หลังจากที่เราใช้หมอนกันมาเป็นเวลานาน แน่นอนว่ามันอาจจะมีช่วงที่ขาดหรือหลุดลุ่ยขึ้นมาบ้าง เพราะฉะนั้นใครที่กำลังมองหาวิธีการเย็บหมอนแบบง่าย ๆ ด้วยมือของเราเอง เทคนิค วิธีเย็บหมอนด้วยมือ ที่เราได้นำมาฝากคุณแม่ในวันนี้ ขอบอกเลยว่าเป็นอะไรที่ดูเข้าใจง่าย อีกทั้งยังจะได้หมอนใบเดิมกลับมาใช้อีกแน่นอน
วิธีเย็บหมอนด้วยมือ เทคนิคการเย็บหมอนเบื้องต้นแบบง่าย
หากใครที่กำลังอยากได้วิธีการเย็บหมอนแบบง่าย ๆ โดยที่ไม่ต้องมีขั้นตอนที่ซับซ้อนอะไรมากนัก ขอบอกเลยว่าวิธีการเย็บด้วยวิธีต่าง ๆ ที่เราได้นำมาฝากทุกคนนั้น เป็นอะไรที่ทำตามได้ไม่ยาก แถมยังช่วยบอกลาปัญหาหมอนขาดไปได้อีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีซักหมอน ยังไง? ให้สะอาด ไม่มีคราบสกปรก
1. การปักทึบ
มาที่วิธีการเย็บหมอนแบบปักทึบ วิธีการเย็บแบบนี้จะเป็นการปักไหมให้เต็ม นอกจากเป็นเทคนิคการเย็บหมอนแล้ว การปักทึบ ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยทำให้เราสามารถปักหมอนเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ ได้ อาทิเช่น รูปผีเสื้อ หรือดอกไม้ เป็นต้น สำหรับใครที่อยากให้หมอนของเราดูน่ารักมากยิ่งขึ้น เราก็อาจจะทำปักลวดลายต่าง ๆ บนหมอนของเราได้เลย
2. การเนา
การเย็บด้วยวิธีนี้เป็นการเย็บอีกหนึ่งวิธีที่ไม่ได้ซับซ้อนและค่อนข้างทำตามได้ง่าย โดยการเย็บนั้นจะเป็นการเย็บแบบหลวม แต่สำหรับใครที่อยากจะให้การเย็บของเราดูแข็งแรงและทนทานมากยิ่งขึ้น เราก็อาจจะเย็บให้ถี่ขึ้น เพื่อที่หมอนของเราจะได้ไม่ขาดง่ายและสามารถใช้งานได้นานมากขึ้นตามไปด้วย
3. การเย็บปมแบบฝรั่งเศส
บางคนก็อาจจะเคยได้ยิน หรืออาจจะคุ้นเคยกับวิธีการเย็บแบบนี้กันมาบ้างแล้ว ซึ่งวิธีการเย็บแบบนี้จะมีลักษณะเป็นปมเล็ก ๆ ปักเข็มขึ้นมาจากนั้นก็จะใช้ไหมพันรอบเข็มประมาณ 2 – 3 รอบ พร้อมกับปักลงไปจุดเดิมที่เราเคยปักแล้ว นอกจากจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถเย็บหมอนได้แล้ว การเย็บด้วยวิธีนี้ยังทำให้เราสามารถตกแต่งหมอนเป็นรูปต่าง ๆ ให้สวยงามได้เช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : เคล็ดลับ! ซักผ้าม่าน และดูแลผ้าม่าน ทำอย่างไร? ให้ขาวสะอาด
4. ลายปักริมผ้าห่ม
