ของไหว้เจ้าในวันตรุษจีน 2567 วิธีไหว้ในวันตรุษจีน ที่ควรรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ใกล้ถึงตรุษจีนทีไร สิ่งที่ต้องมานั่งคิดไล่ลิสดูทุกครั้ง คงหนีไม่พ้น ของไหว้เจ้าในวันตรุษจีน อย่างแน่นอน ยิ่งปีนี้ พ.ศ.2567 ดูเหมือนอาหารคาวหวานหลายอย่าง ราคาจะพุ่งขึ้นสูง ดังนั้นการคำนวณเรื่องค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับของที่จะนำมาไหว้ ก็จำเป็นจะต้องพิถีพิถันมากขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อให้เงินแต่ละบาทที่จ่ายออกไป จะถูกใช้จ่ายอย่างคุ้มค่ามากที่สุดนั่นเอง

 

วันตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน

ในแต่ละปีวันตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน หรือผู้ที่มีเชื้อสายจีน จะถูกกำหนดวันที่แตกต่างกันออกไป โดยมากมักจะถูกอ้างอิง หรือกำหนดจากการคำนวณตำแหน่งการเคลื่อนย้ายของสุริยคติ และจันทรคติ จึงทำให้แต่ละปีวันตรุษจีน มักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่สิ่งที่เหมือนกันในทุก ๆ ครั้งของการเข้าสู่เทศกาลตรุษจีนนั่นก็คือ การเตรียมของไหว้อย่างพิถีพิถัน รวมถึงประเพณีความเชื่อต่าง ๆ ทั้งข้อห้าม และสิ่งที่ควรทำ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประวัติวันตรุษจีน ตำนานความเชื่อโบราณ และความสำคัญ

 

3 วัน หัวใจหลักของวันตรุษจีน

 

 

อย่างที่เราหลายคนมักจะได้ยินในเรื่องของ วันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว สำหรับวันเฉลิมฉลองขึ้นปีใหม่ในรูปแบบของชาวจีน เรียกว่า 3 วันนี้ จะเป็นหัวใจหลักในการก้าวข้ามเข้าสู่ปีใหม่อย่างเต็มตัว และทุก ๆ ครอบครัว ก็จะให้ความสำคัญ และปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน โดยในปี 2567 นี้ ทั้ง 3 วันนี้ได้ถูกกำหนดเอาไว้ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • วันจ่าย

ในปี 2567 นี้ “วันจ่าย” จะเป็นวันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 จะเป็นวันที่คนจีน และคนไทยเชื้อสายจีน ต่างออกมาจับจ่ายใช้สอย ซื้ออาหารคาว-หวาน ซื้อเครื่องไหว้บูชาต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวันไหว้ในวันถัดไป

 

  • วันไหว้

และแน่นอนว่า ในวันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ก็จะเป็น “วันไหว้” ในวันนี้ทุก ๆ ครอบครัว จะเริ่มไหว้ตั้งแต่เช้าตรู่ ตลอดจนข้ามเข้าสู่วันใหม่กันเลยทีเดียว หลายคนคงคิดว่า แล้วไหว้ทั้งวัน จำเป็นจะต้องไหว้อะไรบ้าง ทำไมไหว้ยาวนานขนาดนั้น เราจะแจกแจงกันในหัวข้อถัดไปค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • วันเที่ยว

“วันเที่ยว” หรือเรียกว่า “วันพักผ่อน” ก็ได้เช่นกัน ในปีนี้จะตรงกับวันเสาร์ที่ 10 กรุมภาพันธ์ 2567 จะเป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีน จะพักผ่อนกันอย่างเต็มที่ หลังจากตระเวนไหว้สารพัดไหว้มาตลอดทั้งวันทั้งคืนในวันก่อนหน้านี้ และแน่นอนว่า วันนี้จะงดทำกิจกรรมงานบ้าน การทำความสะอาด และเป็นที่น่าเสียดายที่ปีนี้ วันตรุษจีน ไม่ได้ถูกให้เป็นวันหยุดราชการเหมือนปีก่อน ดังนั้น จัดสรรเวลาให้ดี แล้วพักผ่อนกันให้เต็มที่ในวันปีใหม่แบบนี้นะคะ

