อปลาแซลมอน อัลมอนด์ คะน้า บรอกโคลี หรือผักใบเขียว เป็นต้น
  12. หากเด็กโตพอที่จะดื่มชาได้แล้ว ควรให้เขาดื่มชาที่มีโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คราบจุลินทรีย์เกาะติดฟันเด็ก
  13. ใช้ช้อนหรือไม้ไอติมขูดลิ้นเด็ก เพื่อกำจัดแบคทีเรียที่ลิ้นออก โดยขูดจากด้านในออกมาด้านนอก 10-15 ครั้ง
  14. กินผักสดเพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของเหงือกและฟัน และช่วยทำความสะอาดช่องปาก
  15. ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีวิตามินดี เพื่อช่วยลดการอักเสบ
  16. ให้เด็กรับประทานวิตามินซี เพื่อรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน
  17. ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลน้อย
  18. ให้เด็กแปรงลิ้นทุกครั้งที่แปรงฟัน เพื่อช่วยลดปัญหากลิ่นปาก
  19. ช่วยเด็กประคบร้อนบริเวณที่เหงือกอักเสบ
  20. ให้เด็กพักผ่อนอย่างเพียงพอ และไม่ทำให้เด็กเกิดอาการเครียด

หากเด็ก ๆ ไม่ได้เหงือกอักเสบรุนแรง ก็อาจจะยังสามารถบรรเทาอาการด้วยวิธีเหล่านี้ได้ แต่เมื่อใดก็ตาม ที่คุณแม่รู้สึกกังวลใจ หรือหากน้อง ๆ มีอาการน่าเป็นห่วง เหงือกอักเสบรุนแรง และปวดจนทนไม่ไหว ก็ควรพาน้อง ๆ เข้าพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ แม้ว่าจะรักษาจนหายดีแล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพฟันของเด็ก ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เขากลับมาเหงือกอักเสบได้อีกนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ปัญหาเรื่อง ฟันผุ ปวดฟัน ส่งผลเสียต่อการพัฒนาการของลูกหรือไม่

เชื้อราในปากทารก ฝ้าสีขาวในช่องปากลูก เป็นเชื้อรารักษาอย่างไรดี?

แนะนำ น้ำยาบ้วนปาก คนท้อง ปราศจากฟลูออไรด์ ใช้ได้อย่างปลอดภัย!

ที่มา : colgate , childrensedationdentist , ismilescorona , childrenandteendentalal , theasianparent colgate.

บทความโดย

Kanokwan Suparat