อีกหนึ่งวิธีการเย็บที่ดูง่ายและทำตามได้ไม่ยากเลย คือ ลายปักริมผ้าห่ม การปักวิธีนี้คือจะเป็นการปักแบบทำมุมเฉียง ซึ่งก่อนที่เราจะทำการดึงด้ายให้เราปักขึ้นมาตรงกับสองจุดแรกก่อน จากนั้นก็ทำเป็นรูปสามเหลี่ยมพร้อมกับสอดเข็มขึ้นมาระหว่างด้ายที่ยังไม่ได้ดึงจนตึงมาก เมื่อผ่านขั้นตอนนั้นมาแล้วก็สามารถดึงด้ายให้ตึงได้เลย เย็บแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดเพียงเท่านี้หมอนที่ขาดก็จะกลับมาใช้งานได้แล้ว
5. การสอยซ่อนด้าย
มาดูวิธีการเย็บหมอนด้วยการสอยซ่อนด้ายกันบ้าง การเย็บด้วยวิธีนี้ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจ เพราะเป็นการเย็บที่มองไม่เห็นด้าย ซึ่งการเย็บด้วยวิธีนี้เราอาจจะต้องเลือกได้สีใกล้เคียงกับเนื้อผ้าของเรา เพื่อที่จะได้ดูกลมกลืนมากที่สุด สำหรับวิธีการปักนั้นให้เราพับปลายผ้าสองข้างเข้าด้วยกัน จากนั้นก็ใช้เข็มปักปลายผ้าที่เราพับไว้โดยเริ่มจากด้านล่างขึ้นมาด้านบน โดยการปักเราอาจจะต้องเว้นระยะห่างประมาณ 1 เซนติเมตร ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดเลยนะคะ
6. ตะเข็บเย็บหุ้ม
การเย็บแบบตะเข็บเย็บหุ้มจะมีลักษณะการเย็บแบบสอย แต่การเย็บด้วยวิธีนี้จะเย็บง่ายกว่า โดยเราจะเย็บแบบซ่อนปมในรอยผ้า จากนั้นก็ขึ้นมาตรงรอยพับผ้าชิ้นเดิม และการเย็บด้วยวิธีนี้เราไม่ควรที่จะเย็บห่างกันจนเกินไปนะคะ อาจจะเย็บให้ได้ระยะห่างที่กำลังพอดี และพยายามเย็บให้ชิดขอบมากที่สุด เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ
7. การด้นถอยหลัง
เชื่อว่าการเย็บด้วยวิธีการด้นถอยหลัง น่าจะเป็นวิธีการเย็บที่ใครหลายคนนิยมใช้กันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเย็บที่ง่ายและค่อนข้างแข็งแรง ในส่วนวิธีการทำเริ่มแรกให้เราทำการปักเข็มขึ้นมา จากนั้นก็เว้นระยะห่างได้ตามที่เราต้องการ แต่ต้องบอกก่อนว่ายิ่งเราเว้นระยะที่สั้นมากเท่าไหร่ การเย็บหมอนของเราก็จะยิ่งแข็งแรงเพิ่มมากขึ้นนะคะ
เคล็ดลับดูแลหมอนอย่างไรให้หนุนได้นาน ๆ
หากใครคนไหนที่มีหมอนใบโปรดเป็นของตัวเอง และอยากที่จะให้หมอนที่เราใช้อยู่ตอนนี้ ดูใหม่และมีอายุการใช้งานที่นานมากขึ้น บอกเลยว่าเคล็ดลับที่เราได้นำมาฝากทุกคนในวันนี้ ถือเป็นหนึ่งเคล็ดลับดี ๆ ที่จะทำให้เราใช้หมอนได้อย่างคุ้มค่าแน่นอน
บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำสูตร ซักผ้าขาว เปลี่ยนผ้าหมองให้กลับมาขาวสะอาดเหมือนใหม่!