 

ของไหว้เจ้าในวันตรุษจีน “วันจ่าย”

เดิมทีเมื่อเข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษจีน จะเป็นช่วงที่ชาวจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน หรือผู้ที่มีความเชื่อในแบบจีน ต่างออกมาจับจ่ายใช้สอย โดยเฉพาะในวันจ่าย ที่เราต้องซื้อทั้งอาหารคาวหวาน ผลไม้ และเครื่องบูชาต่าง ๆ ที่เชื่อกันว่า จะนำมาซึ่งความเป็นมงคลในการก้าวย่างเข้าสู่ปีใหม่ แล้วของที่จะต้องใช้ไหว้เจ้าในวันตรุษจีนนั้น จะต้องมีอะไรบ้าง และอะไรไม่ควรมี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ของไหว้วันตรุษจีน และความหมาย

 

 

1. อาหารคาวไหว้วันตรุษจีน

  • ไก่ หมายถึง ความสง่างาม ยศ และความขยันขันแข็ง ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จำเป็นจะต้องเป็นไก่เต็มตัว หมายถึง มีหัว ตัว ขา ปีก มีความหมายถึง ความสมบูรณ์
  • เป็ด หมายถึง สิ่งบริสุทธิ์ ความสะอาด ความสามารถอันหลากหลาย
  • ปลา หมายถึง เหลือกินเหลือใช้ อุดมสมบูรณ์
  • หมู หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีกินมีใช้
  • ปลาหมึก หมายถึง เหลือกิน เหลือใช้ (เหมือนปลา)
  • เป๋าฮื้อ หมายถึง มีความเชื่อว่าเป็นอาหารสิริมงคล เพราะมีความหมายช่วยห่อความมั่งคั่งให้เหลือกินเหลือใช้ นิยมกินในโอกาสสำคัญ
  • ปู หมายถึง การสอบได้ตำแหน่งที่ดี
  • กุ้งมังกร, กุ้ง หมายถึง ความมีอำนาจวาสนา ชีวิตที่รุ่งเรืองรวมทั้งเป็นตัวแทนของความสุข
  • บะหมี่ยาวหรือหมี่ซั่ว หรือ ฉางโซ่วเมี่ยน ตามชื่อหมายถึง อายุยืนยาว
  • เม็ดบัว หมายถึง การมีบุตรชายจำนวนมาก
  • ถั่วตัด หมายถึง แท่งเงิน
  • สาหร่ายทะเลสีดำ หมายถึง ความมั่งคั่งร่ำรวย
  • หน่อไม้ หมายถึง การอวยพรให้ร่ำรวยผาสุก

 

2. การแบ่งไหว้ของคาว 3 อย่าง หรือ 5 อย่าง

เนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจที่เข้ามามีบทบาทในการกำหนดกำลังในการไหว้ เราจึงสามารถกำหนดชุดการไหว้เบื้องต้นได้เป็น ซาแซ หรือ โหงวแซ หรือง่าย ๆ คือ 3 หรือ 5 อย่าง ต่างก็เป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ไหว้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ต้องดูที่กำลังความสามารถ การไหว้เจ้า การทำบุญต่าง ๆ หากทำแล้ว ทำให้ตัวเองมีปัญหาในอนาคต หรือเกิดความขัดสนในเรื่องค่าใช้จ่าย ก็คงไม่เกิดผลดีเท่าที่ควร ดังนั้น หากงบน้อย ก็จัดชุดเล็กไปก่อน ปีไหนมีพร้อม ค่อยจัดชุดใหญ่ไฟกระพริบกันอีกที

