ทารกสะอึก ทำยังไงให้ลูกหายสะอึก?

lead image

ทำไมทารกสะอึกบ่อย ทำความเข้าใจอาการ ทารกสะอึก พร้อมทั้งไขข้อข้องใจความเชื่อผิดๆ และแนะนำวิธี รับมืออย่างถูกต้อง ทำยังไงให้ลูกหายสะอึก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมทารกสะอึกบ่อย โดยเฉพาะตอนหลังกินนม จริงๆ แล้วทารกสะอึก เป็นเรื่องปกติหรือเปล่า มีอะไรน่ากังวลไหม บทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปทำความเข้าใจอาการ ทารกสะอึก พร้อมทั้งไขข้อข้องใจความเชื่อผิดๆ และแนะนำวิธี รับมืออย่างถูกต้อง ทำยังไงให้ลูกหายสะอึก เพื่อช่วยบรรเทาอาการสะอึกให้ลูกน้อยอย่างปลอดภัย

 

ทารกสะอึก เกิดจากอะไร

ลูกน้อยวัยแบเบาะ โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก มักจะสะอึกบ่อยจนคุณพ่อคุณแม่แอบกังวลใจ แต่อาการสะอึกเป็นเรื่องธรรมดาในเด็กทารกค่ะ ส่วนใหญ่แล้วอาการสะอึกจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อลูกน้อยอายุ 4 เดือนขึ้นไป

ทารกสะอึก เกิดจากการหดตัวของกะบังลม ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่กั้นระหว่างช่องอกและช่องท้อง สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ลูกน้อยสะอึกก็คือ

  • กินนมเร็วเกินไป เวลาลูกน้อยหิวจัด แล้วดูดนมเร็วๆ จะทำให้กระเพาะอาหารขยายตัวอย่างรวดเร็ว ไปดันกะบังลม ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่กั้นระหว่างช่องอกและช่องท้อง ทำให้เกิดการหดตัวและเกิดเสียงสะอึก
  • กลืนลมมากเกินไป ขณะที่ลูกดูดนม อาจจะกลืนอากาศเข้าไปด้วย โดยเฉพาะเวลาที่ลูกดูดนมจากขวด หรือร้องไห้โยเย อากาศที่เข้าไปในกระเพาะ ก็จะทำให้ทารกท้องอืด และไปดันกะบังลมอีกที
  • การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เช่น อากาศเย็นลงทันที หรืออาบน้ำอุ่น อาจทำให้ร่างกายลูกปรับตัวไม่ทัน และกระตุ้นให้เกิดอาการสะอึกได้
  • การแพ้ บางครั้ง อาการสะอึกอาจเป็นสัญญาณของการแพ้อาหาร หรือแพ้สิ่งแวดล้อม เช่น นมวัว ฝุ่น ละอองเกสร

ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูกมักจะสะอึกหลังจากกินนม หรือสัมผัสกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นประจำ อาจลองจดบันทึก เพื่อหาสาเหตุ และปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลลูกน้อยต่อไปค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทารกสะอึกบ่อย ผิดปกติไหม

โดยทั่วไปแล้ว อาการสะอึกในทารกเป็นเรื่องปกติและไม่เป็นอันตรายค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี อาการสะอึกในทารกอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพได้ หากลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ร่วมกับอาการสะอึก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด

  • สะอึกติดต่อกันนานกว่าปกติ หรือสะอึกบ่อยและรุนแรงขึ้น
  • มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น แหวะนมบ่อย อาเจียน หงุดหงิด งอแง หรือร้องกวนมากกว่าปกติ
  • มีไข้ ซึมลง ไม่กินนม หรือน้ำหนักลด

อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคทางเดินหายใจ หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นความผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำยังไงให้ลูกหายสะอึก 

ถึงแม้ว่าอาการสะอึกของลูกน้อยจะดูน่ากังวล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะหายไปเอง และไม่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการหายใจค่ะ แต่ถ้าสะอึกตอนกินนมหรือกินอาหาร อาจทำให้ลูกไอหรือสำลักได้ ทำยังไงให้ลูกหายสะอึก คุณพ่อคุณแม่ลองใช้วิธีเหล่านี้ช่วยบรรเทาอาการสะอึกให้ลูกดูนะคะ

1. ปรับท่านั่ง

เวลาลูกนอนราบแล้วกินนม มักจะกลืนอากาศเข้าไปด้วย ทำให้ท้องอืด และไปดันกะบังลมจนเกิดอาการสะอึก ให้คุณแม่อุ้มลูกขึ้นมาอยู่ในท่านั่งตรง อาจจะใช้หมอนเล็กๆ หรือผ้าห่มม้วนรองหลังให้ลูกพิง เพื่อให้ลูกนั่งได้สบาย พยุงตัวลูกดีๆ อย่าให้ลูกพิงหมอนจนหลังงอมากเกินไป และระวังอย่าให้ลูกสำลักนมค่ะ