1. เข้าใจวิธีการทำความสะอาด
สิ่งที่เราจะดูเป็นอันดับแรก ๆ เลยคือเรื่องของความสะอาด ซึ่งก่อนที่เราจะนำหมอนไปทำความสะอาดนั้น เราอาจจะต้องทำความเข้าใจขั้นตอนวิธีการทำความสะอาดให้แน่ชัดก่อน โดยส่วนมากมักจะทำความสะอาดเหมือนทุก ๆ 3 – 4 เดือน และที่สำคัญเราอาจจะต้องดูด้วยว่าหมอนแต่ละชนิดเหมาะสำหรับการทำความสะอาดแบบไหน เพื่อที่หมอนของเราจะได้ไม่เสียและสามารถนำมาใช้งานได้เหมือนเดิมนะคะ
2. หมอนควรจะต้องแห้ง
นอกจากขั้นตอนการซักที่เราควรต้องใส่ใจแล้ว เรื่องของความแห้งเราอาจจะต้องให้ความสำคัญตามไปด้วย เพราะเมื่อไหร่ที่เราทำการซักหมอน แต่เวลาต่อมาเราก็ทำการเก็บหมอนเลยทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ดูเลยว่าหมอนที่เราซักไปนั้นแห้งหรือเปล่า สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้หมอนของเรามีเชื้อราเกิดขึ้นมาได้ เราก็อาจจะต้องนำหมอนที่ซักแล้วไปทำการตากแดด หรือตากในบริเวณที่อากาศถ่ายเท เพื่อที่หมอนจะได้แห้งเร็วขึ้นนะคะ
3. ตบหมอนทุกครั้งที่ตื่นนอน
เชื่อไหมว่าการที่เราพยายามตบหมอนทุกครั้งที่ตื่นนอน สิ่งนี้จะช่วยทำให้อายุการใช้หมอนของเราใช้งานได้นานมากขึ้น เพราะเมื่อไหร่ที่เราทำการตบหมอนอยู่บ่อย ๆ เป็นประจำ สิ่งนี้จะช่วยป้องกันฝุ่นชนิดต่าง ๆ ไม่ให้มาเกาะหมอนของเรา ในทางกลับกัน หากเราไม่ได้ทำการตบหมอนอยู่เป็นประจำ หรือนาน ๆ ทีค่อยทำความสะอาด สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้หมอนที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ มีสกปรกตกค้างและเสื่อมสภาพขึ้นมาได้เลย เพราะฉะนั้นไม่ควรปล่อยให้หมอนเราสกปรกนะคะ
4. ลองซ่อมแซมก่อน
หากเมื่อไหร่ที่หมอนเราใช้เป็นประจำเกิดรอยขาดหรือหลุดลุ่ยขึ้นมา เราควรรีบทำการซ่อมแซมก่อนที่จะนำมาใช้งานอีกรอบ ซึ่งเราอาจจะเริ่มซ่อมแซมด้วยวิธีง่าย ๆ เบื้องต้นก่อน อาทิเช่น การเย็บด้วยวิธีต่าง ๆ เป็นต้น เอาเป็นว่าหากเมื่อไหร่ที่หมอนเรามีรอยขาด หรือหลุดลุ่ยขึ้นมา เราไม่ควรใช้งานต่อโดยที่ยังไม่ได้ทำการซ่อมแซมนะคะ ไม่อย่างนั้นอาจจะยิ่งทำให้หมอนของเราเสื่อมสภาพมากกว่าเดิมได้ ดังนั้นควรต้องระวังกันด้วยนะคะ
เป็นอย่างไรกันบ้างกับวิธีการเย็บหมอนด้วยมือ และเคล็ดลับวิธีการดูแลหมอนที่เราได้นำมาฝากในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะคลายความกังวลให้กับคุณแม่หลาย ๆ คนไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ เอาเป็นว่าหากใครที่อยากจะใช้หมอนใบโปรดให้ได้นานมากที่สุด ลองเข้ามาดูวิธีการเย็บหมอนและเคล็ดลับการดูแลหมอนกันดูนะคะ รับรองว่าเห็นผลอย่างแน่นอนค่ะ และที่สำคัญไปกว่านั้นคือทำตามได้ไม่ยากเลยล่ะค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เก็บสายไฟโต๊ะคอม ทำอย่างไรไม่ให้รก วิธีเก็บที่ใครก็ทำตามได้!
วิธีเช็ดกระจก อย่างไร? ให้ใสไร้คราบ เคล็ดลับง่าย ๆ ที่คุณต้องลอง
วิธีถอดพัดลม ทำอย่างไร? เคล็ดลับง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้
ที่มา : 1, kenkoshop
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!