  • ไหว้ 3 อย่าง (ซาแซ) ประกอบด้วย
    • หมูส่วนสะโพกติดหนัง (บะแซหรือบะแซะ)
    • เป็ด (พร้อมเครื่องใน)
    • ไก่ (พร้อมเครื่องใน)
  • ไหว้ 5 อย่าง (โหงวแซ) ประกอบด้วย
    • หมู (บะแซหรือบะแซะ)
    • เป็ด (พร้อมเครื่องใน)
    • ไก่ (พร้อมเครื่องใน)
    • ปลาทั้งตัว หรืออาหารทะเล (เช่น ปลาหมึกแห้งทั้งตัวไม่ต้องต้ม กุ้งต้มสุก ปูต้มสุก หรือหอยลวกสุก)
    • ตับ

 

3. อาหารหวาน ขนมทั่วไป ไหว้วันตรุษจีน

  • ซาลาเปา (หมี่ก้วย หรือเหมียนเปา)
    • ซาลาเปาที่ไม่มีไส้ หรือ หมั่นโถว นิยมทำให้ด้านบนแตกเหมือนดอกไม้บาน แล้วแต้มจุดแดง หรือปั้มตัวหนังสือสีแดง เขียนว่า “ฮก” ที่แปลว่า “โชคดี”
    • ซาลาเปาแบบมีไส้ หรือ “เต้าซา” ซาลาเปาตัวนี้จะทำลักษณะกลมมน แล้วปั๊มตัวหนังสือว่า “เฮง” ที่แปลว่า “โชคดี”
    • ซาลาเปารูปท้อ หรือ “ซิ่วท้อ” เป็นซาลาเปาที่ถูกทำขึ้นมาพิเศษ เชื่อกันว่าเป็นผลไม้จากสวรรค์ มักจะใช้ในงานมงคล ไม่ว่าจะเป็นงานปีใหม่ หรืองานวันเกิด เพราะเชื่อว่า จะให้ความหมายถึงการมีอายุที่ยืนยาว
  • ขนมไข่ (หนึ่งกอ)
  • กาก๊วย หรือ ฮวกก๊วย เป็นขนมที่มักจะใช้ในงานมงคล ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ รวมถึงงานปีใหม่แบบตรุษจีนนี้ด้วยเช่นกัน โดยบนหน้าขนม จะปั๊มตัวหนังสือว่า “ฮวดไช้” แปลว่า “สมปรารถนา” และมีคำที่อยู่รอบนอกว่า “เฮง” ล้อมรอบ
  • คักท้อก้วย มีไส้ข้าว ไส้กุยช่าย ไส้ผัดผักกะหล่ำ ไส้ถั่ว นวดกับแป้งผสมสีแดง เป็นสีนำโชค ใช้ไหว้เจ้าที่ หรือไหว้บรรพบุรุษ
  • ฮวกก้วย (ขนมถ้วยฟู) คักท้อก้วย (ขนมกู๋ช่าย) สื่อถึงความเฟื่องฟู เจริญรุ่งเรือง
  • จับกิ้ม (แต่เหลียง) หรือที่คนไทย เรียกว่า “ขนมจับอัน” ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกประเภท ประกอบด้วยขนม 5 อย่าง คือ
    • เต้ายิ้งปัง คือ ขนมถั่วตัด
    • มั่วปัง คือ ขนมงาตัด
    • ซกซา คือ ถั่วเคลือบน้ำตาล
    • กวยแฉะ คือ ฟักเชื่อม
    • โหงวจ๊งปัง คือ ขนมข้าวพอง
  • ตั่วเปี้ย คนไทยเรีกว่า “ขนมเปี๊ยะ” ถ้าเป็นแบบเจ เรียกว่า “เจเปี้ย” มีไส้มังสวิรัติ เช่น ไส้เต้าซา แบบชอ เรียกว่า “ชอเปี้ย” ใส่มันหมู ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกอย่าง
  • ทึ้งถะ คือ เจดีย์น้ำตาล ซึ่งต้องมีทึ้งไซ หรือสิงห์น้ำตาล มีไว้เพื่ออารักขาเจดีย์ ใช้ไหว้เทพยดาฟ้าดิน ในวันที่ 9 เดือน 1 ของทุกปีและสามรถใช้ไหว้เจ้าแม่กวนอิมในวันไหว้พระจันทร์ได้
  • โหงวก้วย -โหงวอั้ง หรือขนมลูกหลาน ใช้ไหว้คนตายในงานศพเท่านั้น ทำจากแป้งข้าวเจ้า ทั้งแบบเกลี้ยง และแบบแต่งถั่วดำ กินไม่อร่อย แต่ใช้ในการทำพิธี
  • ขนมเข่ง หมายถึงมีเพื่อนมาก ขนมเทียน หมายถึงสว่างสดใส รุ่งเรือง
  • น้ำตาล นำน้ำตาลมาใส่ถุง ติดกระดาษแดง สามารถใช้ไหว้ได้ทุกอย่างเช่นกัน

 

4. ผลไม้ไหว้เจ้า ในวันตรุษจีน

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ส้ม คำจีนเรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี
  • องุ่น คำจีนเรียกว่า “พู่ท้อ” หมายถึง งอกงาม
  • สับปะรด คำจีนเรียกว่า “อั้งไล้” แปลว่า มีโชคมาหา
  • กล้วย คำจีนเรียกว่า “เฮียงเจีย” หรือ “ เกงเจีย ” มีความหมายถึงการมีลูกหลานสืบสกุล

 

5. กระดาษเงินกระดาษทอง ไหว้วันตรุษจีน

คนจีนยังมีความเชื่อถึงโลกหลังความตายเป็นอย่างมาก และการที่ลูกหลานจะส่งเงินทองไปให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว นับเป็นการแสดงความกตัญญูอย่างหนึ่ง เพื่อให้เหล่าบรรพบุรุษได้นำไปใช้ในอีกภพภูมิหนึ่ง จะได้ไม่ลำบาก และมีกินมีใช้ โดยจะเรียกพิธีนี้ว่า “อิมกัง” การเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ พร้อมกับการไหว้เจ้าเพื่อบรรพบุรุษนั้น เชื่อว่าจะเป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุข ความเจริญให้กับลูกหลาน

  • กอจี๊ หรือ จี๊จุ้ย เป็นกระดาษเงินกระดาษทองชิ้นใหญ่ มีกระดาษแดงตัดเป็นลายตัวหนังสือว่า “เผ่งอัน” เป็นคำอวยพร แปลว่า โชคดดีใช้สำหรับไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
  • กิมจั้ว หรือ งึ้งจั๊ว หมายถึงกระดาษเงินกระดาษทอง เวลาจะไหว้จะทำเป็นชุด ก่อนไหว้ลูกหลานจ้องนำมาพับเป็นรูปดอกไม้ ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง
  • กิมเต้า หรือ งึ้งเต้า หรือถังเงินถังทอง ใช้ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
  • กิมเตี๊ยว คือ แท่งทอง ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้คนตาย
  • ค้อซี คือ กระดาษทอง ก่อนใช้ให้พับเป็นรูปร่างก่อน เช่น พับเป็นเรือ เรียกว่า “เคี้ยวเท่าซี” เชื่อกันว่าการพับเรือ จะได้ ้มูลค่าสูงกว่าการพับอย่างอื่นใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งไหว้คนตาย โดยเฉพาะพิธีทำกงเต๊ก ลูกหลานต้องพับค้อซี ให้มากที่สุด
  • อิมกังจัวยี่ คือแบงก์กงเต็กนั่นเอง
  • อ่วงแซจิ่ว ใช้เผาเป็นใบเบิกทาง ไปสวรรค์สำหรับผู้ตาย
  • เพ้า คือ ชุดของเทพเจ้า คล้ายกับที่คนไทยถวายผ้าห่มพระพุทธรูป มีการทำของเจ้าหลายองค์ เช่น ชุดของเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่ทับทิม พระพุทธ
  • ตั้วกิม เป็นกระดาษเงินกระดาษทองที่ญาติสนิทนำไปไหว้ผู้ตาย การเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้องทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้เส้นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ “เหี่ยม” หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผา เมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลา เป็นการเสร็จพิธี

 

วิธีไหว้ ขั้นตอนการไหว้ในวันตรุษจีน “วันไหว้”

 

 

1. ไหว้เจ้าที่

ในช่วงเช้าของวันไหว้ โดยจะเริ่มต้นด้วยการไหว้เจ้าที่ในบ้าน หรือตี่จู้ เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยการไหว้ สามารถไหว้ได้ตั้งแต่เช้า แต่ไม่ให้เกิน 08:00 น. โดยการไหว้ตี่จู้ หรือตีจู้เอี๊ยะ จำเป็นจะต้องจุดธูปอย่างละ 1 ดอก แล้วปักที่สองข้างประตูหน้าบ้าน เพื่อเป็นการเบิกทาง ให้กับเหล่าวิญญาณบรรพบุรุษ ส่วนธูปที่ไหว้ตี่จู้ ให้ใช้ 5 ดอกค่ะ

 

2. ไหว้บรรพบุรุษ

หลังจากที่ไหว้เจ้าที่ เพื่อเป็นการเบิกทางแล้ว ให้ทำการไหว้วิญญาณบรรพบุรุษต่อ โดยจะทำการไหว้ก่อนเวลา 11:00 น. และไม่ให้เกิน 12:00 น. เพราะการไหว้ช่วงเที่ยง หรือหลังเที่ยงไปแล้ว คนจีนจะเชื่อว่า ไม่ทันกิน ทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จช้ากว่าคนอื่นเขา ดังนั้นยิ่งไหว้เร็วยิ่งดีค่ะ

 

3. ไหว้สัมภเวสี วิญญาณเร่ร่อน

การไหว้สัมภเวสีนี้ เป็นเสมือนการทำทานอย่างหนึ่ง แต่ควรไหว้ในพ้นหลังคาบ้าน หรือพื้นที่บริเวณบ้าน เช่นหากบ้านคุณมีรั้ว ให้นำของไหว้ไว้นอกรั้งบ้าน หากเป็นพื้นที่บ้านทั่วไป ให้ไหว้พ้นบริเวณหลังคาบ้าน หรือพื้นที่บ้าน และเมื่อไหว้เสร็จ ให้ทำการโปรยเกลือบริเวณนั้นโดยรอบ และจุดประทัด เพื่อไล่ไม่ให้มีสิ่งไม่ดีสั่งสมอยู่บริเวณนั้น ๆ ให้ทำการไหว้ช่วงสาย หลังจากบ่ายสองไปแล้ว

 

4. ไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย ต้อนรับวันปีใหม่

 

 

สำหรับคนไทยเชื้อสายจีนโดยมาก มักจะตระเวนไหว้เจ้า ตามศาลเจ้าต่าง ๆ 5 วัด 9 วัด แล้วแต่จะจัดสรร โดยในช่วงเที่ยงคืน หรือ 23:01 น. มักจะไปจบการไหว้ที่ศาลเจ้าที่มีองค์เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยอยู่ที่นั่น แต่ในยุคโควิดแบบนี้ จะให้ไปอัดแน่นกันตามวัด ตามศาลเจ้าก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่นอน ดังนั้น คุณสามารถทำการไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยได้ที่บ้านของคุณเอง ปฎิบัติดังนี้

  1. โดยจัดเครื่องบูชาเอาไว้กลางแจ้ง
  2. โดยให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
  3. หากมีรูปปั้นเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย หรือรูป สามารถนำมาวางไว้ที่โต๊ะบูชา หากไม่มี ช่วงที่บูชา สามารถเปิดรูปจากโทรศัพท์มือถือเพื่อทำการอธิษฐานก็ได้เช่นกัน
  4. เครื่องบูชาต่าง ๆ ตามกำลังทรัพย์
  5. ชุดกระดาษไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ย (อันนี้สำคัญมากค่ะ) โดยในชุดจะมี หงิ่งเตี๋ย 12 ชุด กิมหงิ่งเต้า 1 คู่ เทียงเถ้าจี๊ 1 ชุด เทียบเชิญแดง 1 แผ่น กระดาษสีเขียว 1 แผ่น (เทียบเชิญสีเขียว)
  6. หากต้องการไหว้เรียกทรัพย์เป็นเคล็ดเพิ่มเติม ให้เตรียมกระเป๋าสตางค์ใบใหม่ไว้ด้วย หรือสมุดบัญชีเงินฝาก เหรียญ ธนบัตร สำหรับเก็บไว้เป็นเงินขวัญถุง

*** เคล็ดลับการไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยะ ***

  • ผู้ที่ไหว้คนแรก ห้ามเกิดปีชง ห้ามป่วย เอาเป็นว่า เอาคนดวงเฮงเริ่มไหว้ประเดิมก่อน ส่วนคนปีชง ให้ไปไหว้หลังสุดเพื่อน เพื่อเป็นการถือเคล็ดให้เกิดแต่สิ่งดี ๆ ใช้ดวงคนปีเฮง ขึ้นเป็นจ่าฝูงนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 60 เมนูจากของไหว้เจ้า สร้างสรรค์เมนูอร่อย จากของไหว้วันตรุษจีน !

 

อั่งเปา แจกวันไหนนะ?

 

 

เรื่องของอั่งเปา ไม่เข้าใครออกใคร หลายคนเรียกว่านั่งรับวันรอให้ถึงวันที่จะได้รับอั่งเปากันเลยทีเดียว แต่คราวนี้ต้องมาถามก่อนว่า ใครกันที่จะได้รับอั่งเปา แล้วใครกันที่จะต้องเป็นคนให้อั่งเปา เอาจริง ๆ คือ ใครที่พร้อมให้ ก็เตรียมซองไว้แจกเด็ก ๆ นั่นแหละจ๊า… แต่ถ้าตามธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว ใครที่แต่งงานออกเรือนไปแล้ว คน ๆ นั้นก็จะต้องเปลี่ยนจากผู้รับ เป็นผู้ให้กันแล้วล่ะ

บางครอบครัวก็จะรู้สึกว่าใครที่เริ่มทำงานหาเงินได้ ก็ควรจะใส่ซองให้กับคนที่ยังไม่สามารถหาเงินได้เอง อันนี้ก็ทำได้เช่นกัน ไม่ติดขัดอะไร ถือซะว่า เป็นการอวยพรกันดีกว่า

มาเข้าเรื่องกันต่อว่า อั่งเปา หรือเจ้าซองสีแดง ๆ เขาแจกกันวันไหนนะ โดยปกติแล้วตามธรรมเนียมชาวจีน ก็มักจะแจกซองแดง หรือถุงแดงให้กับเด็ก ๆ ในช่วงวันไหว้ เป็นเพราะวันไหว้นั้น ทุกคนมักจะมารวมตัวกันไหว้บรรพบุรุษ ดังนั้นทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ก็จะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน จึงเหมาะกับการแจกซองมงคล เรียกว่าเป็นขวัญถุงให้กับพวกเด็ก ๆ ได้เฮกันนั่นเอง

และแน่นอนว่า จะให้กันง่าย ๆ ก็ดูจะไม่ดี งั้นให้พูดอะไรซักหน่อยก่อนมารับซองมหาเฮงกัน เหล่าเด็ก ๆ ทั้งหลาย ก็มักจะพูดกันว่า “ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้” ซึ่งมีความหมายว่า “คิดสิ่งใด ก็ขอให้สมความปรารถนานะครับ/คะ” นั่นเอง

ถ้ายังไงขอให้ทุกบ้าน รวย ๆ เฮง ๆ มีสุขภาพที่แข็งแรง ตลอดปีตลอดไป สุขสันต์วันตรุษจีน 2567 นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ประวัติวันตรุษจีน ตำนานความเชื่อโบราณ และความสำคัญ

เมนูไหว้เจ้า จากหม้อทอดไร้น้ำมัน ทำได้ง่าย ๆ เมนูวันตรุษจีน

ที่มา : 1

บทความโดย

Arunsri Karnmana