2. ลูบหลังขึ้นเบาๆ 

ใช้มือลูบหลังลูกเป็นวงกลมเบาๆ พร้อมกับโยกตัวลูกไปมาช้าๆ คล้ายๆ กับตอนกล่อมลูกนอน การสัมผัสและการเคลื่อนไหวเบาๆ จะช่วยให้ลูกผ่อนคลาย และอาจช่วยระบายอากาศในกระเพาะอาหารได้ ระวังอย่ากดหรือบีบแรงเกินไป

3. กระตุ้นให้ลูกเรอ

การเรอจะช่วยระบายอากาศที่ลูกกลืนเข้าไปในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการสะอึก ให้คุณแม่อุ้มลูกพาดบ่า ให้คางลูกเกยไหล่เรา แล้วใช้มือตบหลังลูกเบาๆ หรือลูบหลังขึ้นๆ ลงๆ แนะนำให้รองผ้ากันเปื้อนบนบ่าด้วยนะคะ เผื่อลูกแหวะนมออกมาค่ะ

4. ให้ลูกดูดจุกหลอก

การดูดจะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อกะบังลม และทำให้ลูกผ่อนคลาย หากลูกไม่ชอบดูดจุกหลอก คุณแม่ไม่ต้องบังคับนะคะ และควรเลือกจุกหลอกที่ขนาดเหมาะสมกับวัยของลูก รวมถึงรักษาความสะอาดของจุกหลอกเสมอ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ทำให้ลูกตกใจ เช่น ตีหลัง เขย่าตัว หรือส่งเสียงดัง เป็นความเชื่อที่ผิด และอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้
  • ให้ลูกดื่มน้ำ ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ไม่ควรดื่มน้ำเปล่า เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ใช้วิธีแบบผู้ใหญ่ เช่น กลั้นหายใจ ดื่มน้ำกลับหัว เป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมกับทารก และอาจเป็นอันตรายได้

 

วิธีป้องกันทารกสะอึก

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดอาการสะอึก และทำให้ลูกน้อยสบายตัวขึ้นได้ ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

  • ให้นมลูกก่อนหิวจัด อย่ารอให้ลูกหิวจัดจนร้องไห้โยเย เพราะจะทำให้ลูกดูดนมเร็วเกินไป และกลืนอากาศเข้าไปเยอะ
  • ป้อนนมทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง แบ่งนมเป็นมื้อย่อยๆ แทนการให้ลูกกินทีละมากๆ จะช่วยลดภาระการทำงานของกระเพาะอาหาร
  • หยุดพัก แล้วช่วยลูกเรอ ระหว่างป้อนนม ควรหยุดเป็นระยะๆ เพื่ออุ้มลูกเรอ ช่วยระบายอากาศออกจากกระเพาะ
  • จัดท่านั่งหลังมื้อนม หลังกินนมเสร็จ อุ้มลูกนั่งตัวตรงประมาณ 20-30 นาที เพื่อให้นมย่อย และลดโอกาสที่นมจะไหลย้อนขึ้นมา
  • งดกิจกรรมโลดโผน หลังมื้อนม ควรให้ลูกพักผ่อน อย่าเพิ่งเล่นกับลูกแรงๆ หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงเยอะ
  • เลือกจุกนมที่เหมาะสม ถ้าลูกกินนมจากขวด ควรเลือกจุกนมที่ขนาดรูพอดี ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป เพื่อไม่ให้ลูกดูดนมเร็ว หรือกลืนอากาศมากเกินไป

สัญญาณอันตราย ควรพบแพทย์ด่วน

  • ลูกสะอึกนานเกิน 2 ชั่วโมง
  • ลูกสะอึกบ่อยมาก หรือสะอึกพร้อมกับอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ร้องไห้งอแง แหวะนม อาเจียน หายใจลำบาก ตัวเขียว ริมฝีปากและเล็บมีสีม่วงคล้ำ

หากพบอาการเหล่านี้ อย่านิ่งนอนใจนะคะ รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

ที่มา : โรงพยาบาลสินแพทย์ , โรงพยาบาลพญาไท , pobpad

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 สัญญาณ!​ ลูกปวดเหงือก ฟันขึ้น พ่อแม่ช่วยได้อย่างไรบ้าง?

15 วิธีกระตุ้นสมองทารก ช่วยให้ลูกฉลาด ทำได้ตั้งแต่แรกเกิด

ทารกง่วงแต่ไม่ยอมนอน ทำไงดี? แนะวิธีแก้ ก่อนกระทบพัฒนาการลูกน้อย!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา